Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17719
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Letsche, Herr Harald | - |
dc.contributor.author | Narudie Kanjanalak | - |
dc.contributor.other | Chulalongkorn University. Graduate School | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-10T08:50:43Z | - |
dc.date.available | 2012-03-10T08:50:43Z | - |
dc.date.issued | 1984 | - |
dc.identifier.isbn | 9745632864 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17719 | - |
dc.description | Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 1984 | en |
dc.description.abstract | ในสมัยที่ฮิตเลอร์มีอำนาจ ได้มีการทำลายวรรณคดีเยอรมันครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดคือ การเผาหนังสือนับล้านเล่ม ผู้ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญแขนงต่างๆ เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักประพันธ์ และศิลปิน ที่ไม่สามารถทนต่อการบีบคั้นทางปัญญาและความคิด ได้หนีออกจากประเทศไปเสียจำนวนมาก ด้วยการเผาหนังสือวรรณกรรมครั้งยิ่งใหญ่นั้น ฮิตเลอร์สามารถลบชื่อนักประพันธ์จำนวนมากออกจากความทรงจำของชนชาติเยอรมันทั้งปวง เยาวชนเยอรมันรุ่นหลังๆจึงไม่รู้จักนักประพันธ์เหล่านั้น รวมทั้งผลงานของเขาด้วย ถึงแม้ว่านักประพันธ์ชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียงหลายคน ต้องลี้ภัยออกจากประเทศและพวกเขาต้องประสบความยากลำบากและปัญหานานาประการ แต่พวกเขาไม่ยอมให้เหตุการณ์การเผาหนังสือครั้งนั้นเป็นการหยุดยั้งการเขียนวรรณกรรมเยอรมัน เขาได้คิดเขียนงานต่อไปในต่างแดน ในแวดวงของภาษาอื่น ในสังคมของชนชาติอื่น บางคนได้ประสบความสำเร็จในชีวิตนักประพันธ์ หลายคนล้มเหลวและผิดหวังจนกระทั่งฆ่าตัวตาย แต่พวกเขาได้ทำประโยชน์ยิ่งใหญ่ต่อวงการวรรณกรรมเยอรมัน และต่อประเทศเยอรมันด้วย คือการดำรงรักษาวัฒนธรรมทางภาษาของเยอรมัน สิ่งนั้นคือวรรณคดีเยอรมันที่ยิ่งใหญ่มาแต่อดีตกาล พวกเขาใช้วรรณคดีต่อสู้กับความอยุติธรรมทางการเมือง ต่อสู้กับความโหดร้ายของผู้เผด็จการ ใช้วรรณคดีเป็นพลังเพื่อต่อสู้กับปัญหาและความยากลำบากในชีวิตลี้ภัยต่างแดน ใช้วรรณคดีเป็นความหวังเพื่อเสรีภาพ และใช้วรรณคดีเตือนให้มนุษยชาติเล็งเห็นถึงภัยอันตรายของสงคราม ชีวิตและงานของนักประพันธ์ผู้ลี้ภัยเหล่านั้นจึงมีจุดแง่มุมที่น่าสนใจและน่าศึกษา เป็นสิ่งสะท้อนให้คนรุ่นหลังเห็นถึงสภาพเหตุการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสภาพสังคมเยอรมันในสมัยนั้น รวมทั้งแนววิถีชีวิตและความรู้สึกของนักประพันธ์ผู้ลี้ภัยเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี โท-มาส และไฮนริค มันน์ สองพี่น้องนักประพันธ์ได้บรรลุถึงจุดประสงค์ใหญ่ๆของนักประพันธ์ผู้ลี้ภัยการเมืองทั้งหลาย เขาทั้งสองเป็นตัวแทนของนักประพันธ์ผู้ลี้ภัยการเมืองของเยอรมัน ซึ่งทำให้โลกประจักษ์ว่า “ที่ใดมีฉันที่นั่นมีวัฒนธรรมเยอรมัน” ชีวิตและงานในระยะลี้ภัยของสองพี่น้องตระกูลมันน์ จึงน่าสนใจควรแก่การศึกษาอย่างยิ่ง ผู้เขียนจึงได้เน้นศึกษาชีวิตและงานในระยะลี้ภัยของนักประพันธ์ทั้งสองเมื่อเปรียบเทียบและแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความรู้สึก และแนวความคิดของนักประพันธ์ที่มีต่อการเมืองการปกครอง ระบบสังคม วรรณคดี วัฒนธรรมและมนุษยชาติ วิทยานิพนธ์นี้แบ่งเป็น 3 บท บทแรกกล่าวถึงประวัติการลี้ภัยของนักประพันธ์ผู้ลี้ภัยการเมือง ปัญหาความยากลำบากในการดำรงชีวิตผู้ลี้ภัย รวมทั้งจุดมุ่งหมายของเขาเหล่านั้นในการเขียนวรรณคดีผู้ลี้ภัย บทที่สองกล่าวถึงชีวิตและงานในระยะลี้ภัยของโทมาสและไฮนริค มันน์ และบทที่สาม เป็นบทสรุป | - |
