Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17802
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นพรัตน์ ผลาพิบูลย์ | - |
dc.contributor.author | วิจิตร เทพบริรักษ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-12T13:59:50Z | - |
dc.date.available | 2012-03-12T13:59:50Z | - |
dc.date.issued | 2519 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17802 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อประมวลข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการในเรื่องอาหารและโภชนาการ และโภชนาการการศึกษาในประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างของหลักสูตรวิชาอาหารและโภชนาการศึกษาในระดับประถมศึกษาของประเทศไทย 3. เสนอแนะแบบจำลองหลักสูตรอาหารและโภชนาการศึกษาระดับประถมศึกษาสำหรับประเทศไทย วิธีดำเนินการวิจัย 1. ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย 1.1 ข้อมูลจากผลงานการศึกษา สำรวจที่เป็นรายงาน การเขียน และข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และสนใจงานด้านอาหารและโภชนาการ และโภชนาการศึกษา 1.2 หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2503 และร่างหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2520 2. วิธีการรวบรวมข้อมูลและดำเนินการวิจัย 2.1 รวบรวมข้อมูลที่เป็นสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในเรื่องอาหารและโภชนาการ และอาหารและโภชนาการศึกษาจากเอกสารทางราชการ วารสารรายงาน ตำราเรียน ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ และวิทยานิพนธ์ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ 2.2 ศึกษาหลักสูตรวิชาอาหารและโภชนาการศึกษาจากหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2503 และร่างหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2520 2.3 รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษา สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในเรื่องอาหารและโภชนาการ ความรู้ในเรื่องหลักสูตรและแนวคิดของผู้วิจัย แล้วเสนอแนะเป็นแบบจำลองหลักสูตรอาหารและโภชนาการศึกษาระดับประถมศึกษา สรุปผลการวิจัย ผลการทำวิจัยครั้งนี้พอสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการทางด้านอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ปัญหาทางด้านอาหารและโภชนาการเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศไทย ปัญหานี้มีสาเหตุร่วมกันหลายประการ การแก้ไขปัญหานี้ต้องการความร่วมมือหลายๆ ฝ่าย และลงมือกระทำไปพร้อมๆ กัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานนี้คือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ และองค์การต่างประเทศ ปัญหาทางด้านอาหารและโภชนาการที่สำคัญคือ ทุพโภชนาการ (Malnutrition) ซึ่งเกิดในบุคคลกลุ่มต่างๆ เช่น เด็กวัยก่อนเข้าเรียน เด็กนักเรียน หญิงมีครรภ์และหญิงแม่ลูกอ่อน สาเหตุของทุพโภชนาการนั้นมีด้วยกันหลายสาเหตุ เช่น แนวโน้มการผลิตอาหาร แนวโน้มการเพิ่มจำนวนประชากร ความต้องการอาหารเพื่อบริโภคของคนไทยบริการที่ได้จากหน่วยสาธารณสุข แต่ถ้ากล่าวโดยสรุปคือ “การไม่มีอาหารบริโภค” และ “การไม่รู้จักบริโภคอาหารที่มีอยู่” หรือ “การขาดแคลนอาหาร” และ “การขาดความรู้ทางอาหารและโภชนาการ” การแก้ปัญหาเรื่องนี้ สำหรับทางด้านการศึกษาคือ การให้ความรู้ทางอาหารโภชนาการการศึกษา กับผู้เรียนทั้งในโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน 2. สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการจัดหลักสูตรวิชาอาหารและโภชนาการศึกษา หลักสูตรวิชาอาหารและโภชนาการศึกษาได้ถูกนำเข้าไปบรรจุไว้ในหลักสูตรระดับประถมศึกษา พุทธศักราช 2503 จากสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาข้อมูลในการทำวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า หลักสูตรควรจะมีการปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันทั้งในด้านเนื้อหาและวิธีการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดหลักสูตรระดับประถมศึกษาในแนวใหม่ ซึ่งอย่างน้อยก็ควรจะสามารถมีส่วนร่วมช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดังนี้ 1) ป้องกันทุพโภชนาการ อันเนื่องมาจากสาเหตุของการบกพร่องสารโปรตีนแรงงาน เกลือแร่ หรือสารวิตามินต่างๆ 2) ส่งเสริม พัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจของเด็กแต่ละบุคคลด้วยวิธีการจัดโปรแกรมการเลี้ยงอาหารนักเรียน 3) สร้างเสริม