Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17650
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรรณี ศิริโชติ | - |
dc.contributor.author | ลักขณา วรรณวีรกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-10T03:58:52Z | - |
dc.date.available | 2012-03-10T03:58:52Z | - |
dc.date.issued | 2526 | - |
dc.identifier.isbn | 9745619841 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17650 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนและรูปเรขาคณิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สอง ที่ได้รับการสอนโดยวิธีสอนแบบอุปมานและแบบอนุมาน วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้เลือกเนื้อหาที่จะสอน 2 เรื่อง คือเรื่องเศษส่วนและรูปเรขาคณิต เพราะทั้ง 2 เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เรียนในภาคปลายและเป็นเรื่องที่เริ่มเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่สอง เพื่อสร้างเครื่องมือในการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย 1. แบบทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่ผ่านการตรวจแก้ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และนำไปทดลองใช้แล้ว จำนวน 2 ฉบับๆ ละ 20 ข้อ โดยในเรื่องเศษส่วนมีค่าความยาก .32 - .80 อำนาจจำแนก .27 - .60 และสัมประสิทธิ์ของความเที่ยง .78 และในเรื่องรูปเรขาคณิตมีค่าความอยาก .28 - .80 อำนาจจำแนก .23 - .60 และสัมประสิทธิ์ของความเที่ยง .85 2. แผนการสอนที่สอนด้วยวิธีสอนแบบอุปมานและแบบอนุมาน จำนวน 14 แผ่น ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สองปีการศึกษา 2525 ของโรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส และโรงเรียนวัดบางพลัด เขต บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จำนวน 60 คน โดยจับฉลากได้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สอง โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส จำนวน 30 คน ได้รับการสอนแบบอุปมาน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สอง โรงเรียนวัดบางพลัด จำนวน 30 คน ได้รับการสอนแบบอนุมาน ผู้วิจัยดำเนินการสอนเองทั้ง 2 กลุ่ม ใช้เวลาในการสอนกลุ่มละ 42 คาบ (คาบละ 20 นาที) ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการทดสอบค่าที ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัย 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศษส่วนของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบอุปมานและกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบอนุมานแตกต่างกัน ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบอนุมานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนแบบอุปมาน 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องรูปเรขาคณิต ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบอุปมานและกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบอนุมานแตกต่างกัน ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบอนุมาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนแบบอุปมาน 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศษส่วนและรูปเรขาคณิต ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบอุปมานและกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบอนุมานแตกต่างกัน ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 เป็นไปตามสมมติฐาน นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบอนุมานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนแบบอุปมาน | - |
dc.description.abstractalternative | Purpose To compare learning effectiveness in mathematics on the topic of fractions and geometric figures among Prathom Suksa TWO students by using inductive and deductive methods in teaching. Procedures: Two topics, fractions and geometric figures, were selected for this study and instruments were constructed accordingly. These particular topics were selected because both are first taught during the second semester of the Prathom Suksa Two level. The instruments were: 1. Two tests paper, each of 20 items were designed for measuring learning effectiveness in mathematics. These tests were seen and corrected by experts and were tried out. The level of difficulty was, for the test on fraction, found to be between .32-.80 with a discrimination power of .27-.60 and a reliability coefficient of .78. The test for geometric figures had a level of difficulty between .28-.80. with a discrimination power of .23-.60 and a reliability coefficient of .85. 2. Fourteen lesson plans using inductive and deductive methods. The sample tested in this project included 60 students of Prathom Suksa Two for the 1982 academic year, randomly selected as follows: 30 from Wat Samakeesuthavas school and 30 from Wat Bangplad school in the district of Bangkoknoi, Bangkok. The thirty students of Wat Samakeesuthavas school were instructed by the inductive method and the thirty students of Wat Bangplad school by the deductive method. Instruction was conducted by the researcher herself. Each group was taught for 42 periods (20 minutes per period); Data were analyzed through the t-test at the .05 level of significant. Results: 1. Learning effectiveness for fractions of the group instructed by the inductive method was different from that of the group instructed by the deductive method significant at the .05 level, this corresponded to the assumption. Teaching by the deductive method is more effective than by the inductive method. 2. .05 level, this corresponded to the assumption. Teaching by the deductive method is more effective than by the inductive method. 3. Learning effectiveness for both fractions and geometric figures of the group instructed by the inductive method was different from that of the group instructed by the deductive method significant at the .05 level, this corresponded to the assumption. Teaching by the deductive method is more effective than by the inductive method. | - |
dc.format.extent | 379584 bytes | - |
dc.format.extent | 419300 bytes | - |
dc.format.extent | 746624 bytes | - |
dc.format.extent | 333802 bytes | - |
dc.format.extent | 261957 bytes | - |
dc.format.extent | 409095 bytes | - |
dc.format.extent | 1500797 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) | en |
dc.title | การเปรียบเทียบการสอนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่สอง โดยวิธีสอนแบบอุปมานและแบบอนุมาน | en |
dc.title.alternative | A comparison of teaching mathematics in prathom suksa two by using inductive mehtod and deductive method | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ประถมศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Luxkana_Wo_front.pdf | 370.69 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Luxkana_Wo_ch1.pdf | 409.47 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Luxkana_Wo_ch2.pdf | 729.12 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Luxkana_Wo_ch3.pdf | 325.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Luxkana_Wo_ch4.pdf | 255.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Luxkana_Wo_ch5.pdf | 399.51 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Luxkana_Wo_back.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.