Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17575
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อัมพร ทีขะระ | - |
dc.contributor.author | นฤตย์ นิ่มสมบุญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-10 | - |
dc.date.available | 2012-03-10 | - |
dc.date.issued | 2528 | - |
dc.identifier.isbn | 9745640999 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17575 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างและวิธีใช้เลขผู้แต่งสำหรับหนังสือภาษาไทย 3 แบบ คือ แบบของหอสมุดกลางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, แบบของหอสมุดแห่งชาติ และแบบของห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีสมมติฐานว่า ตารางเลขผู้แต่งสำหรับหนังสือภาษาไทยทั้ง 3 แบบ มีความแตกต่างกันในด้านโครงสร้างและวิธีใช้ตารางเลขผู้แต่งสำหรับหนังสือภาษาไทยที่เหมาะสมกับการจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ควรใช้ตารางเลขผู้แต่งที่มีโครงสร้างและวิธีใช้ตามแบบตารางเลขผู้แต่งของระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ในการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารสิ่งพิมพ์, บัตรรายการของห้องสมุด การแจกแบบสอบถามจำนวน 25 ชุด แก่บรรณารักษ์ของห้องสมุดกลางของมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ซึ่งใช้ระบบการจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และการสัมภาษณ์หัวหน้าบรรณารักษ์และบรรณารักษ์ฝ่ายทำบัตรรายการและจัดหมู่หนังสือภาษาไทย จำนวน 7 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ห้องสมุดกลางของมหาวิทยาลัยทั้ง 6 แห่ง มีนโยบายในการกำหนดเลขเรียกหนังสืออย่างละเอียดเหมือนกัน เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดเข้าถึงหนังสือได้สะดวก ห้องสมุดส่วนใหญ่มีหนังสือมากกว่า 20,000 เล่ม จัดแบ่งงานเทคนิคโดยแยกเป็นงานทำบัตรรายการ และจัดหมู่หนังสือภาษาไทย กับงานทำบัตรรายการและจัดหมู่หนังสือภาษาต่างประเทศ บรรณารักษ์ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีสาขาบรรณารักษศาสตร์และมีประสบการณ์ในการทำบัตรรายการและจัดหมู่หนังสือระหว่าง 4 ถึง 6ปี ส่วนใหญ่บรรณารักษ์จะได้รับทักษะในการจัดหมู่จากประสบการณ์จากการทำงานในห้องสมุด กับการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์ในมหาวิทยาลัย และในการกำหนดเลขเรียกหนังสือบรรณารักษ์ส่วนใหญ่มักจะอาศัยคู่มือการให้เลขหมู่ของระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และตรวจสอบบัตรแจ้งหมู่หนังสือก่อนการให้เลขเรียกหนังสือ ข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถามก็สนับสนุนข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจากเอกสารว่าตารางเลขผู้แต่งสำหรับหนังสือภาษาไทยของหอสมุดกลางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับเลขหอสมุดแห่งชาติ มีองค์ประกอบสำคัญเช่นเดียวกับตารางเลขผู้แต่ง 3 ตัวของคัตเตอร์-แซนบอร์น ตารางเลขผู้แต่งสำหรับหนังสือภาษาไทยแบบของห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีโครงสร้างเช่นเดียวกับเลขผู้แต่งของระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และเป็นตารางเลขผู้แต่งที่ได้รับความนิยมมากในหมู่บรรณารักษ์ เพราะว่าสามารถยืดหยุ่นได้ในกรณีที่เลขผู้แต่งซ้ำซ้อนกัน และใช้ง่ายโดยมีอักษรย่อของชื่อผู้แต่งและตัวเลขเพียง 1 หรือ 2 ตัวเท่านั้น ผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ในการใช้ตารางเลขผู้แต่งสำหรับหนังสือภาษาไทย บรรณารักษ์ควรศึกษาวิธีใช้และนโยบายงานเทคนิคของห้องสมุดอย่างรอบคอบ 2. ห้องสมุดควรจัดทำคู่มือสำหรับกำหนดสัญลักษณ์แทนชื่อผู้แต่งที่ซ้ำกัน เพื่อให้เลขเรียกหนังสือแตกต่างกัน 3. ห้องสมุดควรตรวจสอบบัตรแจ้งหมู่หนังสือทุกครั้ง เมื่อจะกำหนดเลขเรียกหนังสือ 4. ห้องสมุดที่มีหนังสือน้อยกว่า 20,000 เล่ม อาจใช้อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง และชื่อเรื่องแทนเลขผู้แต่ง แต่ควรกำหนดเลขผู้แต่งก่อนที่หนังสือจะเพิ่มถึง 20,000 เล่ม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องเลขเรียกหนังสือซ้ำซ้อนในอนาคต 5. ห้องสมุดควรมีการอบรมเรื่องการจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และวิธีการใช้ตารางเลขผู้แต่งแบบที่ห้องสมุดใช้อยู่แก่บุคลากรที่เข้าใหม่ | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to study