Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17783
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว-
dc.contributor.authorไพรัตน์ เตชาเสถียร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialยโสธร-
dc.date.accessioned2012-03-11T15:08:18Z-
dc.date.available2012-03-11T15:08:18Z-
dc.date.issued2526-
dc.identifier.isbn9745618233-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17783-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งที่จะศึกษาถึงสาเหตุที่ประชาชนในส่วนภูมิภาคของไทยไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งในอัตราที่สูงเป็นพิเศษ รวมถึงความรู้ทางการเมืองของผู้ไปใช้สิทธิฯ ความรู้สึกที่มีต่อการเมือง ปละการบริหารงานเลือกตั้ง ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ไปใช้สิทธิในอัตราสูง ในการวิจัยนี้กำหนดขอบเขตไว้เฉพาะการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2522 ในเขตอำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร โดยได้ทำการสุ่มตัวอย่างตามเป้าหมายไว้จำนวน 400 คน แต่เนื่องจากมีการย้ายที่อยู่และบางคนถึงแก่กรรม ทำให้เหลือผู้ให้การสัมภาษณ์ 231 คน นอกจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างดังกล่าว ได้ทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารงานเลือกตั้งบางคน และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบการวิเคราะห์คราวนี้ด้วย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ประชาชนไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งเนื่องจากถูกระดมมากกว่าการไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วยความสำนึกของตนเอง ในรายละเอียดพบว่าเพศหญิงมีแนวโน้มที่จะไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งโดยถูกระดมมากกว่าเพศชาย ผู้ที่มีอายุมากมีแนวโน้มที่จะไปใช้สิทธิฯ โดยถูกระดมมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย กลุ่มอาชีพอื่น (เช่นค้าขายธุรกิจ เกษตรกรรม ลูกจ้าง ฯลฯ) มีแนวโน้มที่จะไปใช้สิทธิฯ โดยถูกระดมมากกว่าผู้ที่มีอาชีพรับราชการหรือเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้ที่มีการศึกษาน้อยไปใช้สิทธิ์ฯ โดยถูกระดมมากกว่าผู้ที่มีที่มีการศึกษาสูง อนึ่ง การวิจัยพบว่าผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. และหัวคะแนนไม่ใช่ผู้มีอิทธิพลสำคัญที่สุดในการระดมประชาชนไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ผู้มีอิทธิพลสำคัญที่สุดในการระดมประชาชนไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้แก่ กำนันผู้ใหญ่บ้าน อย่างไรก็ดีผู้สมัครฯ และหัวคะแนนก็ “มีส่วน” ทำให้ประชาชนไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง วิธีการหาเสียงของผู้สมัครและหัวคะแนนที่ใช้มากที่สุดคือการขอร้องให้สงสารและถัดมาคือการช่วยสร้างซ่อมแซมหรือให้เงินสร้างซ่อมแซมสิ่งสาธารณะภายในหมู่บ้าน 2. ความรู้ทางการเมืองของผู้ไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับความรู้ทางการเมืองโดยเฉลี่ยทั่วประเทศ นอกจากนี้การวิจัยยังพบว่าเพศชาย มีความรู้ทางการเมืองมากกว่าเพศหญิง ผู้มีอายุน้อยมีความรู้ทางการเมืองมากกว่าผู้ที่มีอายุมาก ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตสุขาภิบาลมีความรู้ทางการเมืองมากกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในชนบท และผู้ที่มีการศึกษาสูงมีความรู้ทางการเมืองมากกว่าผู้ที่มีการศึกษาน้อย 3.ราษฎรที่ไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งมีความรู้สึกที่ดีต่อการเมืองในระดับปานกลางค่อนข้างสูง นอกจากนี้การวิจัยยังพบว่า เพศ อายุ และการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกที่ดีต่อการเมือง แต่ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตสุขาภิบาลมีความรู้สึกที่ดีต่อการเมืองมากกว่าผู้ที่อาศัยอยู่นอกเขตสุขาภิบาล ผู้ที่มีอาชีพค้าขายธุรกิจมีความรู้สึกที่ดีต่อการเมืองมากกว่าผู้ที่มีอาชีพอื่น อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ที่มีอาชีพค้าขายธุรกิจและผู้มีอาชีพเกษตรกรรมมีความรู้สึกที่ดีต่อการเมืองมากกว่าผู้ที่มีอาชีพรับราชการหรือเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ 4. อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร มีการบริหารงานเลือกตั้งที่เหมาะสม โดยได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน บัญชีรายชื่อผู้มีออกเสียงเลือกตั้งอย่างรัดกุม นอกจากอาศัยให้กำนันผู้ใหญ่บ้านจูงใจให้ประชาชนไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งแล้ว