Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17815
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศักดิ์ชัย คิรินทร์ภาณุ-
dc.contributor.authorพรทิพย์ เสนีวรรณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานคร-
dc.date.accessioned2012-03-12T14:59:35Z-
dc.date.available2012-03-12T14:59:35Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17815-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการศึกษามีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาวิวัฒนาการของพื้นที่และผู้ประกอบการตลอดจนรูปแบบของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 2) ศึกษาถึงสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของย่านการค้าพาหุรัดสามารถดำรงอยู่ 3) ศึกษาความสัมพันธ์เชื่อมโยงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในย่านการค้าพาหุรัดกับพื้นที่ย่านพาณิชยกรรมอื่นๆบริเวณ โดยรอบ 4) ศึกษาศักยภาพความได้เปรียบในเชิงกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ข้อจำกัด ตลอดจนเสนอแนะแนว ทางการปรับปรุงและพัฒนา วิธีการศึกษาการสุ่มกลุ่มตัวอย่างของผู้เข้ามาใช้บริการ และผู้ประกอบการใช้การสุ่ม แบบหลายขั้น (Multi-stage sampling) จำนวนแบบสอบถามจากกลุ่มผู้ซื้อจำนวน 400 ราย ผู้ประกอบการจำนวน 120 ราย ผลการศึกษา พบว่าย่านการค้าพาหุรัดมีลักษณะกระจุกตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจประเภทผ้าตั้งแต่อดีต พัฒนาการของย่านเริ่มจากการเป็นที่พักอาศัยของชาวญวณ จนกลายเป็นพื้นที่พาณิชยกรรมสำคัญของชาวซิกข์ใน สมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังการตัดถนนพาหุรัด ย่านจึงเป็นที่รู้จักของในนามของลิตเติ้ลอินเดีย ซึ่งปัจจุบันย่านการค้า พาหุรัดเข้าสู่ช่วงฟื้นฟู (Recovery) จึงเกิดกลไกการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด โดยอาศัยการปรับตัวทางเศรษฐกิจจน ย่านกลายเป็นตลาดค้าผ้าที่มีเอกลักษณ์ คือมีความพิเศษและจำหน่ายที่นี่เท่านั้น เพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าเฉพาะ กลุ่ม (Niche Market) จึงนำไปสู่การปรับตัวด้านอื่นๆเพื่อให้สอดรับกับการปรับตัวทางเศรษฐกิจ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำรงบทบาทด้านพาณิชยกรรม ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์ เพราะถนนพาหุรัดเป็นถนนพระราชทานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 2) ชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมานาน เนื่องจาก เป็นพื้นที่พาณิชยกรรมเก่าแก่สำคัญของเมือง 3) สภาพที่ตั้ง มีความสะดวกการเข้าถึงโดยใช้สะพานพระปกเกล้าฯ เชื่อมต่อมายังถนนจักรเพชร และสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯเชื่อมมายังถนนตรีเพชรเป็นถนนสายหลักที่เข้ามาสู่ย่าน ลักษณะของย่านที่มีซอยเป็นจุดเชื่อมพื้นที่ในแต่ละโซนและบริการสาธารณะบริเวณโดยรอบที่อำนวยความสะดวก แก่ผู้เข้ามาใช้บริการ 4) การปรับตัวทางกายภาพ คือลักษณะของการใช้ประโยชน์อาคารโดยใช้พื้นที่ด้านหน้าและ ด้านหลังของอาคารเพื่อจำหน่ายสินค้า การปรับรูปแบบการแสดงสินค้าให้สวยงามและน่าสนใจ 5) การปรับตัวทาง เศรษฐกิจ คือการปรับรูปแบบของการจำหน่าย การปรับตัวจากรูปแบบการขายตรงเปลี่ยนมาเป็นการจำหน่ายหน้า ร้าน ตลอดจนการจำหน่ายทางเวปไซด์ สินค้ามีความเป็นเอกลักษณ์ของรูปแบบเละการออกแบบ ได้แก่ ผ้าส่าหรี ผ้าม่าน ผ้าลูกไม้ และผ้าใช้ในงานแสดงที่นำไปใช้ตัดชุดคอสเพลย์ ชุดคาบาเร่ย์ ล้วนแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวตาม กระแสแฟชั่น 6) การปรับตัวทางสังคม ภายในสังคมซิกข์เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางสังคมและทางเศรษฐกิจ 7) ความเชื่อมโยงกับพื้นที่โดยรอบคือย่านสำ เพ็ง ย่านสะพานหัน จึงเกิดความเชื่อมโยงในเชิงส่งเสริม (Complementary Linkage) คือการพึ่งพิงสินค้าซึ่งกันและกัน แต่ในขณะเดียวกันย่านค้าผ้าทั้งสามก็มีความ เชื่อมโยงกันในลักษณะเชิงการแข่งขันเกิดขึ้น (Competitive Linkage) เพื่อจะคงบทบาทด้านพาณิชยกรรมนั้น ข้อเสนอแนะควรเพิ่มความหลากหลายของสินค้าให้มีความน่าสนใจและทันสมัยควบคู่กับการรักษาความเป็น