Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/173
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรเวศม์ สุวรรณระดา-
dc.contributor.authorเทอดศักดิ์ ชมโต๊ะสุวรรณ, 2518--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-05-30T04:55:20Z-
dc.date.available2006-05-30T04:55:20Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741771126-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/173-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการที่จะหาค่าอุปสงค์น้ำประปาของแต่ละกลุ่มครัวเรือนที่มีความแตกต่างกันในความสามารถในการจ่ายและศึกษาถึงผลกระทบของนโยบายการตั้งราคาและภาษีน้ำประปาแบบต่างๆ ต่ออุปสงค์น้ำประปาของครัวเรือนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาในประเทศไทยในอนาคตรวมทั้งศึกษาถึงผลกระทบต่อความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากรน้ำประปา ซึ่งเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพด้วย แบบจำลองการใช้จ่ายเชิงเส้นถูกนำมาใช้ในการประมาณค่าสมการอุปสงค์น้ำประปาของครัวเรือนโดยใช้ชุดข้อมูลหลักจาก 3 แหล่ง ได้แก่ ข้อมูลการใช้จ่ายของครัวเรือนจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี พ.ศ. 2545 ข้อมูลราคาสินค้าจากกรมการค้า กระทรวงพาณิชย์ และข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตและบริโภคน้ำประปาจากการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค ข้อมูลสินค้าถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มสินค้าประเภทน้ำประปา กลุ่มสินค้าประเภทอาหาร และกลุ่มสินค้าประเภทไม่ใช่อาหาร ข้อมูลครัวเรือนถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มครัวเรือนที่มีฐานะยากจน กลุ่มครัวเรือนที่มีฐานะใกล้จน กลุ่มครัวเรือนที่มีฐานะปานกลาง และกลุ่มครัวเรือนที่มีฐานะร่ำรวย ตามลำดับ จากผลการศึกษาวิจัยพบว่าอุปสงค์น้ำประปาในแต่ละกลุ่มครัวเรือนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญโดยที่กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำจะมีค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาของน้ำประปามากกว่ากลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูง จากผลการทดสอบนโยบายเชิงจำลองพบว่านโยบายการตั้งราคาและภาษีน้ำประปาที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการลดอุปสงค์น้ำประปา ในระยะสั้นนโยบายการเก็บภาษีน้ำประปาแบบต่างอัตราสองระดับนอกจากจะมีประสิทธิภาพในการลดอุปสงค์น้ำประปา รวมทั้งประเทศแล้วยังสามารถช่วยลดความแตกต่างในด้านความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากรน้ำประปาได้อีกด้วย แต่กระนั้นก็ตามเมื่อพิจารณาในระยะยาวนโยบายการเก็บภาษีแบบต่างอัตราสองระดับเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ การใช้นโยบายผสมระหว่างนโยบายภาษีน้ำประปาแบบต่างอัตราสองระดับร่วมกับนโยบายการตั้งราคาน้ำประปาแบบดัชนีคลังน้ำจะมีประสิทธิภาพมากกว่าในระยะยาว ซึ่งนอกจากจะสามารถช่วยลดความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากรน้ำประปาแล้วยังช่วยป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาในอนาคตควบคู่กันไปอีกด้วยen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study are to find out the demand for water supply in each household which are different in ability to pay and to investigate the effect of water supply pricing and tax policy on household demand for water supply to find the way to solve the water supply shortage in Thailand and also care about the effect on the inequality in ability to access the water supply resource which is the subsistence goods. Linear Expenditure System (LES) is utilized to estimate the demands. Data used for this analysis come from three main sources, i.e., the household expenditure data come from the 2002 Household Socio-Economics Survey, the commodity price data come from the Department of Business Economics under Ministry of Commerce, and the data about water supply production and consumption come from the Metropolis and Province Waterworks Authority. The commodities are divided into three main groups, i.e., water supply, food, and non-food. The households are divided into four classes, i.e., poor, almost poor, moderate, and rich. Our results demonstrate that the price elasticities of demand for water supply in each household class are different significantly. The low income household has the price elasticity of demand for water supply more than the high income household. From the simulation results, It can be seen that the water supply pricing and tax policy using in Thailand nowadays are not effective to decrease demand for water supply. In short-term, Double Non-Uniform Tax (DNUT) policy presented in this study is effective to decrease the demand and also decrease the inequality. However, in long-term, it indicates that the mixed policy between Water Stock Index Pricing (WSIP) and DNUT is more effective to solve the water supply shortage and the inequality simultaneously.en
dc.format.extent7037184 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.588-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectน้ำประปา--อุปทานและอุปสงค์en
dc.subjectน้ำประปา--นโยบายของรัฐen
dc.titleผลกระทบของนโยบายการตั้งราคาและภาษีต่ออุปสงค์น้ำประปาของครัวเรือนและปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาในประเทศไทยen
dc.title.alternativeEffect of pricing and tax policy on household demand for water supply and shortage of water supply in Thailanden
dc.typeThesisen
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorWorawet.S@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.588-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thoedsak.pdf5.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.