Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17062
Title: | L'absurde dans les quatre pieces de theatre De Ionesco : La Cantatrice Chauve, La Lecon, Rhinoceros, Le Roi Se Meurt |
Other Titles: | "อับซูร์ด" ในบทละคร 4 เรื่องของอีโอเนสโก : ลากองตาตริซโชฟ, ลาเลอซ็อง, รีโนเซโรส, เลอรัวเซอเมอร์ |
Authors: | Tritaporn Attanatho |
Advisors: | Conrad, Yves |
Other author: | Chulalongkorn University. Graduate School |
Advisor's Email: | No information provided |
Subjects: | French drama |
Issue Date: | 1980 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | อิโอเนสโก เป็นนักแต่งบทละครร่วมสมัยที่จัดอยู่ในประเภทนักแต่งบทละครแบบอับซูร์ดคือพวกที่เล็งเห็นลักษณะอันสุดวิสัยของสภาวะมนุษย์ อิโอเนสโกพยายามถ่ายทอดโลกที่มีลักษณะ “อับซูร์ด” ในสายตาของเขา และความหวาดวิตกในการมีอยู่ของมนุษย์แก่ผู้ชม โดยที่เขาคิดว่า “สภาวะของมนุษย์เป็นสิ่งที่กำหนดสภาวะของสังคม” ขณะที่อีโอเนสโกดึงตัวเองออกมาอยู่ต่างหากจากโลก และมองย้อนกลับไปดู เขาเกิดความรู้สึกว่า ได้เห็นสิ่งที่ผิดปกติเกิดขึ้น ผู้คนมีสภาพเหมือนไม่ใช่มนุษย์ ภาษาก็ดูเหมือนจะหมดความสามารถในการสื่อความหมาย ขณะเดียวกัน ความหวาดวิตกในส่วนลึกของเขาโดยเฉพาะในเรื่องความตาย ซึ่งเป็นสภาวะของการมีอยู่ของมนุษย์ ได้หลอกหลอนเขาอยู่ตลอดเวลา อีโอเนสโกจึงถือว่า ความหวาดวิตกนี้เองเป็นสาเหตุของความสับสนวุ่นวายของสภาพจิตใจ และการลดค่าของการเป็นมนุษย์ของทั้งตัวเขาเองและผู้อื่น อีโอเนสโกได้ถ่ายทอดสิ่งที่เขาค้นพบนี้ผ่านทางละคร โดยหยิบยกสถานการณ์ธรรมดาอันหนึ่งในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีสิ่งผิดปกติซ่อนอยู่ เขาพยายามเน้นความธรรมดานั้นออกไปจนถึงขีดสุดโดยวิธีการทางละครที่เขาปฏิรูปแบบฟอร์มใหม่ ซึ่งจะทำให้เขาสามารถขยายและชี้ให้เห็นความผิดปกตินั้นได้เด่นชัดขึ้น บทละครเรื่องแรกของอีโอเนสโก คือ ลากองตาตริซโชฟ ซึ่งนำออกแสดงครั้งแรกในปี 1950 โดยไม่ได้รับความสำเร็จ เช่นเดียวกับบทละครเรื่องที่สอง คือ ลาเลอซ็อง ที่ออกแสดงในปีต่อมา อีโอเนสโกได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์มาก เนื่องจากรูปแบบของการละครใหม่ของเขาที่ผู้ชมไม่เคยชิน อย่างไรก็ดี อีโอเนสโกก็คงผลิตผลงานทางการละครต่อไป จน 10 ปี หลังจากนั้น ละครของเขาก็เริ่มได้รับความสำเร็จและแพร่หลาย โดยเรื่อง รีโนเซโรส ซึ่งมีทั้งการนำออกแสดงและนำต้นฉบับไปแปลเป็นภาษาต่างประเทศ ขณะเดียวกัน บทละคร 2 เรื่องแรกก็ถูกนำกลับมาแสดงอีก และได้รับความสำเร็จเช่นเดียวกับบทละครเรื่องต่อ ๆ มา โดยเฉพาะเรื่อง เลอรัวเซอเมอร์ อย่างไรก็ดี การที่บทละครทั้ง 4 เรื่องนี้ได้รับเลือกมาเป็นหัวข้อศึกษาในวิทยานิพนธ์นี้ มิใช่แต่เพราะได้รับความนิยมแพร่หลายเท่านั้น หากแต่เป็นเพราะบทละครเหล่านี้แสดงให้เห็นการมองโลกของอีโอเนสโกในลักษณะ “อับซูร์ด” ได้ครบถ้วนที่สุดด้วย ยิ่งกว่านั้นสถานการณ์ทั้ง 4 ที่หยิบยกมาจากชีวิตประจำวันและแสดงให้เห็นบทเวทีนั้นก็ตรงกับความเป็นจริง ที่เราทุกคนประสบกันอยู่ทุกวัน ฉะนั้น อาจเป็นเพราะเหตุนี้เอที่เราเข้าถึงความหมายของเรื่องได้ง่าย และบทละครดังกล่าวก็ได้รับความนิยมจากนานาชาติด้วย อนึ่งการศึกษาในมหาวิทาลัยฉบับนี้ มุ่งเพียงให้เป็นการแนะนำละครของอีโอเนสโก โดยสังเขปเท่านั้น คือ มุ่งศึกษาการชี้ให้เห็น “อับซูร์ค” ของผู้แต่ง ซึ่งเป็นจุดใหญ่ในละครของเขา การศึกษาในแนวปลีกย่อยอื่น ๆ เป็นแต่เพียงส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจเรื่องเท่านั้น เช่น การวิเคราะห์ทัศนคติของผู้แต่ง การวิเคราะห์ตัวละคร การศึกษาภาพที่สื่อความหมายหรือสัญลักษณ์ในเรื่อง การศึกษาการใช้ภาษาเพื่อสร้างความขบขัน และการศึกษาวิธีการทางด้านการละคร เป็นต้น |