และปลูกฝังทัศนคติ และนิสัยในเรื่องอาหาร-โภชนาการและพัฒนาทักษะในเรื่องการผลิต การเลือกซื้อ การเตรียม การปรุง การถนอมอาหารและการบริโภคอาหารด้วยวิธีการอย่างฉลาด ประหยัด คุ้มค่าของเงินที่เสียไป และถูกต้องตามหลักทางโภชนาการ 3. การศึกษาหลักสูตรอาหารและโภชนาการศึกษาในระดับประถมศึกษาลักษณะและโครงสร้างของหลักสูตรวิชาอาหารและโภชนาการศึกษาในระดับประถมศึกษาที่ได้จากข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ พบว่าหลักสูตรๆ มีลักษณะและโครงสร้างแตกต่างกันคือ 3.1 หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2503 เนื้อหาสาระสำคัญของหลักสูตรวิชาอาหารและโภชนาการศึกษาที่มีอยู่ในหลักสูตรฉบับนี้แบ่งได้เป็น 2 ตอนคือ ตอนที่ 1 ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-4 ตอนที่ 2 ระดับประถมปีที่ 5-7 3.1.1 หลักสูตรวิชาอาหารและโภชนาการศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 หลักสูตรในระดับนี้จัดเนื้อหาวิชาอาหารและโภชนาการอยู่กับวิชาสุขศึกษาในหมวดวิชาพลานามัย และในวิชาวิทยาศาสตร์เบื้องต้น 3.1.2 หลักสูตรวิชาอาหารและโภชนาการศึกษาในชั้นประถมปีที่ 5-7 หลักสูตรในระดับนี้จัดเนื้อหาวิชาอาหารและโภชนาการอยู่ในวิชาต่างๆ ดังนี้ (ก) สุขศึกษา (ข) ศิลปและหัตถกรรมศึกษา (ค) คหกรรมศาสตร์ 3.2 ร่างหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2520 หลักสูตรระดับนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคือ เหลือเวลาเรียน 6 ปี (หลักสูตรเดิมคือ หลักสูตรฯ ฉบับ พ.ศ. 2503 มีเวลาเรียน 7 ปี) นอกจากนี้มีการจัดวิชาเป็น 4 กลุ่ม (หลักสูตรเดิมมีการแบ่งวิชาเป็น 7 หมวดในชั้นประถมศึกษาตอนต้นและ 8 หมวดวิชาในชั้นประถมตอนปลาย) เรื่องอาหารและโภชนาการตามร่างหลักสูตรใหม่นี้ถูกนำเข้าไปร่วมอยู่ในกลุ่มวิชาต่างๆ ในลักษณะ “หน่วยวิชา” เช่น รวมอยู่กับกลุ่มวิชาสร้างเสริมลักษณะนิสัย และกลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต 4. แบบจำลองหลักสูตรวิชาอาหารและโภชนาการศึกษาระดับประถมศึกษาสำหรับประเทศไทย แบบจำลองหลักสูตรวิชาอาหารและโภชนาการศึกษาระดับประถมศึกษาตามแนวคิดของผู้วิจัยมีลักษณะดังนี้ 4.1 เนื้อหาสาระสำคัญที่บรรจุไว้ในหลักสูตรแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ประถมศึกษาปีที่ 1-2 ส่วนที่ 2 ประถมศึกษาปีที่ 3-4 ส่วนที่ 3 ประถมศึกษาปีที่ 5-6 4.2 โครงสร้างของหลักสูตรจำลองประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ประการคือ สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ จุดมุ่งหมาย (จุดมุ่งหมายทั่วไป และจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม) ความคิดรวบยอด เนื้อหากิจกรรมและประสบการณ์ของผู้เรียน และการวัดและประเมินผล 4.3 การนำหลักสูตรไปใช้ ใช้วิธีกระจายเรื่องอาหารและโภชนาการซึ่งบรรจุไว้ในหลักสูตรที่ได้จำลองขึ้นเข้าไปในหลักสูตรประถมศึกษาใหม่ | - |
dc.description.abstractalternative | The Purposes of the Study 1. To collect data dealing with food and nutrition and Nutrition Education in Thailand. 2. To study the curriculum of Food and Nutrition Education Development at the Elementary Level in Thailand. 3. To Propose a Model for the Curriculum of Food and Nutrition. Education at the Elementary Education Level. Research Procedures 1. Background Information. 1.1 Data on Food and Nutrition and Nutrition Education. 1.2. The Elementary School Curriculum (1960) and The new Elementary School Curriculum (1977). 2. Method and Procedures. 2.1 Basic data were collected from documents including: previous research reports; periodicals and official-documents: thesis; recommendation materials and references. 2.2 Review of literature concerning the Food and Nutrition Curriculum for Elementary Education Level in Thailand. 