Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16827
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จิราพร เกศพิชญวัฒนา | - |
dc.contributor.author | วรลักษณ์ ฉิมวัย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-02-12 | - |
dc.date.available | 2012-02-12 | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16827 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research ) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ โปรแกรมการสร้างจินตภาพต่อความปวดและจำนวนครั้งของการใช้ยาระงับปวด ในผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ที่ได้รับการผ่าตัดผ่านทางหน้าท้อง โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการสร้างจินตภาพของโฮโรวิทย์ (Horowitz, 1978) มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดผ่านทางหน้าท้อง จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในจำนวนที่เท่ากัน กลุ่มละ 20 คน จับคู่ให้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันในเรื่องอายุ เพศ โรค การผ่าตัด และชนิดของยาแก้ปวดที่ได้รับ โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับโปรแกรมการสร้างจินตภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) โปรแกรมการสร้างจินตภาพ ประกอบด้วย แผนการสอน ภาพพลิก คู่มือการฝึกการสร้างจินตภาพพร้อมซีดีการสร้างจินตภาพ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความปวดชนิดตัวเลข (Numeric rating scale: NRS) ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 และมีค่าความเที่ยงแบบวัดซ้ำเท่ากับ .86 นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (Independent t-test) และ สถิติ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยความปวดของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการสร้างจินตภาพ น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ค่าเฉลี่ยกลุ่มทดลอง = 2.51, ค่าเฉลี่ยกลุ่มควบคุม = 3.63, t = 8.55) 2. จำนวนครั้งของการใช้ยาระงับปวดกลุ่มโอปิออยด์ (Opioids) ของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการสร้างจินตภาพแตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | en |
dc.description.abstractalternative | This objective of this quasi-experimental research was to examine the effects of a guided imagery program on pain and frequency of pain medication taking in the elderly post operative abdominal surgery patients with colorectal cancer. The guided imagery based on Horowitz’s theory (1978) was utilized to develop the intervention. Subjects consisted of 40 colorectal cancer elderly patients with post operative trans abdominal surgery, which were equally assigned into control and experimental groups. The groups were matched in terms of age, sex, disease, type of surgery and type of pain medication. The control group received conventional nursing care while the experimental group received the guided imagery program. The instrumentation of this study comprised with two parts :1) The intervention included lesson plans, flip chart, a CD on guided imagery and a handbooks and 2) Data collecting instrument is a Numeric Rating Scale (NRS) measure postoperative pain. The instruments were tested for content validity by 5 experts, and CVI was 1.0 while the reliability test-retest was .86. Data were analyzed using descriptive statistics, t-test and Mann-Whitney U test The major findings were as follows: 1. Mean of the pain score of group receiving guided imagery program (mean = 2.51) was significantly lower than the control group (mean = 3.63) at the level .05. 2. The frequency of postoperative pain medication of the group receiving the guided imagery program was significantly different from the control group at the level of .05. | en |
dc.format.extent | 2984718 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/0.14457/CU.the.2009.1499 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | en |
dc.subject | โคลอน (ลำไส้ใหญ่) -- มะเร็ง | en |
dc.subject | เรคตัม -- มะเร็ง | en |
dc.subject | ความเจ็บปวดในผู้สูงอายุ | en |
dc.subject | ความเจ็บปวดหลังศัลยกรรม | en |
dc.subject | จินตภาพ | en |
dc.title | ผลของโปรแกรมการสร้างจินตภาพต่อความปวดและจำนวนครั้งของการใช้ยาระงับปวด ในผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ที่ได้รับการผ่าตัดผ่านทางหน้าท้อง | en |
dc.title.alternative | Effects guided imagery program on pain and frequenct of pain medication taking in the elderly patients with colorectal cancer post operative abdominal surgery | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | wwattanaj@ yahoo.com | - |
dc.identifier.DOI | 0.14457/CU.the.2009.1499 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Woraluk_Ch.pdf | 2.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.