Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16832
Title: การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: The development of competency scale for head nurses, King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: ศุภลักษณ์ รัตนสาร
Advisors: วาสินี วิเศษฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Wasinee.W@Chula.ac.th
Subjects: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
พยาบาล
สมรรถนะ
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนาแบบประเมินและทดสอบคุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยการศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 การสร้างแบบประเมิน มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์องค์ประกอบและรายการสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยทบทวนวรรณกรรมและสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นคณะกรรมการวิเคราะห์ตำแหน่งงาน และสมรรถนะบุคลากรทางการพยาบาลของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 7 ท่าน ขั้นตอนที่ 2 สร้างข้อรายการสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยการกำหนดรายการสมรรถนะ และวิเคราะห์หาคุณภาพของรายการข้อสมรรถนะ ด้วยการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ทดสอบความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ .97 ขั้นตอนที่ 3 รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งประกอบด้วย หัวหน้าหอผู้ป่วยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 74 คน ผู้ตรวจการพยาบาลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 20 คน และพยาบาลประจำการที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 5 ปีขึ้นไป จำนวน 256 คน รวมจำนวน 350 คน เพื่อทดสอบความตรงตามโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์ตัวประกอบด้วยวิธีสกัดตัวประกอบหลัก (Factor analysis) หมุนแกนแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ นำผลที่ได้ไปสร้างแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 39 ข้อ ระยะที่ 2 การทดสอบคุณภาพของแบบประเมิน โดยนำแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 250 คน ประกอบด้วย หัวหน้าหอผู้ป่วยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 56 คน ผู้ตรวจการพยาบาลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 18 คน และพยาบาลประจำการที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 5 ปีขึ้นไป จำนวน 176 คน ทดสอบหาค่าความเที่ยง ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความสอดคล้องของแบบประเมินระหว่างหัวหน้าหอผู้ป่วยประเมินตนเอง ประเมินโดยผู้บังคับบัญชา และประเมินโดยผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยสถิติ Intra-class correlation coefficient ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ประกอบด้วย 4 ตัวประกอบหลัก มีจำนวนข้อรายการสมรรถนะ 39 ข้อ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ 69.91% ประกอบด้วยตัวประกอบสมรรถนะดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการ ประกอบด้วยรายการสมรรถนะจำนวน 20 ข้อ 2) ด้านภาวะผู้นำ ประกอบด้วยรายการสมรรถนะจำนวน 8 ข้อ 3) ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ประกอบด้วยรายการสมรรถนะจำนวน 6 ข้อ และ 4) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยรายการสมรรถนะจำนวน 5 ข้อ 2. คุณภาพของแบบประเมินที่สร้างมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) = .85 ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง (α) = .98 ค่าเฉลี่ย = 3.78 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) = .59 และการประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วยระหว่างหัวหน้าหอผู้ป่วยประเมินตนเอง ประเมินโดยผู้บังคับบัญชา และประเมินโดยผู้ใต้บังคับบัญชา พบว่ามีความสอดคล้องกัน (r = .97)
Other Abstract: To develop and do a quality test on a performance appraisal form of head nurses at King Chulalongkorn Memorial Hospital. The study was divided into two phases. The 1st phase : The development of an appraisal form, which can be further divided into the following three steps: (1) to comprise a component and capacity list for head nurses by means of a literature review and expert group discussion, (2) to develop and test the validity of the measurement by five experts, and (3) to gather a sample consisting of 350 individuals from the groups of 74 head nurses and 20 nurse inspectors who have been in their positions for at least one year, as well as 256 experienced nurses who have been working at least five years for the structural precision test. The 2nd phase - The quality test for an appraisal form, which was randomly selected from 56 head nurses and 18 nurse inspectors, who have been in their position for at least one year as well as 176 experienced nurses, who have been woring for at least 5 years. After that, the researchers carried out a precision test as well as calculating the mean and standard deviation and the consistency of the appraisal form, supervisors, and subordinates by applying the intra-class correlation coefficient. The results are follows; 1. The variation of a performance appraisal form can be explained by 69.91% from the change in four elements consecutively; (1) the management perspective (20 points) (2) leadership (8 points) (3) individual attributes (6 points) and (4) information technology (5 points). 2. The CVI = .85. α = .98 , mean = 3.78 and SD = .59. The model can represent a 0.97 correlation between the appraisal by oneself, supervisors and subordinates.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16832
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1277
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1277
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suphalux_ra.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.