Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17915
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จุฑาธวัช อินทรสุขศรี | - |
dc.contributor.advisor | ถาวร ฉวรรณกุล | - |
dc.contributor.author | ศิรินทิพย์ กังวาลไกล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-14T14:23:18Z | - |
dc.date.available | 2012-03-14T14:23:18Z | - |
dc.date.issued | 2526 | - |
dc.identifier.isbn | 9745619757 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17915 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงลักษณะการบริหารงานความปลอดภัยของสถานประกอบการต่างๆ ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู ว่ามีลักษณะการบริหารงานด้านความปลอดภัยเป็นไปในลักษณะใด มีผู้ใดเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านความปลอดภัยในแต่ละระดับต่างกันอย่างไรบ้าง และเพื่อศึกษาถึงสาเหตุของอุบัติเหตุ เช่น การกระทำที่ไม่ปลอดภัย สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยเป็นต้น พร้อมทั้งวิธีการป้องกันอุบัติเหตุของสถานประกอบการต่างๆ ในการศึกษาจะมุ่งเน้นถึงความปลอดภัยในการทำงานของคนงาน โดยตั้งสมมติฐานไว้ 2 ประการคือ 1. บุคลากรที่ทำหน้าที่ด้านรักษาความปลอดภัยยังไม่ได้รับอำนาจเท่าที่ควร 2. สถานประกอบการต่างๆ ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู ยังขาดระบบบริหารงานความปลอดภัย วิธีศึกษาวิจัยจะทำโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารของสถานประกอบการต่างๆ ที่เปิดดำเนินการเรียบร้อยแล้ว การสอบถามจากคนงานโดยให้คนงานกรอกแบบสอบถาม การสังเกตการณ์พร้อมทั้งศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสาร ตำราต่างๆ และข้อมูลจากแฟ้มโรงงาน ผลจากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ในเรื่องของความรับผิดชอบงานด้านความปลอดภัยนั้นผู้บริหารระดับสูงจะมอบอำนาจอย่างเต็มที่ให้กับผู้บริหารระดับกลาง ในการบริหารงานด้านความปลอดภัย แต่ผู้บริหารในระดับต้นยังไม่ได้รับมอบอำนาจเท่าที่ควร ดังนั้นจึงปฏิเสธสมมติฐานข้อที่ 1เพราะเป็นจริงเฉพาะผู้บริหารระดับต้นเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่าสถานประกอบการต่างๆในนิคมอุตสาหกรรมบางปูยังขาดระบบการบริหารงานความปลอดภัยที่ดีอยู่ กล่าวคือ ขาดการส่งเสริมหรือจูงใจคนงานด้านความปลอดภัย ขาดหลักการฝึกอบรมที่ดี ไม่มีหน่วยงานด้านความปลอดภัยหรือมิได้แต่งตั้งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งรับผิดชอบงานด้านความปลอดภัยโดยเฉพาะเป็นต้น ดังนั้นจึงยอมรับสมมติฐานข้อที่ 2 จากการศึกษาตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานดังกล่าวข้างต้น ทำให้สรุปปัญหาสำคัญๆ ได้ดังนี้คือ 1. สถานประกอบการส่วนใหญ่ยังขาดบุคลากรที่ทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยโดยตรง ทำให้งานด้านความปลอดภัยต้องฝากไว้กับหน่วยงานอื่นๆ ดังนั้นด้านความปลอดภัยจึงไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร 2. ผู้บริหารระดับสูงมิได้ให้ความสำคัญต่องานด้านความปลอดภัยอย่างแท้จริง ส่วนใหญ่มุ่งที่ผลผลิตและกำไรก่อนเป็นอันดับแรก 3. คนงานส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในเรื่องของความปลอดภัยในการทำงานที่ดีพอ 4. สถานประกอบการส่วนใหญ่ยังขาดการส่งเสริมหรือจูงใจคนงาน ให้สนใจด้านความปลอดภัย ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหา สถานประกอบการต่างๆ ควรพยายามส่งเสริมให้มีสิ่งต่อไปนี้ 1. การจัดตั้งหน่วยงานด้านความปลอดภัยขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อรับผิดขอบงานด้านความปลอดภัยโดยตรง 