Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17786
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ | - |
dc.contributor.author | วิชัย ฤกษ์สำราญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.coverage.spatial | ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-11T15:24:42Z | - |
dc.date.available | 2012-03-11T15:24:42Z | - |
dc.date.issued | 2520 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17786 | - |
dc.description | านิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาโครงสร้างของระบบบริหารภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2. เพื่อศึกษางานบริหารภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในด้านความสัมพันธ์กับชุมชน งานวิชาการ งานบุคคล งานกิจการนักเรียน และงานธุรการ การเงิน บริการ และอื่น ๆ ประเภทเดียวกัน 3. เพื่อทราบปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของระบบบริหารภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และปัญหางานบริหารการศึกษาทั้ง 5 ประเภทในโรงเรียนดังกล่าว วิธีดำเนินการวิจัยประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 16 จังหวัด ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยเลือกมาร้อยละ 20 ของจำนวนจังหวัดในภาคนี้ ได้มา 3 จังหวัด ใช้โรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 จังหวัด มาเป็นประชากรในการวิจัย รวมทั้งสิ้น 10 โรงเรียน ดำเนินการวิจัยโดยใช้เทคนิคการสังเกต การสัมภาษณ์ และการตอบแบบสอบถามซึ่งสร้างขึ้นครอบคลุมงานบริหารการศึกษา 5 ประเภท สำหรับกลุ่มผู้บริหาร กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มประชาชน นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าร้อยละ เสนอในรูปตารางเปรียบเทียบและอธิบายประกอบ ผลการวิจัย 1. โครงสร้างของระบบบริหารภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่ยึดหลักการจัดโรงเรียนแบบสายบังคับบัญชา (Hierarchy) โดยมีโครงสร้างเป็นสายบังคับบัญชาสายเดียว (The Line For a of Structure) 2. เกี่ยวกับงานบริหารการศึกษาทั้ง 5 ประเภท พบว่า 2.1 กลุ่มผู้บริหารเห็นว่า งานที่โรงเรียนได้ปฏิบัติมาก เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ งานวิชาการ งานบุคคล งานธุรการ การเงิน งานกิจการนักเรียน และงานความสัมพันธ์กับชุมชน 2.2 กลุ่มนักวิชาการเห็นว่า งานที่โรงเรียนได้ปฏิบัติมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ งานบุคคล งานวิชาการ งานกิจการนักเรียน งานธุรการการเงิน และงานความสัมพันธ์กับชุมชน 2.3 กลุ่มประชาชนเห็นว่า งานที่โรงเรียนได้ปฏิบัติมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ งานบุคคล งานกิจการนักเรียน งานวิชาการ งานธุรการการเงิน และงานความสัมพันธ์กับชุมชน 2.4 เมื่อพิจารณาความเห็นโดยส่วนรวมของประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มแล้ว เห็นว่า งานที่โรงเรียนได้ปฏิบัติมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ งานวิชาการ งานบุคคล งานกิจการนักเรียน งานธุรการ การเงิน และงานความสัมพันธ์กับชุมชน 3. ในด้านปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของระบบบริหารภายในโรงเรียนและปัญหาในการบริหารงานการศึกษาทั้ง 5 ประเภท ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ทุกโรงเรียนมีปัญหาคล้ายคลึงกัน ผู้วิจัยได้เสนอแนะให้กรมสามัญศึกษาได้มีการจัดโครงสร้างของระบบบริหารภายในโรงเรียนขึ้นใหม่ เพื่อเป็นแนวทางให้โรงเรียนนำไปปฏิบัติ นอกจากนี้ ยังได้เสนอแนะให้โรงเรียนสนใจปรับปรุงงานบริหารการศึกษาทั้ง 5 ประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารงานความสัมพันธ์กับชุมชน สำหรับการวิจัยครั้งต่อไป ควรจะได้ศึกษางานแต่ละประเภทโดยละเอียด เพื่อผู้บริหารการศึกษาทุกระดับจะได้นำไปปรับปรุงในการดำเนินงานบริหารการศึกษาได้ถูกจุดยิ่งขึ้นต่อไป | - |
dc.description.abstractalternative | Purposes 1. To study the organization of administrative structure in the Elementary Schools under the jurisdiction of the Department of General Education in the North Eastern Region of Thailand. 2. To study the educational administrative tasks in such schools, especially in school community relations, academic affairs, personnel management, student activities, and school finance and business management. 3. To study the organization problems of the administrative structure and the problems of the administrative tasks of the elementary schools. Procedures The sample of 48 administrators, 320 teachers and 100 parents and people were drawn out from 10 elementary schools in North Eastern Region of Thailand by simple random sampling. The investigator collected the rating scale questionnaires which the 3 sample groups of the population had checked and analyzed the collected data by using percentage. Interview and observation techniques were used to support the analysis. Tables and explanation were used in presenting the analyzed data. Findings 1. The organization of administrative structure in the elementary schools which under the jurisdiction of the Department of General Education in the North Eastern Regtion of Thailand was similar. Most of them hold the hierarchy system with the line form of structure. 2. The conclusion of the administrative tasks were:- 2.1 According to the administrator opinion, the tasks in which the schools practiced a great deal were academic affairs, personnel management, school finance and business management, student activities, and school community relations respectively. 2.2 According to the teacher opinion, the tasks in which the schools practiced a great deal were personnel management, academic affairs, student activities, school finance and business management, and school community relations respectively. 2.3 According to the parental opinion, the tasks in which the schools practiced a great deal were personnel management, student activities, academic affairs, school finance and business management, and school community relations respectively. 2.4 The concluded opinion of the 3 groups of the population about the tasks in which the school practiced a great deal were academic affairs, personnel management, student activities, school finance and business management, and school community relations respectively. 3. Every school faced the similar problems about the administrative structure and administrative tasks. The investigator recommended the Department of General Education to study the administrative structure of any school to be the practical guideline for the elementary schools. The school should improve the administrative tasks especially in school community relation. The in-depth study in each task were recommended to further investigation which the education administrators should use the result of the study to improve the educational administration. | - |
dc.format.extent | 612732 bytes | - |
dc.format.extent | 742632 bytes | - |
dc.format.extent | 1475829 bytes | - |
dc.format.extent | 449142 bytes | - |
dc.format.extent | 3358685 bytes | - |
dc.format.extent | 1402383 bytes | - |
dc.format.extent | 1538255 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร | en |
dc.subject | การบริหารการศึกษา | en |
dc.title | งานบริหารการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | en |
dc.title.alternative | The educational administrative tasks of elementary schools of general education department in Thailand North Eastern region | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Noppong.b@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vichai_Rc_front.pdf | 598.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichai_Rc_ch1.pdf | 725.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichai_Rc_ch2.pdf | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichai_Rc_ch3.pdf | 438.62 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichai_Rc_ch4.pdf | 3.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichai_Rc_ch5.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichai_Rc_back.pdf | 1.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.