Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17243
Title: ผลของโปรแกรมการรับรู้ความจริงแบบบูรณาการต่อภาวะสูญเสียความทรงจำของผู้ป่วยหลังการบาดเจ็บที่ศรีษะ
Other Titles: The effect of integraded reality orientation program on amnesia in adults with head injury
Authors: เจตนา วงษาสูง
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: hchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th
Subjects: ศีรษะ--บาดแผลและบาดเจ็บ
การเสียความจำ
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการรับรู้ความจริงแบบบูรณาการต่อภาวะสูญเสียความทรงจำของผู้ป่วยหลังการบาดเจ็บที่ศีรษะ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่มีภาวะสูญเสียความทรงจำหลังการบาดเจ็บที่ศีรษะที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จำนวน 40 คน จับคู่ให้มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องอายุ การได้รับการผ่าตัดและไม่ได้รับการผ่าตัด ตำแหน่งที่ได้รับบาดเจ็บ ระดับการรู้คิด คะแนน GOAT และชนิดของการสูญเสียความทรงจำ สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับโปรแกรมการรับรู้ความจริงแบบบูรณาการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการรับรู้ความจริงแบบบูรณาการที่พัฒนาจากแนวคิด Reality Orientation ของ Thomas และคณะ(2003) ประกอบด้วย การฟื้นฟูความจำด้านวัน เวลา สถานที่ บุคคล การใช้เหตุผล และความจำด้านการใช้ภาษา ทำการฟื้นฟูซ้ำ ๆ เป็นเวลา 14 วัน การประเมินการฟื้นฟูความจำด้วยแบบทดสอบ The Galveston Orientation and Amnesia Test (GOAT) ซึ่งได้ผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิได้ดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.0 และหาความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ภาวะสูญเสียความทรงจำของผู้ป่วยภายหลังได้รับโปรแกรมการรับรู้ความจริงแบบบูรณาการของกลุ่มทดลองน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=-11.89, p<.05) 2. ภาวะสูญเสียความทรงจำของผู้ป่วยภายหลังได้รับโปรแกรมการรับรู้ความจริงแบบบูรณาการน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=4.41, p<.05)
Other Abstract: This quasi-experimental research aimed to investigate the effect of integrated reality orientation program on post-traumatic brain amnesia in adult patients with head injury. The samples consisted of 40 patients with post-traumatic brain amnesia, admitted to King Chulalongkorn Memorial Hospital. A matched-pair technique was used to assign patients to an experimental and a control groups of 20 patients each. The two groups were similar in age, type of operative, location of lesion, level of cognitive, GOAT score, and type of amnesia. A control group received routine nursing care while the experimental group received the integrated reality orientation program. The integrated reality orientation program was developed based on reality orientation of Thomas et al (2003)’s theory including increasing the patient’s awareness of day, time, place, person, reason, and communication. Amnesia recovery was assessed by using the Galveston Orientation and Amnesia Test (GOAT).The instrument was tested by the specialists and CVI was 1.0, and the alpha Cronbach’s reliability was .86 Statistic techniques used in data analysis were means, standard deviation, and t-test. Major findings were as followed: 1. Post-traumatic brain amnesia of the patients after receiving the program were significantly less than before receiving the program at the level of .05(t=-11.89, p<.05) 2. Post-traumatic brain amnesia of the experimental group were significantly less than that of the control group at the level of .05(t=4.41, p<.05)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17243
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1223
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1223
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jettana_wo.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.