ในหมู่บ้านหนึ่งผู้ใหญ่บ้านยังได้แต่งตั้ง “กรรมการเพื่อการเลือกตั้ง” ขึ้นในอัตรา 10 ครัวเรือนต่อหนึ่งคน กรรมการเหล่านี้จะคอยช่วยเหลือผู้ใหญ่บ้านในการระดมให้ประชาชนไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this thesis is to determine why the voting turnouts of certain districts of Thailand are extremely high. Along with the survey, their political knowledge and political attitudes, and the administration of the election were also carefully investigated. The scope of the research was limited to Paatew District of Yasothon Province in the general election of 1979. The sample list was composed of 400 voters, selected by systematic sampling techniques. However, only 231 voters were available for interviews. The other 169 voters specified in the sampling list had either changed their residence or passed away. The data were derived from the interviews and related election documents. The findings are as follows: 1. People voted because they were “mobilized” than for “autonomous” reasons. In addition, the research showed that the candidates and the candidates persuaders (Hua Khanaen) are not the most influential in mobilizing the people to vote. Instead, the village headmen and Tambol headmen were the most influential in motivating people to vote. The candidates’ persuaders (Hua Khanaen) have partially accounted for the mobilization. The methods which the candidates and their persuaders used to mobilize people primarily consist of speeches by or on behalf of the candidate and promises to provide funds for village development. 2. In general, the political knowledge of voters was generally low, lower than the rational average. Besides, this research found that men in general had more political knowledge than women. Younger voters showed more political knowledge than older ones. People living in sanitary districts (Sukhapipan) showed more political knowledge than those living outside sanitary district areas. and the higher educated voters showed more political knowledge than the lower ones. In this study we found that voters in the sanitary districts were more optimistic about the Thai politics than those outside. Differenced in residence and occupation rather than in sex, age and educational backgrounds account for this difference in optimism. Notably, voters in public services and public enterprises were less of optimistic than were farmers and businessmen. 3. Paatew voting administration was found to be one of the factors “mobilizing” people to vote. The voting administration in Paatew was well prepared, and efficiently administered, especially in regard to the preparation of household registers and lists of eligible voters. In addition, task forces responsible for ensuring that eligible voters went to vote were set up in each village by the village headmen.-
dc.format.extent569643 bytes-
dc.format.extent705148 bytes-
dc.format.extent989920 bytes-
dc.format.extent480771 bytes-
dc.format.extent1563515 bytes-
dc.format.extent381590 bytes-
dc.format.extent1052237 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการเลือกตั้งen
dc.subjectการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองen
dc.subjectการลงคะแนนเสียงen
dc.subjectการเลือกตั้งen
dc.subjectป่าติ้ว (ยโสธร) -- การเมืองและการปกครองen
dc.subjectยโสธรen
dc.titleการออกเสียงเลือกตั้งในอำเภอป่าติ้ว : ศึกษากรณีการไปออกเสียงเลือกตั้งในอัตราสูงen
dc.title.alternativeVoting in Paatew diatrict : a study of high voting turnouten
dc.typeThesises
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการปกครองes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pirutn_Te_front.pdf556.29 kBAdobe PDFView/Open
Pirutn_Te_ch1.pdf688.62 kBAdobe PDFView/Open
Pirutn_Te_ch2.pdf966.72 kBAdobe PDFView/Open
Pirutn_Te_ch3.pdf469.5 kBAdobe PDFView/Open
Pirutn_Te_ch4.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
Pirutn_Te_ch5.pdf372.65 kBAdobe PDFView/Open
Pirutn_Te_back.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.