Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17602
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorส่องศรี พิทยรัตน์-
dc.contributor.authorพหล สง่าเนตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-10T01:43:56Z-
dc.date.available2012-03-10T01:43:56Z-
dc.date.issued2518-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17602-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518en
dc.description.abstractการวิจัยปัญหานี้ มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการศึกษาของนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กับผลการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร โดยใช้การพิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสอบไล่เฉลี่ย 5 ชั้นปี ของนักเรียนนายร้อยที่สำเร็จการศึกษา ตามหลักสูตร 5 ปี กับคะแนนผลการสอบไล่จากชั้นปีที่ 2 ของโรงเรียนเตรียมทหาร แยกตามหมวดวิชาที่สำคัญออกเป็น 4 หมวดวิชา ได้แก่ หมวดวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และวิชาทหาร วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยทฤษฎีความถดถอย และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนในการทดสอบสมมติฐานของแบบจำลองความถดถอย ประชากรคือ นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 15 รุ่นที่ 16 รุ่นที่ 17 รุ่นที่ 18 รุ่นที่ 19 และรุ่นที่ 20 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1081 คน ซึ่งจะเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 4 รุ่นที่ 5 รุ่นที่ 6 รุ่นที่ 7 รุ่นที่ 8 และรุ่นที่ 9 เลือกตัวอย่างจากแต่ละรุ่นด้วยวิธีสุ่ม (stratified random sampling) ได้นักเรียนนายร้อยที่เป็นตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 142 คน ทำการบันทึกข้อมูลโดยให้ผลการศึกษาเฉลี่ย 5 ชั้นปี ของนักเรียนนายร้อยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแปรตาม และคะแนนการสอบไล่จากชั้นปีที่ 2 ของโรงเรียนเตรียมทหาร ของนักเรียนนายร้อยที่ได้รับเลือกเป็นตัวอย่างดังกล่าว แยกตามหมวดวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และวิชาทหาร ให้เป็นตัวแปรอิสระ ตัวที่ 1 ตัวที่ 2 ตัวที่ 3 และตัวที่ 4 ( , , , ) ตามลำดับ นำข้อมูลที่ได้นี้ไปวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีความถดถอย (regression theory) ผลของการวิจัยพบว่า มีความสัมพันธ์เป็นนัยสำคัญทางสถิติต่อกันระหว่างผลการศึกษาเฉลี่ย 5 ชั้นปี ของนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กับผลการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร (ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01) ในหมวดวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ และคะแนนในหมวดวิชาทหารจากโรงเรียนเตรียมทหาร ไม่มีความสัมพันธ์เป็นนัยสำคัญกับผลการศึกษาของนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า แบบจำลองความถดถอย (regression model) ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับนำไปใช้ทำนายค่าผลการศึกษาเฉลี่ย 5 ชั้นปี ของนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ได้แก่แบบจำลองที่ใช้ตัวแปรอิสระ ตัวที่ 1 คือคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ ตัวที่ 2 คือคะแนนวิชาวิทยาศาสตร์ และตัวที่ 3 คือคะแนนวิชาสังคมศาสตร์ เป็นตัวทำนาย ซึ่งมีแบบจำลองดังนี้ = 54.404059 + 0.02965954 + 0.0290168 + 0.03770635-
dc.description.abstractalternativeThis research is intended to study the relationship between the academic results from the Chulachomklao Royal Military Academy and the Armed Forces Academy Preparatory School. Consideration is based on the five year average grade (in percent) of the cadets who graduated from five year program and the results of second year examination of precadets which were taken separately for each principle subjects, mathematics, sciences, social sciences, and military sciences. The regression theory is used to analyze the relationship by using the analysis of variance for testing the hypothesis of regression model. Population is the cadets’ classes of 4, 5, 6, 7, 8, and 9. We selected sample by stratified random sampling from each class and the sample size is 142 cadets. Data is collected by letting the five year average grade (in percent) of the selected sample cadets be dependent variables and the results of second year examination from the Armed Forces Academy Preparatory School of the selected sample cadets be independent variables. Each subject, mathematics, sciences, social sciences, and military sciences considered separately are first, second, third and fourth independent variables ( , , , ) orderly, and then analyze theses data by regression theory. The results of this research show that there is a significant relationship between the five year average grade of the cadets and the results of second year examination from the Armed Forces Academy Preparatory School (at the .01 level of significance) in the subject of mathematics, sciences, and social sciences. And there is no significant relationship between the military sciences from the Armed Forces Academy Preparatory School and the five year average grade of the cadets. The most suitable regression model to be used for predicting the five year average grade of the cadets, is the model of the first independent variable (mathematics), the second independent variable (sciences), and the third independent variable (social sciences) which is in the form of = 54.404059 + 0.02965954 + 0.0290168 + 0.03770635-
dc.format.extent366171 bytes-
dc.format.extent348820 bytes-
dc.format.extent590870 bytes-
dc.format.extent406218 bytes-
dc.format.extent516206 bytes-
dc.format.extent289425 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen
dc.titleการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลการศึกษา จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และโรงเรียนเตรียมทหารen
dc.title.alternativeA study of the relationship between the academic results from The Chulachomklao Royal Military Academy and The Armed Forces Academy Preparatory Schoolen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพาณิชยศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถิติes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pahole_Sa_front.pdf357.59 kBAdobe PDFView/Open
Pahole_Sa_ch1.pdf340.64 kBAdobe PDFView/Open
Pahole_Sa_ch2.pdf577.02 kBAdobe PDFView/Open
Pahole_Sa_ch3.pdf396.7 kBAdobe PDFView/Open
Pahole_Sa_ch4.pdf504.11 kBAdobe PDFView/Open
Pahole_Sa_back.pdf282.64 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.