Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17781
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุชีพ ปุญญานุภาพ-
dc.contributor.advisorวิทย์ วิศทเวทย์-
dc.contributor.authorเพิ่ม รัฐไชย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-11T12:23:39Z-
dc.date.available2012-03-11T12:23:39Z-
dc.date.issued2522-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17781-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522en
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาหลักปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเชิงวิจารณ์ หลักคำสอนเรื่องนี้ ทำให้พุทธปรัชญามีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง โดนเฉพาะความคิดเรื่องความเป็นสาเหตุ ความคิดเรื่องนี้ ปรัชญาอินเดียส่วนมาก เช่น ภควัทคีตา, เวทานตะ เป็นต้น จะเน้นที่จิตสมบูรณ์ว่าเป็นสาเหตุพื้นฐานหรือเป็นมูลการณะของสรรพสิ่ง พุทธธรรมถือว่า สรรพสิ่งเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันมีการเกิดขึ้นตั้งอยู่ ดับไปเป็นธรรมดา อาการที่ปรากฏการณ์หนึ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป มิได้ขึ้นอยู่กับอำนาจของสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยผูกขาด แต่มันขึ้นอยู่กับอำนาจของเหตุปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ตามแนวของปฏิจจสมุปบาท ปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ ในเอกภพ ก็คือ กลุ่มของเหตุปัจจัยกลุ่มหนึ่ง ๆ นั่นเอง ในกรณีของมนุษย์ ตัวของมนุษย์เกิดขึ้นได้อย่างไร การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นไปได้อย่างไร พฤติกรรมของมนุษย์ที่เป็นไปในแนวทางนั้น ๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับอำนาจของเหตุปัจจัยหลายอย่างประกอบกันเข้า มนุษย์เป็นสิ่งประกอบ (Compounded things) เมื่อแยกแยะออกไปแล้ว ในตัวมนุษย์พบแต่รูปแบบแห่งความสัมพันธ์กันของเหตุปัจจัยตามกระบวนการของปฏิจจสมุปบาท มนุษย์ คือ กลุ่มเหตุปัจจัยหลาย ๆ รูปแบบประชุมกันเข้าแล้วเป็นไปภายใต้มโนภาพของคำว่า สังสารวัฏ ผู้เสวยทุกข์ในสังสารวัฏคือ ตัวอัตตาที่เป็นจริงในระดับสมมติสัจจ์ อัตตา ได้แก่ “ตัวฉัน” ที่เกิดจากอวิชชา อวิชชาเป็นกิเลส ตัวเด่นในสังสารวัฏ สังสารวัฏ คือ ปฏิจจสมุปบาทสายเกิด มองได้ 3 แบบ คือ แบบขณิกชาติ หมายถึง ปฏิจจสมุปบาท ในช่วงหนึ่งของพฤติกรรมของมนุษย์ แบบปัจจุบันชาติ หมายถึง ปฏิจจสมุปบาทแบบขณิกชาติหลาย ๆ รูปแบบและหลาย ๆ ช่วงตอนที่สืบเนื่องกันเป็นไปตลอดช่วงชีวิตในชาติหนึ่งของมนุษย์ แบบข้ามภพข้ามชาติ หมายถึง ความเป็นไปได้อีกของกระแสชีวิตมนุษย์หลังจากตายแล้ว โดยมีกรรม วิญญาณ ตัณหา เป็นหลักประกัน เมื่อมนุษย์ต้องการยุติชีวิตในสังสารวัฏซึ่งถือว่าเป็นทุกข์ มนุษย์จะต้องสร้างเหตุปัจจัยให้เกิดปฏิจจสมุปบาทสายดับ ความสุขความทุกข์ ความหลุดพ้นของมนุษย์ขึ้นอยู่กับการสร้างเหตุปัจจัยโดยตัวมนุษย์เอง ดังนั้น ตามทรรศนะของพุทธปรัชญา ปรากฏการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งมนุษย์จึงมิใช่ผลที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของสิ่งสมบูรณ์ แต่หากเป็นผลของกลุ่มของเหตุปัจจัยตามแนวของปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาทจึงเป็นกฎธรรมชาติซึ่งนอกจากจะใช้อธิบายปรากฏการณ์ คือ มนุษย์แล้วยังสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์อื่น ๆ ในแนวกว้างได้อีกด้วย-
dc.description.abstractalternativeThe research aims at a critical study of paticcasamuppada which is a very important teaching of Buddhism. With this teaching, Buddhist philosophy has its outstanding characteristics, especially the idea of causation. As regards this idea, most systems of Indian philosophy such as Bhagavadgita, Vedanta, etc., emphasize the absolute mind as the primary cause of all things. Buddhism believes that all things are impermanent (anicca), fluxional (dukkha) and soulless (anatta). They are subject to origination and destruction. The coming into being of a thing does not absolutely depend on the outside power, but on its own causes and conditions, According to the Law of Dependent Origination a phenomenon in the universe in merely a bundle of causes and conditions. In the case of human beings, how does a man come into being, how is his process of learning possible, how does his such and such behavior arise all these problems depend solely on the power of causes and conditions. Human beings are compounded things., When we analyse a man’s body and mind, we clearly find only the form of relations of conditions, conforming to the process of Dependent Origination. A man is a group of various type of causes and effects undergoing continuous change in the process of birth and deaths (Samsara). That which is wandering in samsara is the Self (Atta) of conventional truth (sammati-sacca). It is “myself” born from ignorance which is the most important defilement. Samsara is the uprising process of the Law of Dependent Origination. This uprising process can be viewed in 3 forms : 1. A form of Momentariness. This form means the Dependent Origination in a duration of human behavior. 2. A Form of a Present Life. This form means the Dependent Origination in many duration of human behavior that continue throughout his present life. 3. A Form of Rebirth. This form means the possibilities of life stream of human being after death conditioned by Karma, Vinnana and tanha. When a man wants to stop his process of births and deaths in samsara which is considered as the endless suffering, he must develop conditions that cause the ceasing process of the Law of Dependent Origination. This Law is the Law of nature which can be used to explain not only the nature of human beings but also all other phenomena in a wider scope.-
dc.format.extent478267 bytes-
dc.format.extent302332 bytes-
dc.format.extent460558 bytes-
dc.format.extent696585 bytes-
dc.format.extent3190607 bytes-
dc.format.extent674462 bytes-
dc.format.extent522992 bytes-
dc.format.extent415091 bytes-
dc.format.extent258728 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectปฏิจจสมุปบาทen
dc.titleการศึกษาเชิงวิจารณ์เรื่องหลักปฏิจจสมุปบาทen
dc.title.alternativeA critical study of the law of dependent originationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineปรัชญาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pherm_Ra_front.pdf467.06 kBAdobe PDFView/Open
Pherm_Ra_ch1.pdf295.25 kBAdobe PDFView/Open
Pherm_Ra_ch2.pdf449.76 kBAdobe PDFView/Open
Pherm_Ra_ch3.pdf680.26 kBAdobe PDFView/Open
Pherm_Ra_ch4.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open
Pherm_Ra_ch5.pdf658.65 kBAdobe PDFView/Open
Pherm_Ra_ch6.pdf510.73 kBAdobe PDFView/Open
Pherm_Ra_ch7.pdf405.36 kBAdobe PDFView/Open
Pherm_Ra_back.pdf252.66 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.