Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/168
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประจักษณ์ ศกุนตะลักษณ์ | - |
dc.contributor.author | สุชาดา แจสุรภาพ, 2525- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-05-30T03:48:15Z | - |
dc.date.available | 2006-05-30T03:48:15Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9741769539 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/168 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | การแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศ มีส่วนผลักดันให้ธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้รวมตัวกันเป็นเครือข่ายพันธมิตรทางการบิน ซึ่งการรวมกลุ่มนอกจากจะช่วยลดความรุนแรงในการแข่งขันแล้ว ยังนำมาซึ่งผลประโยชน์อื่นร่วมกัน แต่ความเสี่ยงที่สายการบินต้องเผชิญยังคงมีอยู่ ดังนั้นในงานศึกษานี้จึงเปรียบเทียบผลของการรวมกลุ่มพันธมิตรทางการบิน ต่อผลิตภาพการผลิตโดยรวมของสายการบิน ซึ่งเป็นดัชนีที่สามารถสะท้อนถึงการเจริญเติบโตในระยะยาวได้เป็นอย่างดี วิธีการศึกษาคือ เปรียบเทียบผลิตภาพของสายการบินในกลุ่มจำนวน 2 สายร่วมกับสายการบินนอกกลุ่มจำนวน 3 สาย ด้วยรูปแบบ Translog Transformation Function เพื่อเปรียบเทียบการผลิตผลผลิต การใช้ปัจจัยการผลิต และผลิตภาพการผลิตโดยรวมของปัจจัยการผลิต โดยพิจารณาผลผลิต 5 ชนิด ได้แก่ การขนส่งผู้โดยสาร การขนส่งสินค้า และการขนส่งพัสดุ ไปรษณีย์ตามตารางบิน การขนส่งนอกตารางบิน และผลผลิตอื่นๆ และพิจารณาปัจจัยการผลิต 5 ชนิด ได้แก่ แรงงาน น้ำมันเชื้อเพลิง อุปกรณ์การบิน อาคารและที่ดิน และกลุ่มปัจจัยอื่นๆ ผลการศึกษาพบว่า สายการบินในกลุ่มพันธมิตรมีด้านการผลิตผลผลิต โดยเปรียบเทียบที่ดีกว่าสายการบินนอกกลุ่มพันธมิตรทั้งหมด แต่ในขณะเดียวกันก็มีด้านการใช้ปัจจัยการผลิตโดยเปรียบเทียบที่ต่ำกว่าด้วย ทั้งนี้เนื่องจากสายการบินในกลุ่มมีข้อได้เปรียบจากนโยบายเพื่อการเพิ่มผลผลิตร่วมกัน อาทิ ระบบสะสมไมล์ร่วม การทำรหัสเที่ยวบินร่วม เป็นต้น ในขณะที่นโยบายด้านการใช้ปัจจัยการผลิต ยังคงมีขอบเขตจำกัด และทำให้นโยบายดังกล่าวไม่ได้ผลเท่าที่ควร อีกทั้งสายการบินยังต้องมีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกลุ่มด้วย แต่อย่างไรก็ตาม แม้ในการเปรียบเทียบผลิตภาพการผลิตของปัจจัยการผลิตโดยรวมแล้ว จะพบว่า สายการบินในกลุ่มพันธมิตรไม่สามารถมีผลิตภาพการผลิตที่สูงกว่า สายการบินนอกกลุ่มได้ทั้งหมด แต่การเข้าร่วมกกลุ่มก็ยังคงมีส่วนช่วยในการเพิ่มปริมาณผลผลิต ซึ่งเป็นการพัฒนาด้านการผลิตผลผลิต ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาผลิตภาพการผลิตของสายการบิน | en |
dc.description.abstractalternative | Formation of airlines' strategic alliances is driven by the severe competition in air transport industry. Although strategies are perceived as the weapons for anti-competitive tools among members and, also coming up with several advantages, some risks are still existed. Accordingly, this study focuses on the effect of global air alliance membership on productivity comparison which could explain about the long run growth. Translog transformation function is used to compare outputs, inputs, and productivity between two alliance airlines and three non-alliance airlines. Outputs are classified into five categories which are scheduled passenger kilometers, scheduled freight ton kilometers, scheduled mail ton kilometers, non-scheduled ton kilometers and other operating outputs. Inputs are classified into five categories which are labour, fuel, flight equipment, ground property and other materials. The empirical finding indicates that all alliance airlines have better output comparison, but poorer input comparison. This results from cooperative policies for output expansion such as frequent flyer programs, codesharing and etc, while strategies for resource sharing and cost reduction benefit limitedly because of several constraints. Also, alliance activities cause unavoidable burdens for members. As a whole, although alliance airlines do not have higher productivity comparison than all non-alliance airlines, alliance still offers some benefits that improve output comparison which is an essential part of productivity improvement. | en |
dc.format.extent | 1017000 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.527 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สายการบิน--แง่เศรษฐกิจ | en |
dc.subject | การบินพาณิชย์--แง่เศรษฐกิจ | en |
dc.subject | กลยุทธ์พันธมิตรธุรกิจ | en |
dc.title | ผลิตภาพโดยเปรียบเทียบระหว่างสายการบินในกลุ่มและนอกกลุ่มพันธมิตร | en |
dc.title.alternative | Productivity comparison between members and non-members of global air alliances | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Prachark.S@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2004.527 | - |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suchada.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.