Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16804
Title: การปรับปรุงอาคารสำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
Other Titles: Building retrofitting of United Nations Environment Program : UNEP for reducing greenhouse gas emission
Authors: ฐิติมา โอฬาริกบุตร
Advisors: วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vorasun.b@chula.ac.th
Subjects: อาคารสำนักงาน -- การอนุรักษ์พลังงาน
อาคาร -- การอนุรักษ์พลังงาน
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การปรับปรุงอาคารสำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติเพื่อลดปริมาณการ ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีนโยบายเร่งด่วนของเพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าลง 50% ซึ่ง อาคารเดิมมีการใช้พลังงานไฟฟ้า 618 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อปี พลังงานไฟฟ้า 60% (371 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อปี) ใช้เพื่อการทำความเย็น การวิจัยทำการศึกษาในประเด็นพลังงานและความคุ้มทุน โดยวิเคราะห์ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อ ภาระการทำความเย็นใน 4 กลุ่มตัวแปรหลัก คือ สัดส่วนเปลือกอาคาร วัสดุเปลือกอาคาร ระบบปรับ อากาศและสภาพแวดล้อม โดยปรับปรุงอาคาร 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เปลือกอาคารส่วนทึบแสง โดย ติดตั้งฉนวนโฟมชนิดกันไฟลาม (EIFS) หนา 4” ภายนอกอาคาร ในอัตราส่วนพื้นที่ 13% ของเปลือก อาคาร มีค่า U-value 0.05 Btu/hr.ft[superscript 2]. [superscript o]F ฉนวนไฟเบอร์กลาสหนา 9” บนฝ้าเพดานในอัตราส่วนพื้นที่ 43% ของเปลือกอาคาร มีค่า U-value 0.03 Btu/hr.ft[superscript 2]. [superscript o]F PU โฟมหนา 1½” บนพื้นคอนกรีตใน อัตราส่วนพื้นที่ 41% ของเปลือกอาคาร มีค่า U-value 0.12 Btu/hr.ft[superscript 2]. [superscript o]F ระยะที่ 2 ส่วนกระจกช่องแสง และระบบปรับอากาศ โดยติดตั้งกระจกฮีทสต็อป 3 ชั้นแนวช่องแสงเดิมในอัตราส่วนพื้นที่ 3% ของ เปลือกอาคาร มีค่า U-value 0.19 Btu/hr.ft[superscript 2]. [superscript o]F และระบบปรับอากาศที่มีค่า COP 3.45 และให้ตัวแปร ด้านสภาพแวดล้อมคงที่ ผลการศึกษาวิจัยพบว่าการออกแบบปรับปรุงอาคารระยะที่ 1 สามารถลดพลังงานในการทำ ความเย็นลง 142 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อปี ลดการปลดปล่อยก๊าซ CO[subscript 2] 78 กิโลกรัมต่อตาราง เมตรต่อปี (13%) ในราคาลงทุน 3,871 บาทต่อตารางเมตร มีระยะเวลาคืนทุน 7 ปี การปรับปรุงอาคาร ระยะที่ 2 สามารถลดพลังงานในการทำความเย็นลง 475 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อปี ลดการ ปลดปล่อยก๊าซ CO[subscript 2] 261 กิโลกรัมต่อตารางเมตรต่อปี (87%) ในราคาลงทุน 5,395 บาทต่อตารางเมตร ในระยะเวลาคืนทุน 3 ปี และเนื่องจากการแผ่รังสีเฉลี่ยจากสภาพแวดล้อมและการรั่วซึมลดลง พบว่า ผู้ใช้อาคารมีความรู้สึกสบายมากขึ้น ซึ่งอ้างอิงได้จากขอบเขตภาวะน่าสบายของมนุษย์และมาตรฐาน ระดับ CO[subscript 2] ภายในพื้นที่ปรับอากาศ
Other Abstract: A decision to retrofit the United Nations Environment Program office to reduce greenhouse gas emission by 50% was recently announced. In its existing condition, electricity consumption was measured at 618 kWh/m[superscript 2].yr, of which 60 % (371 kWh/m2.yr) was consumed by cooling energy. The research studied energy and cost efficiency by analyzing four significant variables on cooling load: building form, building materials, installed equipment and the microclimate. The study was divided into two phases: Phase 1 was concerned with renovation of opaque envelopes by installing 4" of fire-spread protection foam insulation (EIFS) on external walls (13% of total envelop), with a total U-value of 0.05 Btu/hr.ft[superscript 2]. [superscript o]F. The refit also involved installing 9” thick fiberglass insulation on ceilings (43% of total envelop) with a total U-value of 0.03 Btu/hr.ft[superscript 2]. [superscript o]F, and 1½" thick PU foam on concrete floors (41% of total envelop) with total U-value of 0.12 Btu/hr.ft[superscript 2]. [superscript o]F. Phase 2 involved installing triple heatstop glass (3% of total envelop) with a total U-value of 0.19 Btu/hr.ft[superscript 2]. [superscript o]F and a COP 3.45 air conditioning system. Microclimate was determined by constant variables. The research found that Phase 1 of the renovation reduced the cooling load energy by 142 whr/m2.yr and CO[subscript 2] emissions by 78 kgCO[subscript 2] /m[subscript 2] .yr (13%), at an investment cost of 3,871 baht/m2 and giving a 7-year period of return. Phase 2 reduced cooling load energy by 475 whr/m[subscript 2] .yr and CO[subscript 2] emissions by 261 kgCO[subscript 2] /yr (87%), requiring an investment of 5,395 baht/m2 with a 3-year period of return. Due to the reduction of Mean Radiant Temperature (MRT) and infiltration, occupants are perceptibly more comfortable in air-conditioned areas referring to bioclimatic standard and CO[subscript 2] standard level
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ. ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16804
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.882
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.882
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thitima_Ol.pdf3.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.