Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16697
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ-
dc.contributor.authorปฐมพงษ์ ทะแสง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-02-05T04:03:07Z-
dc.date.available2012-02-05T04:03:07Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16697-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความเต็มใจในการเรียนรู้ของครู จำแนกตามภูมิหลังของครู 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่จำแนกระดับความเต็มใจในการเรียนรู้ของครู 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่จำแนกระดับความเต็มใจในการเรียนรู้ของครู กลุ่มที่ไม่มีความต้องการในการเรียนรู้ และกลุ่มที่มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2552 จำนวน 471 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยจำแนกระดับความเต็มใจในการเรียนรู้ของครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มด้วยโปรแกรม SPSS for Windows ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับความเต็มใจในการเรียนรู้ของครูในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมีความอยากในการเรียนรู้ เมื่อจำแนกตามภูมิหลังประสบการณ์ในการทำงานและตำแหน่งวิทยฐานะของครู มีระดับความเต็มใจในการเรียนรู้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ปัจจัยที่สามารถจำแนกระดับความเต็มใจในการเรียนรู้ของครู มีดังนี้ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง แรงจูงใจ ทัศนคติต่อวิชาชีพ ปัจจัยสภาพแวดล้อม ได้แก่ การได้รับโอกาสสนับสนุนให้ก้าวหน้า และแหล่งเรียนรู้ โดยสามารถจำแนกกลุ่มของระดับความเต็มใจในการเรียนรู้ของครูได้ถูกต้อง 75.20% 3. ปัจจัยจำแนกระดับความเต็มใจในการเรียนรู้ของครูจากการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า กลุ่มครูที่มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ แรงจูงใจ การรับรู้ ความสามารถของตนเอง ทัศนคติต่อวิชาชีพ ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และปัจจัยสภาพแวดล้อม ได้แก่ การได้รับโอกาสสนับสนุนให้ก้าวหน้า ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน แหล่งเรียนรู้ ส่วนกลุ่มครูที่ไม่มีความต้องการในการเรียนรู้ ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ แรงจูงใจ ปัจจัยสภาพแวดล้อม ได้แก่ การได้รับโอกาสสนับสนุนให้ก้าวหน้าen
dc.description.abstractalternativeTo 1) comparatively study the level of teachers’ will to learn by classifying the teachers’ background 2) analyze the discriminant factors that discriminated the level of the teachers’ will to learn 3) study the factors that discriminated the will to learn of the teachers who did not need to learn and who were eager to learn. The sample size consisted of 471 teachers in schools under the Office of The Basic Education Commission who were teaching in 2009 academic year. The research instrument was the discriminant factors of the teachers’ will to learn questionnaire. The research data was analyzed by computer program for descriptive statistics and descriminant analysis The findings were as follows: 1. Overall, the teachers had the will to learn at the wonder how to learn level. When considering the teachers’ working experience and academic status, the teachers’ will to learn showed statistically significant different at .05. 2. The factors that can discriminate the teachers’ will to learn were personal and environmental factors. Personal factors consisted of motivation, self efficacy, occupation attitude and readiness to self study. Environment factors consisted of the opportunity to encourage progress and education resource. These factors were 75.20% of original grouped cases correctly classified. 3. The result of qualitative data analysis showed that the factors that discriminated the will to learn of the teachers who were eager to learn were motivation, self efficacy, attitude and readiness to self study as personal factors and opportunity to encourage progress, the relationship with colleagues and education resource as environment factors while discriminated factors for not need to learn teachers was motivation as personal factor and opportunity to encourage progress as an environment factor.en
dc.format.extent2691191 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.519-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectครูen
dc.subjectการเรียนรู้en
dc.subjectการพัฒนาตนเองen
dc.titleการศึกษาปัจจัยจำแนกระดับความเต็มใจในการเรียนรู้ของครูen
dc.title.alternativeA study of discriminant factors of teachers' will to learnen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorDuangkamol.T@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.519-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pathompong_th.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.