Other Abstract: | Ionesco est un dramaturge du theatre contemporain, classe dans la categorie du “Theatre de 1’Absurde”. Comme les autres dramaturges de la meme categorie, il met en question le caractere ineluctable de la condition humaine at essaie de transmettre au public sa vision absurd du monde et son angoisse existentielle. “C’est la condition humaine qui gouverne la condition sociale”, constate-il. Prenant ses distances vis-à-vis du monde, Ionesco jette un regard nouveau sur lui et en eprouve une impression d’insolite: les gens lui paraissent inhumains, le langage vide de sens. Hante par ses angoisses profondes et surtout par la mort, condition de l’existence humaine, il les prend pour les causes du desarroi moral et de la deshumanisation a la fois de lui-meme et des autres. Pour communiqué sa decouverte a travers le theatre, il prend une situation banale du quotidian dans laquelle se cache quelque chose d’insolite. Puis, en poussant a l’extreme cette banalite, par des techniques theatrales, renouvelees, il reussit a “grosser” et par la a denouncer cet insolite, ou pour employer un autre mot, cet absurd. La Cantatrice chauye, sa premiere piece, a ete mise en scene pour la premiere fois en 1950. Sans success. Ionesco s’est vu alors beaucoup critique a cause de cette nouvelle forme de theatre qui boule-verse les habitudes du public. La Lecon, sa deuxieme piece a ete egale-ment mal accueillie. Indifferent a son manqué de success, Ionesco produit sans interruption d’autres pieces. Enfin, après dix ans d’obscurite, il parvient a la gloire avec Rbinoceros. La piece est jouee et traduite partout dans le monde. Ionesco s’inquiete meme du success de cette piecc qui est differement interpretee mais reussit quand-meme a plaire aux spectateurs. En meme temps, les deux premieres pieces sont reprises et ells tiennent toujours leur nom a l’affiche. Une autre piece qui est aussi souvent jouee est Le Roi se meurt. Cependant, lo choix de ces quatre pieces comme sujet d’etude dans ce Memoire n’a pas pour critere seulement leur success mais aussi leur perfection a traduire la vision absurd du monde de Ionesco. En outré, les quatre situations differentes qui sont prises dans le quotidient et mises en scene correspondent bien a celles qui sont vecues par tout le monde. C’est peut-etre grace a cela qu’elles sont facilement comprehensible et rencontrent one popularite international. Ce Memoire ne pretend etre qu’une modeste introduction au theatre de Ionesco et a cette denunciation de l’absurde qui nous parait chez lui central. Nous ne ferons qu’aborder au passage d’autres aspects tout aussi interessants tells que l’analyse psychologique de Ionesco a travers ses personnages, les types different des personages, des images symboliques dans des pieces, le jeu du comique du langage, et des techniques theatrales. |
Description: | Thesis (M.A.) -- Chulalongkorn University,1980 |
Degree Name: | Master of Arts |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Langues Occidentales |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17062 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tritaporn_At_front.pdf | 470.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tritaporn_At_ch1.pdf | 614.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tritaporn_At_ch2.pdf | 635.27 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tritaporn_At_ch3.pdf | 1.7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tritaporn_At_ch4.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tritaporn_At_back.pdf | 352.4 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.