2.3 Proposal of a curriculum model of Food and Nutrition Education at the Elementary Education Level. Major Findings The Research results could be summerized as follows: 1. The Food and Nutrition Problems. It is widely believed that in developing countries food and nutrition is the importance factor in the development of the country. These problems are due to many factors and need cooperation from many government officials and other agencies to solve. Unquestionably, malnutrition exists in Thailand. Although the problem of malnutrition is not as severe as in some other countries but in Thailand nutritional deficiency diseases are wide spread due to lack of a variety of essential nutrients in diet which created many important problems, such as public health, food production and population, economic and social development problems. These types of malnutrition and nutritional deficiency diseases exist among many groups of the population: pre-school children, school children, pregnant women and lactating women. Food and Nutrition Education is recognized as an important mean of changing food habits and way of living to improve the nutrition of population groups. It's success depends upon the approaches adopted to influence people in homes, schools and communities. 2. The Problem of Food and Nutrition Education. In 1960, Food and Nutrition Education was introduced into the Elementary School curriculum. There are various reasons for developing a sound programme of food and nutrition education in the elementary school for the following purposes: 1) Prevention, of malnutrition caused by deficiency of protein, calories, vitamins or minerals. 2) Promotion of the harmonious physical and mental development of individuals through the school feeding programme. 3) Formation of good food habits and development of skills in the production, selection, preparation, and preservation of food. 3. Review of the new curriculum for elementary schools 3.1 The Elementary School Curriculum (1960). The syllabus is devided into two parts: the first part from grades 1 to 4 and the second part from grades 5-7. 3.1.1 Food and Nutrition Education in Grade 1 to 4 is included mainly in Health Education and Elementary Science. 3.1.2 Food and Nutrition Education in Grade 5 to 7 is included in (a) Health Studies (b) Crafts and (c) under the Home Economics Course. 3.2 The new Elementary School Curriculum (1977). There are 6 grades in the new Elementary School. Curriculum. The content of Elementary School Curriculum is devided into 4 groups. Some topics on food and Nutrition are introduced in the curriculum as a unit of food and nutrition. 4. A proposed model for the curriculum of Food and Nutrition Education at the Elementary Education Level. 4.1 The syllabus is devided into three parts: Part I : grade 1 to 2; Part II : grades 3 to 4; and Part III: grades 5 to 6. 4.2 The five major areas of the proposed model are: 1) The food and nutrition problems; 2) Objectives (both general and behavioral); 3) Concepts; 4) Contents, activities and experiences; and 5) Measurement and Evaluation. 4.3 The proposed model is integrated into the new Elementary School Curriculum. | - |
dc.format.extent | 484524 bytes | - |
dc.format.extent | 1030559 bytes | - |
dc.format.extent | 4884787 bytes | - |
dc.format.extent | 702034 bytes | - |
dc.format.extent | 785111 bytes | - |
dc.format.extent | 675129 bytes | - |
dc.format.extent | 616950 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โภชนาการ -- หลักสูตร | en |
dc.title | แบบจำลองหลักสูตรอาหารและโภชนาการศึกษา ระดับประถมศึกษา | en |
dc.title.alternative | A model for the curriculum of food and nutrition education at the3 elementary education level | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vichitr_Th_front.pdf | 473.17 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichitr_Th_ch1.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichitr_Th_ch2.pdf | 4.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichitr_Th_ch3.pdf | 685.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichitr_Th_ch4.pdf | 766.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichitr_Th_ch5.pdf | 659.31 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichitr_Th_back.pdf | 602.49 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.