Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17068
Title: การใช้วารสารวิชาการของนักศึกษาวิทยาลัยครูกำแพงเพชร
Other Titles: The use of journals by students of Khampheangphet teachers' college
Authors: เตือนใจ เกียวซี
Advisors: สาวิตรี แพ่งสภา
ปิ่นวดี ธนธานี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การอ่านขั้นอุดมศึกษา
วารสาร
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความสนใจและความแตกต่างในการเลือกอ่านและใช้วารสารวิชาการประกอบการศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยครูกำแพงเพชร รวมทั้งการสำรวจปัญหาและความคิดเห็นในการใช้วารสารของนักศึกษา เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงบริการเกี่ยวกับวารสารของห้องสมุด และเพื่อหาแนวทางสนับสนุนให้นักศึกษาได้ใช้ประโยชน์จากวารสารวิชาการอย่างคุ้มค่า การวิจัยใช้วิธีส่งแบบสอบถามให้นักศึกษาวิทยาลัยครูกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2524 จำนวน 500 คน หรือประมาณร้อยละ 20 ของนักศึกษาทั้งหมด ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามนำมาวิเคราะห์เสนอในรูปของร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทิศทางเดียว และการทดสอบแบบ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เข้าใช้ห้องสมุดเพียงบางวัน มีนักศึกษาประมาณร้อยละ 19.35 ที่สนใจอ่านสิ่งพิมพ์ประเภทนิตยสาร วารสาร สาเหตุที่ทำให้นักศึกษาอ่านวารสารวิชาการมากที่สุด คือ นักศึกษาต้องการอ้างอิงในการทำรายงาน นักศึกษาระดับ ป.กศ.สูง มีค่าเฉลี่ยความสนใจอ่านวารสารวิชาการมากกว่าระดับ ป.กศ.ต้น และระดับปริญญาตรี นักศึกษาปกติสนใจอ่านมากกว่า นักศึกษาในโครงการอบรมครูและบุคลากรการศึกษาประจำการ (นักศึกษา อ.ค.ป.) และนักศึกษากลุ่มวิชาเอกดนตรี นาฎศิลป์ ศิลปศึกษา และคหกรรมศาสตร์ สนใจอ่านมากกว่ากลุ่มวิชาเอกอื่น ๆ ในด้านการใช้วารสารวิชาการประกอบการศึกษานั้น นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้วารสารอยู่ในระดับน้อย และไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มใด ๆ ในด้านการใช้วารสารประกอบการศึกษาเลย วารสารที่นักศึกษาสนใจอ่าน และใช้ประกอบการศึกษามากกว่าวารสารอื่น ๆ คือ วารสารประวัติศาสตร์ วารสารภูมิศาสตร์ และวารสารวิทยาศาสตร์ ในด้านปัญหาและความคิดเห็นเรื่องการใช้วารสารวิชาการนั้น นักศึกษาเห็นว่าสิ่งที่เป็นปัญหามากกว่าอย่างอื่น คือ นักศึกษาไม่มีเวลาอ่านวารสาร วารสารมีจำนวนน้อย นักศึกษามักจะหาวารสารฉบับที่ต้องการไม่พบ และยืมวารสารออกจากห้องสมุดไม่ได้ นักศึกษาส่วนใหญ่ต้องการให้ห้องสมุดบอกรับวารสารวิชาการเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะวารสารที่ตรงกับสาขาวิชาเอก นักศึกษาประมาณร้อยละ 51.60 ต้องการให้ยืมวารสารออกจากห้องสมุดได้และร้อยละ 68 ต้องการให้มีเจ้าหน้าที่บริการด้านวารสารโดยเฉพาะ ข้อเสนอแนะ 1. ผู้บริหารควรพิจารณาเพิ่มงบประมาณ และบุคลากรให้ห้องสมุด เพื่อประโยชน์ในการจัดบริการต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้อย่างทั่วถึง 2. บรรณารักษ์ควรพิจารณาเลือกรับวารสารวิชาการเพิ่มเติมให้ครบทุกสาขาวิชาและให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ 3. อาจารย์ผู้สอนควรร่วมมือกับบรรณารักษ์ในการสรรหาวารสารวิชาการ และปลูกฝังนิสัยการอ่าน หาความรู้จากสิ่งพิมพ์ที่ทันสมัยเช่นวารสารให้แก่นักศึกษา 4. นักศึกษาควรสนใจวารสารวิชาการให้มากขึ้น หาวิธีที่ดีที่สุดที่จะศึกษาหาความรู้จากวารสารที่มีอยู่จำนวนจำกัด รวมทั้งต้องรู้จักเสนอความคิดเห็น ข้อแนะนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อบรรณารักษ์ด้วย
Other Abstract: The purposes of this thesis were to study the Khampheangphet Teachers’ College students’ interests and differences in reading and using journals for their studies, to study their problems and their opinions concerning the library services in order to improve efficient services, to find some worthwhile ways for the students in the use of journals. The data gathered by means of questionnaires which were completed by 500 students or about 20 percent of the students, in the academic year 1981. The data was analysed and presented in forms of Percentage, Mean, Standard Deviation, Analysis of Variance and T-test. Summary results: The students spent part of their time in the library. About 19.35 percent of the students read magazines and journals. Their most important reason for reading journals was the needs for report references. The students of Higher Certificate of Education were interested in reading journals more than the students of Certificate of Education and the students of Bachelor of Education. The ordinary students were interested in reading journals more than the in-service teachers. The Musical Major, Art Major, Dramatic Art Major and Home Economics Major groups of students were interested in reading journals more than the other major groups. There were not any differences among the groups of students in using journals. The most interesting journal titles were history journal, Geography Journal and Science Journal. The students did not have enough time to read journals. There were few journals in the library, so they sometimes could not find the ones they wanted. Furthermore, the librarians did not let the students borrow any journals. The majority of the students wanted more journals in their major fields. About 51.60 percent of the students wanted the library staffs who could service and advise them about journals. Recommendations: 1. The administrators should adjust sufficient budget and personnels for effective services. 2. The librarians should try to increase the holdings. 3. The teachers should co-operate with the librarians in journal selection in a variety of subjects. They also should recommend the students in the use of journals. 4. The students should be interested in using more journals. They should suggest useful opinions to the librarians.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17068
ISBN: 9745609978
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tuanjai_Ke_front.pdf502.54 kBAdobe PDFView/Open
Tuanjai_Ke_ch1.pdf738.8 kBAdobe PDFView/Open
Tuanjai_Ke_ch2.pdf618.07 kBAdobe PDFView/Open
Tuanjai_Ke_ch3.pdf606.75 kBAdobe PDFView/Open
Tuanjai_Ke_ch4.pdf362.54 kBAdobe PDFView/Open
Tuanjai_Ke_ch5.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Tuanjai_Ke_ch6.pdf621.22 kBAdobe PDFView/Open
Tuanjai_Ke_back.pdf564.75 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.