Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17910
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จาระไน แกลโกศล | - |
dc.contributor.author | วันทนา ชาญวนิชวงศ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-14T14:11:30Z | - |
dc.date.available | 2012-03-14T14:11:30Z | - |
dc.date.issued | 2525 | - |
dc.identifier.isbn | 9745610593 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17910 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 | en |
dc.description.abstract | ปัญหาโภชนาการนับเป็นปัญหาสำคัญของประเทศที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนโดยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่าย เพื่อเป็นการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศให้ดีขึ้น อันเป็นการช่วยพัฒนาประเทศโดยทางอ้อม การแก้ปัญหาอย่างหนึ่งคือการให้ความรู้ทางด้านอาหารและโภชนาการแก่ประชาชนให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำมาปฏิบัติหรือช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งในการให้ความรู้นี้อาจเป็นแบบทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ เช่น การให้ความรู้โดยผ่านสื่อมวลชน สถาบันการศึกษาหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับด้านนี้ เป็นต้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับความสำนึกจากการเปิดรับสื่อมวลชนทางด้านอาหารและโภชนาการของแม่ที่นำบุตรมารับบริการจากแผนกกุมารเวชศาสตร์ของโรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลพญาไท และศูนย์บริการสาธารณสุข 2 มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษา ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาความสำนึกทางด้านอาหารและโภชนาการ อันได้แก่ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติทางด้านอาหารและโภชนาการ 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชนทางด้านอาหารละโภชนาการ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสำนึกกับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชนทางด้านอาหารและโภชนาการ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือแม่ที่นำบุตรมารับบริการจากแผนกกุมารของโรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลพญาไท และศูนย์บริการสาธารณสุข 2 จำนวน 300 คน ที่เลือกมาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดา จากนั้นจึงทำการสัมภาษณ์กลุ่มแม่ที่เป็นตัวอย่างตามแบบสอบถามที่ได้ร่างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือร้อยละ ค่าความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันในการศึกษามีสมมติฐานหลักในการวิจัย 3 ข้อคือ 1. แม่ที่มีอายุ การศึกษา รายได้และอาชีพต่างกัน มีความสำนึกทางด้านอาหารและโภชนาการแตกต่างกัน 2. แม่ที่มีอายุ การศึกษา รายได้และอาชีพต่างกัน มีพฤติกรรมเปิดรับสื่อมวลชนทางด้านอาหารและโภชนาการแตกต่างกัน 3. ความสำนึกทางด้านอาหารและโภชนาการ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเปิดรับสื่อมวลชนทางด้านอาหารและโภชนาการ จากการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน สรุปได้ว่า สมมติฐานหลักทั้ง 3 ข้อ และสมมติฐานย่อยอื่นทุกข้อเป็นที่ยอมรับทั้งหมด นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบว่าระดับการศึกษามีอิทธิพลต่อความสำนึกและการเปิดรับสื่อมวลชนทางด้านอาหารและโภชนาการ คือแม่ที่มีการศึกษาที่สูงกว่า มีความสำนึกและการเปิดรับสื่อมวลชนทางด้านอาหารและโภชนาการสูงกว่าแม่ที่มีการศึกษาระดับต่ำกว่าในกรณีรายได้ก็เช่นเดียวกัน พบว่า แม่ที่มีรายได้สูง มีความสำนึกและการเปิดรับสื่อมวลชนทางด้านอาหารและโภชนาการสูง และเมื่อรายได้ต่ำ ความสำนึกและการเปิดรับสื่อมวลชนทางด้านอาหารและโภชนาการต่ำลงด้วย | - |
dc.description.abstractalternative | Nutrition problem is an important national problem that need to be hurriedly solved through the cooperation of the people who are involved. Such solution helps to improve life quality of Thai population which can be counted as part of national development. One method to solve the problem is to provide nutrition knowledge to citizen to enable them to understand and instrumentally utilize it in daily life. Giving food and nutrition information to citizen can be done either formally or informally through media, education institution and change agent. This research aims at finding the Consciousness as created through mass media exposure on food and nutrition information of the mothers who bring their children to pediatric clinic service at Ramathibodi hospital, Phayathai hospital and The Health Service Centre II. The main objectives of the study are. 1. To find out the consciousness on food and nutrition which includes knowledge, understanding and attitude on food and nutrition information. 2. To find out the mass media exposure behavior on food and nutrition information. 3. To find out the correlation between the consciousness and the mass media exposure behavior on food and nutrition information. The sample group of the study is 300 mothers who bring their children to pediatric clinic service at Ramathibodi hospital, Phayathai hospital and The Health Service Centre II. The subjects were selected through the simple random sampling technique. Each of the selected subjects was interviewed following a pre-arraged questionnaire. The statistics used for analysts include percentage, analysis of variance and Pearson's product moment correlation coefficient. The hypotheses of the study are as follows, 1. The mothers of different ages, educations, incomes and professions have different conciousness on food and nutrition information. 2. The mothers of different ages, educations, incomes and professions have different mass media exposure behavior on food and nutrition information. 3. The consciousness of the mothers and the mass media exposure behavior on food and nutrition information are positively correlated. From the analysis, all of the hypotheses are accepted. Besides, the acquired results also prove that the levels of education yields different effects to the consciousness and the mass media exposure behavior. The result of the study points to the trend that the mothers who have higher education usually have higher consciousness and higher exposure to food and nutrition information than. the mothers who have lower education. The same trend is also found in the case of income where the mothers who have higher incomes usually have high consciousness and higher exposure, whereas, the mother, of lower incomes usually have lower conaciousness and lower exposure. | - |
dc.format.extent | 434273 bytes | - |
dc.format.extent | 497019 bytes | - |
dc.format.extent | 1281056 bytes | - |
dc.format.extent | 386140 bytes | - |
dc.format.extent | 414231 bytes | - |
dc.format.extent | 335118 bytes | - |
dc.format.extent | 1075552 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การสื่อสาร | en |
dc.subject | สื่อมวลชน | en |
dc.title | การเปิดรับสื่อมวลชนทางด้านอาหารและโภชนาการ : ศึกษาความสำนึกจากการเปิดรับข่าวสารของแม่ที่นำบุตรมารับบริการ จากแผนกกุมารเวชศาสตร์ของโรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลพญาไท และศูนย์บริการสาธารณสุข 2 | en |
dc.title.alternative | Mass media exposure to food and nutrition information : a study of the information consciousness of the mothers who bring their children to pediatric clinic service at Ramahibodi hospital, Phayathai hospital and the health service centre II | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การประชาสัมพันธ์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Jaranai.G@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vanthana_Ch_front.pdf | 424.09 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vanthana_Ch_ch1.pdf | 485.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vanthana_Ch_ch2.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vanthana_Ch_ch3.pdf | 377.09 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vanthana_Ch_ch4.pdf | 404.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vanthana_Ch_ch5.pdf | 327.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vanthana_Ch_back.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.