Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17053
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุจิต บุญบงการ-
dc.contributor.authorถาวร พรหมมีชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialกาฬสินธุ์-
dc.date.accessioned2012-02-26T06:56:14Z-
dc.date.available2012-02-26T06:56:14Z-
dc.date.issued2522-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17053-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522en
dc.description.abstractองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปหนึ่งของไทยซึ่งมีขอบเขตและความรับผิดชอบกว้างขวาง องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ไม่สามารถให้บริการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทั้งนี้เนื่องจากมีปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ คือ 1. ปัญหาเรื่องหน้าที่และรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ไม่สัมพันธ์กัน 2. ปัญหาเรื่องการกำหนดนโยบายและการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ 3. ปัญหาเรื่องพฤติกรรมของฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ สำหรับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะศึกษาวิจัยปัญหาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ดังกล่าว โดยจะศึกษาวิจัยทั้งทางด้านการวิจัย ค้นคว้าจากเอกสาร (Documentary research) และการวิจัยสนาม (Field research) หรือ Survey Research ซึ่งจะเป็นการศึกษาวิจัยจากแบบสอบถาม (Questionnaire) รวมทั้งการสังเกตการณ์การปฏิบัติงานและการสัมภาษณ์ (Interview) ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จากการศึกษาวิจัยพบว่า 1. หน้าที่และรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ไม่สัมพันธ์กัน เพราะรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ไม่พอกับภาระหน้าที่ที่กฎหมายได้กำหนดให้ปฏิบัติจัดทำ 2. การกำหนดนโยบายและการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ถูกครอบงำโดยฝ่ายบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการส่วนภูมิภาคและระบบบริหารราชการส่วนกลาง 3. พฤติกรรมของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ไม่เอื้ออำนวยให้การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้น จากปัญหาอุปสรรคดังกล่าวขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จึงน่าที่จะแก้ไขปัญหาอุปสรรคดังกล่าวในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. ปรับปรุงในด้านโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยการให้มีสภาหรือคณะกรรมการที่ปรึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด 2. ในด้านการจัดองค์กรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ น่าจะมีการปรับปรุงโดยการให้หัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดมาจากการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีและได้รับความเห็นชอบจากสภาจังหวัด ซึ่งหัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดจะปฏิบัติหน้าที่ด้านเดียวและอยู่ในตำแหน่งเป็นวาระ สำหรับสมาชิกสภาจังหวัดก็น่าจะให้มีการหมุนเวียนกันออกจากตำแหน่งครั้งละครึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาจังหวัดทั้งหมด เพื่อให้ประชาชนสามารถควบคุมได้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น (Popular control) 3. ปรับปรุงในด้านอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยการให้หน้าที่ที่ต้องใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนมากเป็นหน้าที่ของรัฐบาลไปพลางก่อนจนกว่าองค์การ บริหารส่วนจังหวัดจะสามารถเลี้ยงตัวเองได้ 4. ในด้านรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ น่าจะให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสมไม่ใช่เก็บในอัตราที่ตายตัวดังเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ส่วนประเภทภาษีอากรที่จัดเก็บนั้นก็น่าจะให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจในการจัดเก็บภาษีอากรในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันไป นอกจากนี้ ในเรื่องการกู้เงินก็น่าจะให้เป็นอำนาจของสภาจังหวัดโดยตรง 5. ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะในด้านการควบคุมนั้น น่าจะให้เป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีในการสั่งยุบสภาจังหวัด และมีอำนาจชี้ขาดในกรณีที่ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องมติของสภาจังหวัด-
dc.description.abstractalternativeAs an aspect of local governmental unit in Thailand, Changwat Kalasin administrative organization (CKAO), owing to broadly responsible boundary, is unable to meet the allowable effectiveness criteria which contribute to the need of people as a whole. Analytically, the barriers and handicaps that pave the way to these deficiencies are as follows: (1) The incongruities between CKAO function and revenue collection system (2) The problems of public policies setting and these relatedterm implementation. (3) The problems of CKAO executive and legislative behavior. According to the main idea, this thesis multidimensionally expleres, documentary and field or survey research as the tools of methodology proves, those dependence and independence variables through personal observation procedure, questionnaire pattern and interviews those who involve in the incongruity matter, and the outcomes of this study are the fact that (1) The incongruities stem partially from the reason that the role and the function of CKAO are more extended and enlarged by the laws than its revenue collection capacity. (2) The policy setting and implementation in CKAO have been dominated by executive officials, mainly promoted from local bureaucrats and central administrative system. (3) The negative effects of CKAO executive and legislative officials behavior created the ineffectiveness of the organization as a whole. In order to remedy the deficiencies and to overcome those barriers and handicaps in the organization, this thesis analytically reaches the conclusions that (1) The structural improvement and, if it is necessary, reorganization have to be realized in the light of another prospect with the emphasis on consultant committee or council existence (2) According to personnel administration in the organization, head of executive officials, given tenure of office and ad hoc function, should have been respectively approved by the Changwat council, of which for popular control the half of its member has to be out of membership in a given period, and appointed by the cabinets. (3) CKAO allotment approval function should have been carried out by Central government if the organization could not have survived by itself in various circumstances. (4) Revenue collection system, both fixed tax anf fee, have to be increasingly rearranged and flexibly promulgated according to the location. Furthermore, types of taxes or tax classification and the loans should have been organized and authorized by Changwat council directly. (5) As a matter of central and local relationships, especially the control system, the Changwat council dissolution and final decision about executive and legislative conflicts concerning various resolution should have been carried out by the cabinet, an administrative mechanism of the central government of Thailand.-
dc.format.extent480483 bytes-
dc.format.extent661774 bytes-
dc.format.extent1280714 bytes-
dc.format.extent847167 bytes-
dc.format.extent1065518 bytes-
dc.format.extent1047234 bytes-
dc.format.extent646963 bytes-
dc.format.extent1036722 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการบริหารรัฐกิจ -- ส่วนภูมิภาคen
dc.subjectกาฬสินธุ์ -- การเมืองและการปกครองen
dc.titleปัญหาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์en
dc.title.alternativeProblems of changwat Kalasin administrative organizationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการปกครองes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thavorn_Pr_front.pdf469.22 kBAdobe PDFView/Open
Thavorn_Pr_ch1.pdf646.26 kBAdobe PDFView/Open
Thavorn_Pr_ch2.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Thavorn_Pr_ch3.pdf827.31 kBAdobe PDFView/Open
Thavorn_Pr_ch4.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Thavorn_Pr_ch5.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Thavorn_Pr_ch6.pdf631.8 kBAdobe PDFView/Open
Thavorn_Pr_back.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.