Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17787
Title: การบริหารการค้าต่างประเทศ ของกระทรวงพาณิชย์
Other Titles: Foreign trade administration of the ministry of commerce
Authors: วิทูร ตุลยานนท์
Advisors: ประชุม โฉมฉาย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: กระทรวงพาณิชย์ -- การบริหาร
การค้าระหว่างประเทศ
พาณิชยกรรม
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของการค้าต่างประเทศของประเทศไทยนั้น ผู้เขียนได้แยกการศึกษาออกเป็น 3 ช่วง คือ สมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยสรุปได้ว่าการค้าต่างประเทศในสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1762-1921) ส่วนใหญ่เป็นการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน มลายู พม่า และลาว ลักษณะการค้าเป็นการค้าแบบเสรี สมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893-2310) เป็นระยะที่ประเทศในยุโรปเริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายกับประเทศไทย และมีการเก็บภาษีสินค้าขาเข้าในสมัยนี้ สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2310-2463) ในระยะ 50 ปีแรกของสมัยนี้ การค้าต่างประเทศของประเทศไทยซบเซาลง เนื่องจากเกิดสงครามในทวีปยุโรป และประเทศไทยก็มีสงครามกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นการค้าส่วนใหญ่จึงเป็นการค้ากับประเทศจีน แต่นับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2360 เป็นต้นมา การค้าต่างประเทศของประเทศไทยได้เริ่มขยายตัวอีก เหตุการณ์สำคัญในสมัยนี้คือ มีการเก็บภาษีทั้งสินค้าเข้าและออก และมีการควบคุมการนำสินค้าเข้าและส่งออกด้วย หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการบริหารการค้าต่างประเทศของประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2463 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับหน่วยงานขึ้นตรงต่อกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งปฏิบัติงานทางด้านการบริหารการค้าต่างประเทศ ได้แก่ 1. กรมการค้าต่างประเทศ ทำหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติทางด้านการบริหารการค้าต่างประเทศ 2. กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายวิชาการทางด้านการบริหารการค้าต่างประเทศ 3. กรมพาณิชย์สัมพันธ์ ทำหน้าที่เป็นผู้โฆษณาเผยแพร่สินค้าไทยในต่างประเทศ 4. สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของกระทรวงพาณิชย์ในต่างประเทศ และประสานการติดต่อระหว่างพ่อค้าไทยกับพ่อค้าในต่างประเทศ การบริหารการค้าต่างประเทศของกระทรวงพาณิชย์ในปัจจุบัน แยกงานออกได้เป็น 8 ลักษณะคือ 1. การศึกษาวิจัย 2. การแก้ไขดุลการค้า 3. การส่งเสริมสินค้าออก 4. การควบคุมการนำสินค้าออก 5. การควบคุมการนำสินค้าเข้า 6. การขนส่งสินค้าทางเรือ 7. การส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้ากับต่างประเทศ 8. การเผยแพร่สินค้าไทยในต่างประเทศ ผู้เขียนได้ตั้งสมมติฐานในการเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ว่า การบริหารการค้าต่างประเทศของกระทรวงพาณิชย์จะเป็นเครื่องส่งเสริมการค้าต่างประเทศของประเทศไทยหรือไม่ โดยใช้วิธีทำการวิจัยแบบค้นคว้าจากหลักฐานเอกสารต่าง ๆ และการสอบถามสัมภาษณ์บุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วนำข้อมูลที่ได้รับมาทำการวิจัยวิจารณ์ถึงข้อดีและข้อเสียของการบริหารการค้าต่างประเทศในงานแต่ละลักษณะดังกล่าว วิทยานิพนธ์เรื่องนี้สรุปได้ว่า งานการบริหารการค้าต่างประเทศของกระทรวงพาณิชย์ โดยส่วนใหญ่มิได้เป็นอุปสรรคต่อการค้าต่างประเทศของประเทศไทย แต่ช่วยส่งเสริมให้การค้าต่างประเทศของประเทศไทยขยายตัวและดำเนินไปด้วยความรัดกุมมากยิ่งขึ้น ยกเว้นงาน 2 ลักษณะซึ่งได้แก่การควบคุมการนำสินค้าออกและการควบคุมการนำสินค้าเข้า งานทั้ง 2 ลักษณะนี้กล่าวได้ว่าเป็นอุปสรรคต่อการค้าต่างประเทศของประเทศไทย แต่อุปสรรคดังกล่าวได้ก่อให้เกิดประโยชน์ส่วนร่วมแก่ประเทศไทยในด้านเศรษฐกิจ สวัสดิภาพ และความมั่นคงของประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม การบริหารการค้าต่างประเทศของกระทรวงพาณิชย์ยังมิได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ในด้านการแก้ไขปัญหาดุลการค้าขาดดุล ซึ่งกระทรงพาณิชย์ยังจะต้องดำเนินการร่วมมือกับสถาบันของรัฐบาลและเอกชนต่อไป เพื่อให้ดุลการค้าของประเทศไทยเข้าสู่ดุลภาพในที่สุด
