Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17688
Title: การวิเคราะห์พฤติกรรมการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน ในหน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: An analysis of the nursing behaviors of professional nurses working in government hospitals' intensive care units, Bangkok Metropolis
Authors: นฤมล ปทุมารักษ์
Advisors: พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การพยาบาล -- แง่จิตวิทยา
พยาบาล
พฤติกรรม
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ในขณะให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วย ในหน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร โดยมีคำถามในการวิจัยคือ พยาบาลวิชาชีพให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยที่รับไว้รักษา ในหน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนัก มีพฤติกรรมการพยาบาลที่มุ่งดูแลคน หรือมีพฤติกรรมการพยาบาลที่มุ่งงานมาก และมีพฤติกรรมการพยาบาลแตกต่างกันหรือไม่ขณะให้การพยาบาลผู้ป่วยที่รู้สติ และผู้ป่วยไม่รู้สติ กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 30 คน จากหน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลราชวิถี และโรงพยาบาลตำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมการพยาบาล คือแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการพยาบาล และคู่มือในการวิเคราะห์พฤติกรรมการพยาบาล พร้อมเกณฑ์ในการตัดสินพฤติกรรมการพยาบาล ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น และได้ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเที่ยงของการสังเกต เท่ากับ .80 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีสังเกตอย่างมีส่วนร่วม โดยสังเกตพฤติกรรมการพยาบาลของพยาบาลแต่ละคน ขณะให้การพยาบาลผู้ป่วยที่รู้สติ 3 ครั้ง และขณะให้การพยาบาลผู้ป่วยไม่รู้สติ 3 ครั้ง ได้จำนวนการสังเกตทั้งสิ้น 180 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนพฤติกรรม และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ด้วยวิธีทดสอบค่าที (t-test) และทดสอบความแตกต่างของพฤติกรรมการพยาบาล ในแต่ละด้านด้วยวิธีแมคนีมาร์ (McNemar Test) ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการพยาบาล พบว่า 1. พยาบาลวิชาชีพในหน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนัก มีพฤติกรรมการพยาบาลขณะให้การพยาบาลผู้ป่วยแบบมุ่งดูแลคน 2. พยาบาลวิชาชีพในหน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนัก มีพฤติกรรมการพยาบาลขณะให้การพยาบาลผู้ป่วยรู้สติ และไม่รู้สติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 ซึ่งพยาบาลจะมีพฤติกรรมการพยาบาลแบบมุ่งดูแลคน เมื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยที่รู้สติ สูงกว่า เมื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยที่ไม้รู้สติ 3. พยาบาลวิชาชีพในหน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนัก มีพฤติกรรมการพยาบาลขณะให้การพยาบาลผู้ป่วยที่รู้สติ และไม่รู้สติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านกิริยาท่าทางที่แสดงความเอาใจใส่ ด้านกิริยาท่าทางที่แสดงการยอมรับผู้ป่วย และด้านการมีระยะห่างระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยขณะให้การพยาบาล ส่วนพฤติกรรมด้านการแสดงสีหน้าและสายตา ด้านการพูดที่แสดงความเคารพในความเป็นบุคคลของผู้ป่วย ด้านการพูดเพื่อประคับประคองจิตใจของผู้ป่วย และด้านการสัมผัสผู้ป่วยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to analyze the nursing behaviors performed by the professional nurse working at the intensive care units of three government hospitals located in Bangkok metropolis. The research question were (1) whether the ICU nurses performed nursing behaviors focused on person-centered or task-centered (2) whether there was any differences between nursing behaviors given to conscious patients or unconscious patients. Thirty professional nurses working in intensive care units were randomly chosen from all ICU nurses employed by three government hospitals by using simple random sampling. The research instruments developed by the researcher were the nursing behaviors observation form, and the analysis manual, including the criteria to judge nursing behaviors. The panel of experts reviewed the instruments in order to ensure the content validity. The reliability procedure was conducted on the try-out data assess the internal consistency. One hundred and eighty nursing behaviors were recorded during the time the nurses care for the conscious and unconscious patients. The data was analyzed by using various statistical methods; mean, standard deviation, t-test and McNemar test. The summary of findings were as follows: 1. The nursing behaviors of ICU Nurse indicated person-centered care. 2. There was a significant statistical difference found between the type of care given conscious and unconscious patients at the .001 level. The data indicated that the care given the conscious patients was more person-centered than the care given the unconscious patients. 3. In the areas of 1) attentiveness gestures, 2) patient acceptance and 3) the distance between patient and nurse, there were no significant statistical differences. However there were significant statistical differences between the nursing behaviors at the .05 level, Facial expression, eye contact, respective and supportive verbal expression and touch all showed significant statistical differences.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดนตรีศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17688
ISBN: 9745667846
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narumon_Pa_front.pdf309.36 kBAdobe PDFView/Open
Narumon_Pa_ch1.pdf304.79 kBAdobe PDFView/Open
Narumon_Pa_ch2.pdf792.3 kBAdobe PDFView/Open
Narumon_Pa_ch3.pdf322.35 kBAdobe PDFView/Open
Narumon_Pa_ch4.pdf328.79 kBAdobe PDFView/Open
Narumon_Pa_ch5.pdf445.94 kBAdobe PDFView/Open
Narumon_Pa_back.pdf541.31 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.