Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17578
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบัติ จันทรวงศ์-
dc.contributor.advisorปิยนาถ บุนนาค-
dc.contributor.authorนฤมล ธีรวัฒน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-10-
dc.date.available2012-03-10-
dc.date.issued2525-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17578-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractสถาบันกษัตริย์ไทยเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีการปรับตัวอย่างมากมาโดยตลอด ตามประวัติศาสตร์สถาบันนี้ได้ปฏิรูปตัวเองอย่างต่อเนื่องและปรับสถานะให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อรักษาไว้ซึ่งสถานภาพที่เหมาะสมในสังคมไทย การปฏิรูปครั้งใหญ่ของสถาบันกษัตริย์ที่ถือเป็นก้าวแรกแห่งการนำประเทศไปสู่ความเจริญแบบตะวันตกได้เริ่มขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี เวลานั้นเมื่อประเทศไทยเริ่มสำนึกในแรงกดดันจากลัทธิล่าอาณานิคมตะวันตก การปฏิรูปของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงแต่ช่วยให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการยึดครองของมหาอำนาจต่างชาติเท่านั้น หากยังส่งอิทธิพลอย่างมากต่อการวางแนวนโยบายการเมืองภายในและภายนอกประเทศในรัชกาลต่อมา จากการวิเคราะห์พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจและงานของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงกำเนิดและพัฒนาการแห่งพระราชดำริทางการเมืองของพระองค์ โดยจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อสิ่งซึ่งอาจเป็นแรงบันดาลของความเปลี่ยนแปลงใดๆที่เกิดภายหลัง ผลของการศึกษาพบว่า ทัศนคติทางการเมืองแบบ “จารีตนิยม” ของพระบาทสมเด็จพระจอมเหล้าเจ้าอยู่หัว ที่ก่อตัวขึ้นในช่วงแรกแห่งพระชนม์ชีพได้เปลี่ยนแปลงไปมากในช่วงระยะเวลา 27 ปีต่อมาที่ทรงลี้ภัยการเมืองในสมณเพศ เมื่อทรงตระหนักว่าไม่อาจได้ราชสมบัติตามสิทธิธรรม ระหว่างที่ทรงเป็นพระภิกษุนั้นพระองค์ทรงมีโอกาสที่พระมหากษัตริย์องค์ใดไม่เคยทรงมีมาก่อนในการเรียนรู้สภาพที่เป็นจริงของสังคมและโลกภายนอก พระองค์จึงสามารถพัฒนาพระราชดำริทางการเมืองให้มีลักษณะเฉพาะพระองค์ในเรื่องของพระราชภารกิจแห่งพระมหากษัตริย์ที่พึงมีต่อราษฎรและราชอาณาจักร เมื่อพระองค์ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงดำเนินการตามพระราชดำริทางการเมืองที่เกิดขึ้นใหม่นี้ ผลก็คือนโยบายต่างประเทศของไทยเปลี่ยนจากการไม่ผูกพันกับประเทศใดมาเป็นการโอนอ่อนยอมตามความต้องการของชาติมหาอำนาจขณะเดียวกันก็เริ่มพัฒนายุทธวิถีถ่วงดุลย์อำนาจในวิธีการทูต ภายในประเทศนั้น พระองค์เริ่มโครงการระยะยาวที่จะรวมศูนย์อำนาจทางการเมืองไว้ที่สถาบันกษัตริย์ ทั้งยังทรงนำกลุ่มผู้สนับสนุนพระองค์ในการเพิ่มพูนความรู้เรื่องวิทยาการสมัยใหม่และเทคโนโลยีของตะวันตก เป็นที่น่าสังเกตว่าในความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีสิ่งที่แสดงให้เห็นเลยว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงละทิ้งความเชื่อพื้นฐานเรื่องบทบาทของกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เป็นธรรมราชาตามอุดมคติทางพุทธศาสนา เพียงแต่ทรงกำหนดบทบาทธรรมราชาของพระองค์ให้ใกล้ชิดราษฎรยิ่งกว่ารัชสมัยใดที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามข้อจำกัดทางสังคมและการเมืองทำให้ยากที่พระองค์จะดำเนินการตามพระราชดำริทางการเมืองทั้งหมดได้ สิ่งที่พระองค์เริ่มไว้นั้นเป็นรัชทายาทของพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสานต่อจนสำเร็จโดยใช้เวลาเกือบตลอดพระชนม์ชีพ-
dc.description.abstractalternativeAs a political institution, the Thai monarchy has always been highly dynamic. Throughout history, this traditional establishment has continuously reformed itself and modified its position in order to secure its proper place in the Thai society. One such great reformation of the monarchical institution, which may be taken as a first step towards modernization, took place during the time of King Mongkut, the fourth King of Chakkri dynasty. At that time when Thailand beginning to fell the pressure of western colonialism, the reform initiated by King Mongkut not only saved the country from outright domination by foreign powers, but also greatly influenced the future policy formulation, both internal and external, of this successor. Based on the analysis of his life, his works and his career, this study attempts to trace the origin and development of King Mongkut's political thought, with special emphasis on how it might have inspired the changes that has taken place thereafter. The study concludes that King Mongkut's “conservative” political attitude, which was formed during his early years, underwent quite a change when, seeing that his legal claim to the throne was denied, he spent his next 27 years of self-imposed exile of the monkhood. During his time in the Buddhist Sangha, King Mongkut had the opportunity that no other kings had ever had to learn about social reality and the outside world. He, thus, was able to form his own idea as to what the obligation of the King towards his subjects and the country should be. Upon his ascendency to the throne, he put these new ideas into practice. As a result, Thailand's foreign policy changed from that of isolationism, i.e., reluctance from making any agreement with western countries to that of accommodating the demands of foreign powers. At the same time, the strategy of playing off one foreign power against another through diplomatic means was developed. Internally, King Mongkut began the long process of centralization with the goal of making the monarch the supreme source of political power. He also led his supporters in embracing modern sciences and other western technology. Yet, despite all these modern looking gestures, he showed no signs of moving away from his basic belief in the rule of absolute monarchy based on the Buddhist ideal of “Dharmaraja”. He only made his rule as a Dharmaraja closer to his subjects than any of his predecessors ever did. Certain sociological and political limitations, however, made it difficult for all his ideas to be carried out. It took his successor, King Chulalongkorn, nearly all his life to accomplish what he had begun.-
dc.format.extent404371 bytes-
dc.format.extent310247 bytes-
dc.format.extent1201190 bytes-
dc.format.extent2180923 bytes-
dc.format.extent4425584 bytes-
dc.format.extent418986 bytes-
dc.format.extent648364 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2347-2411en
dc.subjectไทย -- การเมืองและการปกครองen
dc.subjectMongkut, King of Siam, 1804-1868-
dc.subjectThailand -- Politics and government-
dc.titleพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัวen
dc.title.alternativeThe political thought of King Mongkuten
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorPiyanart.B@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Naruemol_Te_front.pdf394.89 kBAdobe PDFView/Open
Naruemol_Te_intro.pdf302.98 kBAdobe PDFView/Open
Naruemol_Te_ch1.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Naruemol_Te_ch2.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open
Naruemol_Te_ch3.pdf4.32 MBAdobe PDFView/Open
Naruemol_Te_ch4.pdf409.17 kBAdobe PDFView/Open
Naruemol_Te_back.pdf633.17 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.