Other Abstract: At the beginning of this thesis on Foreign Trade Administration of the Ministry of Commerce, there is a study of the history of Thailand’s foreign trade which is divided into three periods: Sukhothai, Sri Ayudhaya, and Thonburi-early Ratanakosin periods. It concludes that foreign trade in the Sukhothai period (A.D. 1350-1767), European countries commenced to have trade relationships with Thailand and import duties were re-imposed after their abolition by King Ram Khamhaeng in the early Sukhothai period. In the Thonburi-early Ratanakosin period (A.D. 1767-1920), foreign trade during the first five decades suffered a serious decline because of wars both in Europe and the Golden Peninsula; trade was then conducted mainly with China, and from A.D. 1817 expansion resumed. Some important features of the Thonburi-early Ratanakosin period consisted in the imposition of import-export duties and also import-export control. At present, the organization which is directly responsible for Thailand’s foreign trade administration is the Ministry of Commerce. Established by King Rama VI on August 20, A.D. 1820, the Ministry comprises four following sub-divisions to undertake foreign trade administration: 1. The Department of Foreign Trade which acts as a routine operator on foreign trade administration; 2. The Department of Business Economics which provides technical expertise on foreign trade administration; 3. The Department of Commercial Relations which serves as promoter and advertiser of Thai products in foreign countries; and 4. The Offices of Commercial Attaches which act as the Ministry of Commerce’s representatives in foreign countries and also as intermediaries between Thai and foreign traders. The present foreign trade administration of the Ministry of Commerce has the following main aspects: 1.Research and study 2.Trade gap solving 3. Export promotion 4. Export control 5. Import control 6. Sea cargo transportation 7. Promoting commercial relations with foreign countries, and 8. Advertising Thai products in foreign countries.The author sets out to test the hypothesis that foreign trade administration of the Ministry of Commerce is a positive factor in the promotion of the country’s foreign trade. Research has been carried out by means of documentary and library research as well as by the interviewing of well-informed persons. Information obtained from the research has been analyzed and a critical look has been taken at the favorable and unfavorable aspects of the ministry’s foreign trade administration. The study indicates that most aspects of the ministry’s foreign trade administration do not obstruct Thailand’s foreign trade; on the contrary they play an important part in the expansion and efficiency of the country’s foreign trade. Only two aspects, the export and import controls can apparently be considered as obstacles, but such controls are in fact highly beneficial to Thailand’s economy, welfare, and stability. However, the ministry’s foreign trade administration still has not achieved its objective of solving the balance of trade problem. Since Thailand is faced with a recurring trade deficit, the Ministry of Commerce must take further steps in order to bring Thailand’s balance of trade into equilibrium as soon as possible.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พาณิชยศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17787
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vithun_Tu_front.pdf643.43 kBAdobe PDFView/Open
Vithun_Tu_ch1.pdf654.86 kBAdobe PDFView/Open
Vithun_Tu_ch2.pdf726.21 kBAdobe PDFView/Open
Vithun_Tu_ch3.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open
Vithun_Tu_ch4.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
Vithun_Tu_ch5.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Vithun_Tu_ch6.pdf826.99 kBAdobe PDFView/Open
Vithun_Tu_back.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.