Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/178
Title: การวิเคราะห์ผลกระทบของการกระจายทางด้านเทคโนโลยีระหว่างประเทศที่มีต่อผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมของประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2520-2544
Other Titles: International technology spillovers : empirical evidence on total factor productivity of Thailand 1977-2001
Authors: นุชนัทที วีระโสภณ, 2521-
Advisors: บังอร ทับทิมทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Bangorn.T@chula.ac.th
Subjects: การถ่ายทอดเทคโนโลยี
ไทย--ภาวะเศรษฐกิจ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีการลงทุนทางการวิจัยและพัฒนาน้อยมากโดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอุตสาหกรรม ดังนั้น การที่ประเทศไทยจะสามารถพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องพึ่งพากลยุทธ์ทางการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์ถึงผลกระทบของการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศอุตสาหกรรมที่มีต่อผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมของประเทศไทย (Total Factor Productivity : TFP) ในช่วงปี พ.ศ. 2520-2544 โดยให้ความสำคัญกับการเปิดประเทศทางด้านการค้าและการลงทุน ในฐานะที่เป็นช่องทางหลักที่ก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติจะแยกการวิเคราะห์ออกเป็น 3 ส่วน คือ การวิเคราะห์ผลของการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศที่มีต่อผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมในระดับประเทศ ในภาคเกษตรกรรม และในภาคอุตสาหกรรม โดยวิธีการที่ใช้จะเป็นการวิเคราะห์สมการถดถอยอนุกรมเวลา และการประยุกต์ใช้เทคนิค Co-integration และ Error Correction ด้วยวิธีของ Engle และ Granger ผลการศึกษาในระดับประเทศ พบว่า การลงทุนทางวิจัยและพัฒนาของประเทศอุตสาหกรรม 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน มีส่วนในการยกระดับผลิตภาพ ปัจจัยการผลิตโดยรวมของประเทศไทย ผ่านมาทางช่องทางการนำเข้าสินค้าทุน โดยเมื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์ในภาคเกษตรกรรม พบว่า การเปิดประเทศทางด้านการค้า (ทั้งการนำเข้า และการส่งออก) เป็นช่องทางที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยยกระดับผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมของภาคเกษตรกรรมของประเทศไทย ในขณะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเป็นช่องทางที่สำคัญที่ทำให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี และยกระดับผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบว่า ทุนมนุษย์เป็นปัจจัยอีกปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการเพิ่มระดับผลิตภาพปัจจัยการผลิตโดยรวมของประเทศไทย ทั้งในภาคเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากทุนมนุษย์เป็นปัจจัยที่มีบทบาทอย่างสำคัญในการส่งเสริมให้ประเทศไทยสามารถดูดซับความรู้และเทคโนโลยีจากต่างประเทศได้อย่างลึกซึ้ง
Other Abstract: The objective of this study is to examine the role of international technology spillovers, especially from U.S.A., Japan, England, France and Germany to Thailand during 1977-2001. The study relates the effects of technology spillovers to research and development in the advanced countries mentioned above; degree of country's openness including both import and export and foreign direct investment (FDI). The study is divided into 3 parts; that are the effects of technology spillovers on Total Factor Productivity (TFP) of the overall economy; the effects on the agricultural and manufacturing sectors. The methodology used in this analysis are the regression with ordinary least square estimation method and the co-integration analysis using Engle and Granger estimation method. The results of the analysis confirmed that total TFP can benefit from the imports of capital goods, the TFP in the agricultural sector can benefit from technology spillovers transferred through trade channel, whereas the foreign direct investment is the main channel of international spillovers for the manufacturing sector. The results also suggested that the country's level of educational attainment is another factor that has statistically and significantly impacts on TFP of Thailand for both sectors, therefore, the policy implication for increasing TFP is to promote and facilitate the trade channel and the foreign direct investment and also support the education and training program.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/178
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.606
ISBN: 9745322601
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.606
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
noodnuttee.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.