the structure and the use of three Thai author numbers tables devised by the Central Library, Chulalongkorn University; the National Library; Thamasat University Library with the hypotheses that: author numbers have a difference in their structure and use, and the suitable Thai author numbers to be applied with Library of Congress Classification System should have the same structure and use with the Library of Congress cutter numbers. The research was conducted by gathering data from printed materials, library card catalog, 25 questionnaires distributed to librarians of six central university libraries that use Library of Congress Classification System, and interviewing of 7 catalogers. The summarized findings are as follows: The Central library of 6 universities have the same policy in assigning close call number to create efficiency in book accessing. Most of the library have over 20,000 volumes and separate their technical work for Thai and foreign library materials. The majority of librarians have the Bachelor of Arts degree in Library Science plus 4 to 6 years of library experience. Their skill in classification are obtained from library work, and classification course provides by library schools. Usually in assigning a call number, the Library of Congress Classification scheme as well as the library shelf-list card are consulted. The data from questionnaires supported the documentary study that Thai author numbers of Central Library, Chulalongkorn University and the National Library contain important elements of Cutter-sanborn three-figure Table and the Thai author numbers of Thamasat University has the same structure with the Library of Congress cutter numbers. The study also reveals that this author number table is popular among catalogers because of its flexibility and easy assignment of one or two figures to initial letter of the author's name. Recommendation: 1. In applying a Thai author number table, a librarian should carefully study its use and library's policy of technical work. 2. A library should have a manual in assigning the symbols by which names are differentiated in the call number. 3. A shelf-list card should be consulted in assigning a call number. 4. A library with less than 20,000 volumes may use only an author's and title's initial letters for a work mark. 5. A library should arrange an in-service-training in Library of Congress Classification System for a new staff members. | - |
dc.format.extent | 315947 bytes | - |
dc.format.extent | 278774 bytes | - |
dc.format.extent | 578088 bytes | - |
dc.format.extent | 243860 bytes | - |
dc.format.extent | 409222 bytes | - |
dc.format.extent | 295066 bytes | - |
dc.format.extent | 429205 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เลขผู้แต่ง | en |
dc.subject | การวิเคราะห์หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน | en |
dc.title | เลขผู้แต่งสำหรับหนังสือภาษาไทยที่ใช้กับการจัดหมู่หนังสือ ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน | en |
dc.title.alternative | Thai author numbers applied with library of Congress Classification system | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บรรณารักษศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Narit_Ni_front.pdf | 308.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Narit_Ni_ch1.pdf | 272.24 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Narit_Ni_ch2.pdf | 564.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Narit_Ni_ch3.pdf | 238.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Narit_Ni_ch4.pdf | 399.63 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Narit_Ni_ch5.pdf | 288.15 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Narit_Ni_back.pdf | 419.15 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.