Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17692
Title: ลักษณนามในภาษาไทยโคราชที่บ้านบึงทับปรางค์ ตำบลกระโทก อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Classifiers in Korat Thai Spoken in Ban Bung Thap Prang, Tambol Krathok, Amphoe Chok Chai, Nakhon Ratchasima Province
Authors: นฤมล จันทรศุภวงศ์
Advisors: นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Nonglak.M@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย -- การใช้ภาษา
ภาษาไทย -- ลักษณนาม
ภาษาโคราช -- ลักษณนาม
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้ลักษณะนามในภาษาไทยโคราช ซึ่งพูดที่หมู่บ้านบึงทับปรางค์ ตำบลกระโทก อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา เพื่อดูว่าคำลักษณะนามที่ใช้ในหมู่บ้านดังกล่าวมีอะไรบ้าง มีความหมายอย่างไร และใช้แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร ในผู้พูดภาษาไทยโคราชที่มีอายุและอาชีพต่างกัน วิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์คือการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Componential analysis) ผู้วิจัยกำหนดความหมายของคำลักณนามแต่ละคำโดยดูจากคำนามที่เกิดร่วม และแสดงความหมายของคำลักษณนามในรูปของอรรถลักษณ์หรือองค์ประกอบทางความหมาย ผลการวิเคราะห์แสดงว่า คำลักษณนามในภาษาไทยโคราชที่ใช้ในหมู่บ้านดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ตามอรรถลักษณ์ที่สำคัญได้ 10 ประเภท ซึ่งแตกต่างกันตามอรรถลักษณ์ เช่น มีชีวิต ไม่มีชีวิต เป็นอวัยวะ เป็นพาหนะ และมีรูปทรงกลม มีรูปยาวเป็นต้น สำหรับการใช้คำลักษณนามพบว่า จำนวนคำลักษณนาม และการกรากฏร่วมกับคำนามของคำลักษณนามในผู้พูดที่มีอายุและมีอาชีพต่างกัน มีควมแตกต่างกัน นอกจากนั้นผู้วิจัยยังพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการใช้ลักษณะนามแตกต่างกันไป ได้แก่ การมองวัตถุต่างมิติของผู้พูดภาษา การเปลี่ยนแปลงในตัวภาษาไทยโคราชเอง และผลของการที่ภาษาไทยโคราชสัมผัสกับภาษาไทยกลาง
Other Abstract: This thesis is a study of classifier in Korat Thai spoken in Ban Bung Thap Prang, Tambon Krathok, Amphoe Chokchai, Nakhon Ratchasima Province. The main purpose is to find out what classifiers are used in the village, to analyze their meanings and to see whether the number and the use of classifiers vary with the age and occupation of the speakers. Componential analysis is an approach used in the analysis of the meanings of classifiers. The meaning of each of the classifiers is inferred from the nouns that the classifier occurs with and is shown in the form of a set of semantic components. The results of the analysis show that all of the classifiers can be divided into 10 main categories, which are differentiated by such features as animate, inanimate, body part, vehicle, round things, long things etc. As for the use of the classifiers, it is found that the number and the occurrences of the classifier vary with the age and occupation of the speakers. In addition, there are three significant factors which influence the use of classifiers : the speaker's different views of objects, change in Korat Thai itself and the effect of contact with Standard Thai.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17692
ISBN: 9745649767
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narumol_Ch_front.pdf307.93 kBAdobe PDFView/Open
Narumol_Ch_ch1.pdf351.96 kBAdobe PDFView/Open
Narumol_Ch_ch2.pdf627.84 kBAdobe PDFView/Open
Narumol_Ch_ch3.pdf469.46 kBAdobe PDFView/Open
Narumol_Ch_ch4.pdf477.52 kBAdobe PDFView/Open
Narumol_Ch_ch5.pdf271.21 kBAdobe PDFView/Open
Narumol_Ch_back.pdf445.91 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.