dc.description.abstractalternative | Als Hitler an der Macht war, fand die grӧßte Zerstörung der deutschen Literatur statt: die Verbrennung von Millionen Büchern. Viele bedeutende Wissenschaftler, Schriftsteller, Künstler, die die Unterdrückung der Nationalsozialisten nicht ertragen konnten, mußten Deutschland verlassen. Mit der Bücherverbrennung hat Hitler eine ganze Generation von Schriftstellern aus dem Bewußtsein des deutschen Volkes gestrichen. Die deutsche junge Generation hat von diesen Schriftstellern nichts gehört und erfahren. Obwohl die Schriftsteller, die ins Exil flohen, viele Schwierigkeiten hatten und Not litten, wollten sie nicht, daß die Bücherverbrennung durch Hitler ihr Schreiben behinderte und die ganze deutsche Literatur für immer vernichtete. Sie Schrieben weiter, in fremden Ländern, in fremden Gesellschaft und im Kreis der fremden Sprachen. Einige hatten Erfolg im Exilleben, viele andere sind aber so gescheitert, daß sie Selbstmord begingen. Aber sie haben für die deutsche Literatur und Deutschland einen großen Wert hinterlassen: die Erhaltung der deutschen sprachlichen Kultur und Tradition, die große deutsche Literatur. Sie benutzten die Literatur als ihre Waffe, um gegen die politische Ungerechtigkeit und den grausamen Diktator zu kämpfen, sie hielten die Literatur für ihre Kraft, um alle Schwierigkeiten und Not im Exil zu überwinden. Die Literatur galt für sie als Hoffnung auf Freiheit und durch ihre Literatur ging die Warnung vor der Kriegsgefahr an die Menschheit. Ihr Leben und Werk sind deswegen wichtig und interessant zu untersuchen, well sie sowohl die politische, wirtschaftliche und gesellschaftliche Situation jener Zeit als auch die Lebensweise, Gedanken und Gefühle zumindest eines Teils des deutschen Volkes widerspiegeln. Thomas und Heinrich Mann haben die Ziele der Exilschriftsteller erreicht. Sie vertraten alle deutschen Exilschriftsteller in aller Welt und haben den Wunsch erfüllt, “Wo ich bin, ist die deutsche Kultur”. Ihr Leben im Exil und ihre während jener zeit geschaffenen Werke bieten reichhaltiges Material zur Untersuchung und die Werke haben eine große Bedeutung für die deutsche Literatur. Deshalb habe ich mich darauf konzentriert, die Arbeit dieser beiden Schriftsteller als Beispiel zu erwähnen, durch die man ihre Lebensweise, Gedanken und Gefühle im Hinblick auf die Politik, die Gesellschaft. Die Literatur die Kultur und die Menschheit klar sehen kann. Die Arbeit besteht aus 3 Kapiteln. Das erste Kapitel behandelt die Geschichte des deutschen Exils, Schwierigkeiten im Exilleben und Ziele der Exilschriftsteller. Im zweiten kapitel wird das Exil-Erlebnis bei Thomas und Heinrich Mann untersucht. Das dritte kapitel ist die Schlußbetrachtung, | - |
dc.format.extent | 311461 bytes | - |
dc.format.extent | 574186 bytes | - |
dc.format.extent | 634692 bytes | - |
dc.format.extent | 244554 bytes | - |
dc.format.extent | 246906 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | de | es |
dc.publisher | Chulalongkorn University | en |
dc.rights | Chulalongkorn University | en |
dc.subject | Mann, Thomas, 1875-1955 | en |
dc.subject | Mann, Heinrich, 1871-1950 | en |
dc.subject | German literature -- History and criticism | en |
dc.title | Die Deutsche Literatur des Exils das Exil-erlebnis bei Thomas und Heinrich Mann | en |
dc.title.alternative | วรรณคดีของผู้ลี้ภัยการเมืองเยอรมัน : ชีวิตและงานในระยะลี้ภัยของโทมาสและไฮนริค มันน์ | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | Master of Arts | es |
dc.degree.level | Master's Degree | es |
dc.degree.grantor | Chulalongkorn University | en |
dc.email.advisor | No information provided | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Narudie_Ka_front.pdf | 304.16 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Narudie_Ka_ch1.pdf | 560.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Narudie_Ka_ch2.pdf | 619.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Narudie_Ka_ch3.pdf | 238.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Narudie_Ka_back.pdf | 241.12 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.