เอกลักษณ์ของย่านเพื่อสนับสนุนให้ย่านดำรงอยู่ต่อไปen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study are to investigate 1) the development of the area and the entrepreneurs as well as their economic activities, 2) the causes and factors that have kept Phahurat a trading area, 3) the relationship between Phahurat and its vicinity and 4) the comparative advantages of Phahurat potentials. This study also provides suggestions for improving this area. The questionnaires are 400 buyers and 120 entrepreneurs. The former were randomly chosen while the latter were chosen by using multi-stage sampling. It has been found that the trading activities in Phahurat involve cloth. At first, this area was a Vietnamese settlement and was later developed into a major Sikh trading area during the reign of King Rama V. Later, Phahurat Road was built and Phahurat has since been known as Little India. At present, Phahurat is in a recovery phase having undergone many adaptations for survival. It has turned itself into a unique cloth market in that it offers special kinds of cloth that can be bought only from there. It wants to meet the demands of this niche market. This has lead to other adaptations in line with economic changes. The factors which affect its commercial role are 1) its historical background dating back to the reign of King Rama V, 2) its long-standing reputation as a major old central business district of Bangkok, 3) its location in the center of an old commercial area of the city. It can easily be accesses via the PokKlau Bridge connecting Jakphet Road and the Memorial Bridge connecting Tripet Road, which is the main road. In this area there are many alleys connecting one another and public transport is also available, 4) the physical adaptations that have been made. The shop owners can sell their merchandise both in the front and at the back of the shops and display their merchandise more attractively. 5) The economic adaptations that have been made. The shop owners do not sell wholesale, rather they sell their merchandise directly to the buyers or sell via a website. Their merchandise includes cloth for Saree, drapes, lace as well cloth for making cosplay costumes and cabaret costumes. It can be seen that the entrepreneurs sell fashionable cloth, 6) adaptations within the Sikh community due in order to cope with economic changes. 7) a complementary linkage between Phahurat and its vicinity which covers Sampeng and Sapanhan. These three areas are interdependent in terms of products; however, competitive linkage relationships between the three areas also exist to maintain each area’s identity. In order for Phahurat to maintain its commercial role, a suggestion might be to have a greater variety of products as well as ensuring the products are fashionableen
dc.format.extent26946379 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.821-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectย่านการค้ากลางใจเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectย่านพาหุรัดen
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำรงบทบาทด้านพาณิชยกรรมย่านการค้าพาหุรัดen
dc.title.alternativeFactors influencing the commercial role of Phahurat districten
dc.typeThesises
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวางผังเมืองes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSakchai.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.821-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pornthip_se.pdf26.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.