Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17456
Title: แนวทางการเลือกใช้กระจกเป็นผนังอาคารสำนักงานปรับอากาศเพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ. ศ. 2552
Other Titles: Glass selection guide for curtain walls for air-conditioned office buildings in accordance with building energy code B.E. 2552
Authors: สวิชญา ดาวประกายมงคล
Advisors: อรรจน์ เศรษฐบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Atch.S@Chula.ac.th, Atch111@yahoo.com
Subjects: อาคาร -- การอนุรักษ์พลังงาน
อาคารสำนักงาน -- การอนุรักษ์พลังงาน
กระจก
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการที่ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้กฏกระทรวงฉบับใหม่ในปี พ.ศ. 2552 เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550) นั้น ทำให้มีอาคารที่เข้าข่ายเป็นอาคารควบคุมการใช้พลังงานมากขึ้น โดยเริ่มควบคุมตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ และมีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการออกแบบอาคารใหม่ ทั้งนี้ อาคารสำนักงานขนาดใหญ่นั้นถือว่าเป็นอาคารควบคุมที่ต้องมีการดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ออกแบบและเจ้าของอาคารต้องปฏิบัติตาม การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคารผ่านผนังกระจกด้านข้าง และเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการป้องกันการถ่ายเทความร้อนของกระจกประเภทต่าง ๆ สำหรับเป็นแนวทางในการเลือกใช้กระจกเป็นผนังอาคารสำนักงานที่สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าและมีค่า OTTV ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามกฎกระทรวงฉบับใหม่ในปี พ.ศ. 2552 การศึกษานี้จะใช้แนวทางการวิจัยเชิงจำลองสถานการณ์จริง (Simulation Research) โดยจะเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบอาคารสำนักงานขนาดใหญ่จำนวน 30 คน เพื่อนำข้อมูลการสำรวจมาสร้างแบบจำลองอาคารต้นแบบ (Base Case Building) จากนั้นจึงมาสร้างแบบจำลองอาคารทางเลือกที่ใช้กระจกประเภทต่าง ๆ ในอัตราส่วนพื้นที่ของช่องแสงต่อพื้นที่ผนังทั้งหมด (WWR) แตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์เชิงเทคนิคชี้ให้เห็นว่า การใช้พื้นที่ของกระจกที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่า OTTV และค่าการใช้พลังงานไฟฟ้ารวมในอาคารเพิ่มขึ้น หากอาคารที่ออกแบบนั้นไม่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่กระจกมาก เช่น มี WWR ไม่เกินร้อยละ 20 ผู้ออกแบบอาจเลือกใช้กระจกธรรมดาซึ่งสามารถทำให้ผ่านค่า OTTV ตามที่กฎหมายกำหนดได้ จากการเปรียบเทียบค่า OTTV ของอาคารกรณีศึกษาพบว่ามีเพียง 1 อาคารต้นแบบและ 9 อาคารทางเลือกที่มีค่า OTTV ผ่านตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยพบว่า กระจกลามิเนตอินซูเลตสีเขียวอมฟ้าเคลือบสาร Very Low – E (ทางเลือก D) มีความเหมาะสมทางเทคนิคมากที่สุดเมื่อเทียบกับกระจกประเภทอื่นๆ ในทุกกรณีศึกษา อย่างไรก็ตาม การลงทุนใช้กระจกลามิเนตอินซูเลตสีเขียวอมฟ้าเคลือบสาร Very Low – E (ทางเลือก D) นั้นไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ ผลการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ พบว่า กระจกลามิเนตสีเขียวเคลือบสารสะท้อนแสง (ทางเลือก B) มีความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์มากที่สุดเมื่ออาคารมีอัตราส่วน WWR น้อยๆ เช่น ไม่เกินร้อยละ 40 ส่วนการออกแบบอาคารที่มีอัตราส่วน WWR มากกว่าร้อยละ 40 ขึ้นไป สามารถเลือกใช้กระจกลามิเนตอินซูเลตสีเขียวเคลือบสาร Low – E ใส่ก๊าซอาร์กอน (ทางเลือก C) แทนเพื่อให้มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติจริงมากขึ้น เพราะมีความเหมาะสมทั้งทางเทคนิคและทางเศรษฐศาสตร์
Other Abstract: Thailand has introduced the Building Energy Code B.E. 2552 in order to comply with the Energy Conservation Promotion Act B.E. 2552. According to this new code, more buildings are classified as designated buildings for which some design criteria and standards building have been changed. Architects and building owners of large office buildings defined as designated buildings are required to comply with the new code. The objectives of this study are to examine variables affecting heat transfer through the curtain wall of a building; and to analyze the energy saving performance of various types of glass against heat transfer in order to provide alternatives of using appropriate glass which will enhance energy conservation and yield an OTTV value complying with the new code introduced in B.E. 2552. Simulation Research was employed for this study. Firstly, important survey data were gathered from 30 well-experienced architects, who have experience in designing typical large office buildings in Bangkok. Then, the data gathered were used to create base case buildings. Next, the simulations of alternative buildings were established in accordance with different WWR. The technical analysis indicates that the greater the proportion of the curtain wall glass, the higher the OTTV value and the electrical end use. If the building requires WWR lower than 20%, the architect might choose normal glass which yields the OTTV value required by the law instead. According to the comparison of all alternative buildings in this study, there is only one base case, and nine alternative buildings that have OTTV values complying with the law. The study also found that Bluegreen Laminated Insulating Glass with Very Low-E Coating (Option D) is the most appropriate energy saving glass according to technical analysis. However, investment in Bluegreen Laminated Insulating Glass with Very Low-E Coating (Option D) is not very economical. According to the economic analysis, Green Laminated Glass with Reflective Coating (Option B) has a proper result in terms of the economic aspect when the proportion of WWR is lower than 40%. In addition, Green Laminated Insulating Glass with Low-E Coating and Argon Gas Filling (Option C) is the most suitable glass for the building with WWR higher than 40% because it yields practical results in both technical and economic efficiency
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17456
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.538
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.538
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
savitchaya_da.pdf5.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.