Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17768
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนพพงษ์ บุญจิตราดุลย์-
dc.contributor.authorไพบูลย์ พูลพิพัฒน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคเหนือ)-
dc.date.accessioned2012-03-11T10:29:09Z-
dc.date.available2012-03-11T10:29:09Z-
dc.date.issued2523-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17768-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาถึงบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของศึกษานิเทศก์ประจำจังหวัดในภาคเหนือ 2. เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ประจำจังหวัดในภาคเหนือ. วิธีดำเนินการวิจัย : ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 470 คน ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ประจำจังหวัด 139 คน และครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา 331 คน ซึ่งอยู่ภาคเหนือรวม 15 จังหวัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสำรวจ 2 ชุด ชุดที่หนึ่งสำหรับถามศึกษานิเทศก์ประจำจังหวัด ชุดที่สองสำหรับถามครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา แบบสำรวจทั้ง 2 ชุดมีส่วนที่เหมือนกัน 2 ตอนคือ ตอนที่ 1 เกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสำรวจ ตอนที่ 2 เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ประจำจังหวัด รวม 6 ด้านคือ การนิเทศการสอนและการบริหาร งานวิชาการ การประชุม อบรม สัมมนาครูและการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา การศึกษา ทดลอง วิจัย และพัฒนาหลักสูตร การผลิตและเผยแพร่เอกสารประกอบหลักสูตร เอกสารทางวิชาการและอุปกรณ์การสอน การประเมินผลการศึกษา และงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย แบบสำรวจสำหรับศึกษานิเทศก์ประจำจังหวัดมีตอนที่ 3 เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน แบบสำรวจทั้ง 2 ชุด มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ และแบบมาตราส่วนประเมินค่า การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามให้ตัวอย่างประชากรตอบ จำนวน 470 ฉบับ ได้รับคืนมาและใช้ได้จำนวน 349 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 74.25 แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ. สรุปผลการวิจัย : 1. สถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม ประชากรผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 2 กลุ่ม มีอายุระหว่าง 31-40 ปี มากที่สุด นอกจากนี้ทั้ง 2 กลุ่ม มีอายุราชการระหว่าง 11-15 ปี มากที่สุด และมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งในปัจจุบันระหว่าง 1-5 ปี มากที่สุด ศึกษานิเทศก์ประจำจังหวัดส่วนมากมีวุฒิตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป สำหรับครูใหญ่ส่วนมากมีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี 2. การปฏิบัติงานในหน้าที่และความรับผิดชอบของศึกษานิเทศก์ประจำจังหวัดในด้านต่าง ๆ 2.1 การนิเทศการสอนและการบริหารงานวิชาการ ครูใหญ่และศึกษานิเทศก์มีความเห็นแตกต่างกันคือ ครูใหญ่ เห็นว่าศึกษานิเทศก์ประจำจังหวัดไม่ได้ปฏิบัติงานด้านนี้เลย แต่ศึกษานิเทศก์เห็นว่า ตนได้ปฏิบัติงานในด้านนี้น้อย 2.2 การจัดประชุม อบรม สัมมนาครู และปรับปรุงส่งเสริมคุณภาพการศึกษาทั้งครูใหญ่และศึกษานิเทศก์ มีความเห็นไม่แตกต่างกันคือ เห็นว่าศึกษานิเทศก์ประจำจังหวัดได้ปฏิบัติในด้านนี้น้อย 2.3 การศึกษา ทดลอง วิจัย และพัฒนาหลักสูตร ทั้งครูใหญ่และศึกษานิเทศก์ มีความเห็นไม่แตกต่างกัน คือ เห็นว่าศึกษานิเทศก์ประจำจังหวัดได้ปฏิบัติงานในด้านนี้น้อย 2.4 การผลิตและเผยแพร่เอกสารหลักสูตร เอกสารทางวิชาการและอุปกรณ์การสอน ทั้งครูใหญ่และศึกษานิเทศก์มีความเห็นไม่แตกต่างกันคือ เห็นว่าศึกษานิเทศก์ประจำจังหวัดได้ปฏิบัติงานในด้านนี้น้อย 2.5 การประเมินผลการศึกษา ทั้งครูใหญ่และศึกษานิเทศก์มีความเห็นไม่แตกต่างกัน คือเห็นว่าศึกษานิเทศก์ประจำจังหวัดได้ปฏิบัติงานในด้านนี้น้อย 2.6 การปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย ทั้งครูใหญ่และศึกษานิเทศก์มีความเห็นไม่แตกต่างกัน คือเห็นว่าศึกษานิเทศก์ประจำจังหวัดได้ปฏิบัติงานในด้านนี้น้อย 3. ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน ศึกษานิเทศก์ประจำจังหวัดให้ความเห็นว่า มีปัญหาดังนี้ การไม่ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างเพียงพอ การไม่มีเวลาเพียงพอในการออกนิเทศ การขาดยานพาหนะในการออกนิเทศ อัตรากำลังของศึกษานิเทศก์ประจำจังหวัดมีไม่เพียงพอ การขาดวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์อย่างเพียงพอในการให้การอบรมครู การขาดแคลนวัสดุและเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำเนินงานการนิเทศ การไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควรเกี่ยวกับการประเมินผลการศึกษาจากโรงเรียนและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง-
dc.description.abstractalternativePurposes of the study : 1. To study roles and responsibilities of provincial school supervisors in the Northern region. 2. To study the problems concerning the supervisory performance of provincial school supervisors in the Northern region. Research procedures : The total population in this study included 470 persons: 139 provincial school supervisors and 331 elementary school principals in the Northern Region, consisting of 15 provinces. The instruments used in this study were questionnaires: the first for the provincial school supervisors and the second for the elementary school principals. The two questionnaires consisted of two similar parts: Status of the respondents, performance of the provincial school supervisors’ tasks in the six-area of supervisory functions and academic administration, in-service training including seminars and the enhancing the quality of education, research and curriculum development, producing and distributing supplementary educational materials, educational evaluation, and other assigned work. The questionnaire for the provincial school supervisors had another part concerning the problems in their supervisory performance. The questionnaires were constructed in the form of check lists and rating scales. A total of 470 questionnaires were distributed by mail. Of these, 349 copies or 74.25 percent, were returned. The data were then analyzed by computing the percentages of frequencies. Conclusions : 1. Status of the respondents. Most of the respondents are between 31 and 40 years old. Most of them have between 11 and 15 years of service, and have been in their present positions between 1 and 5 years. Most of the provincial school supervisors have bachelor’s degrees, but most of the elementary school principals have no degree. 2. The performance of the provincial school supervisors in the six-area tasks. 2.1 The two groups of the respondents disagreed in rating the performance of supervisory functions and academic administration. The elementary school principals said that the provincial school supervisors did not perform this function, but the supervisors rated it as “little”. 2.2 The two groups of respondents agreed in rating the performance of the supervisors in in-service training including seminars and the enhancing the quality of education as “little”. 2.3 The two groups of respondents agreed in rating the performance of the supervisors in research and curriculum development as “little”. 2.4 The two groups of respondents agreed in rating the performance of the supervisors in producing and distributing supplementary educational materials as “little”. 2.5 The two groups of respondents agreed in rating the performance of the supervisors in educational evaluation as “little”. 2.6 The two groups of respondents agreed in rating the performance of the supervisors in the assigned work as “little”. 3. Problems in supervisory performance. The provincial school supervisors indicated the problems which they found as follows: lack of budget in supporting their work; insufficient time to supervise in schools; shortage of vehicles for transportation; shortage of supervisory personnel; lack of resource persons and supervisory experts; lack of educational facilities and equipment for supervisory management; lack of cooperation in educational evaluation from schools and other concerned organization.-
dc.format.extent555962 bytes-
dc.format.extent761003 bytes-
dc.format.extent2227431 bytes-
dc.format.extent466954 bytes-
dc.format.extent3031357 bytes-
dc.format.extent986562 bytes-
dc.format.extent1135702 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectศึกษานิเทศก์en
dc.titleบทบาทของศึกษานิเทศก์ประจำจังหวัดในภาคเหนือen
dc.title.alternativeRoles of provincial school supervisors in Northern regionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNoppong.b@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paiboon_Po_front.pdf542.93 kBAdobe PDFView/Open
Paiboon_Po_ch1.pdf743.17 kBAdobe PDFView/Open
Paiboon_Po_ch2.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open
Paiboon_Po_ch3.pdf456.01 kBAdobe PDFView/Open
Paiboon_Po_ch4.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open
Paiboon_Po_ch5.pdf963.44 kBAdobe PDFView/Open
Paiboon_Po_back.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.