2. ผู้บริหารระดับสูงควรให้การสนับสนุนงานด้านความปลอดภัยให้มากขึ้น ซึ่งอาจทำได้หลายวิธีเช่น กำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของคนงาน จัดทำคู่มือเกี่ยวกับกฎข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานตรวจสภาพร่างกายให้แก่คนงานเป็นประจำทุกปี จัดทำบันทึกหรือรายงานเกี่ยวกับอุบัติเหตุ ฯลฯ 3. ฝึกอบรมคนงานด้านความปลอดภัย เพื่อให้รู้จักวิธีการทำงานที่ถูกต้องและปลอดภัยสาเหตุ ผลเสียหายและอันตรายต่ออุบัติเหตุ พร้อมทั้งวิธีป้องกัน โดยเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ของคนงาน เพื่อให้คนงานได้เข้าใจว่างานด้านความปลอดภัยนี้ เป็นสิ่งที่พวกเขาจะต้องรับผิดชอบร่วมกับฝ่ายบริหารด้วย 4. ควรส่งเสริมงานด้านความปลอดภัยขึ้นในสถานประกอบการต่างๆ เช่นมีโปสเตอร์บอร์ดข่าวสารด้านความปลอดภัย การให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาด้านความปลอดภัย ฯลฯ การที่จะทำให้สถานประกอบการต่างๆ ส่งเสริมงานด้านความปลอดภัยตามข้อเสนอแนะดังกล่าวข้างต้นได้นั้น ทางนิคมอุตสาหกรรมจะต้องเป็นฝ่ายจูงใจเจ้าของกิจการ หรือผู้บริหารของสถานประกอบการต่างๆ ให้สนใจในเรื่องเหล่านี้ก่อนเป็นอันดับแรก เพราะถ้าเจ้าของกิจการเห็นความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยแล้ว ก็จะทำการส่งเสริมงานด้านนี้ขึ้นภายในสถานประกอบการของตน ซึ่งวิธีการที่ทางนิคมฯ จะจูงใจผู้บริหารของสถานประกอบการต่างๆ ได้นั้น อาจทำได้หลายวิธี กล่าวคือ จะต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้เจ้าของกิจการ หรือผู้บริหารของสถานประกอบการต่างๆ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของงานด้านความปลอดภัย เช่น อาจจัดสัมมนาด้านความปลอดภัยขึ้น หรือใช้เอกสารสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ ชี้แจงรายละเอียดถึงความสำคัญและประโยชน์ที่จะได้รับ พร้อมทั้งใช้วิธีการจูงใจเข้าช่วย เช่น จัดให้มีการประกวดหรือแข่งขันกันระหว่างสถานประกอบการต่างๆ ในนิคมฯ หรือระหว่างนิคมฯ ต่อ นิคมฯ หรืออาจให้บริการด้านฝึกอบรม เช่นถ้าสถานประกอบการใดต้องการวิทยากรจากภายนอก ทางนิคมฯ อาจส่งเจ้าหน้าที่ไปฝึกอบรมให้หรืออาจติดต่อเจ้าหน้าที่จากหน่วยราชการอื่นๆ ให้ซึ่งเป็นอำนวยความสะดวกต่อทางสถานประกอบการ และถือเป็นสิ่งจูงใจผู้ลงทุนได้อีกแบบหนึ่งด้วย | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this thesis is to study the management scheme of plant safety in Bang-Poo Industrial Estate. Scope of studying is on management methodology, authorization and responsibility of authorized personnel, causes of accident such as unsafe acts and unsafe conditions and accident prevention. The discussion is based on following two hypotheses: 1. Authorized personal's authority is less than his responsibility. 2. Plant does not have good safety management system. Data is collected by interviewing plants managers, filling questionnaires by workers, observation and reviewing plants' documents which reveal most of the plants' information. Other information is gained by studying relevant texts and. printed matters in safety management. Results of the studying can be separated into two parts. First, though middle management receives full authorization in safety treats from top management, he does not give adequate authority to primary management. This fact indicates that the first hypothesis above is true only for the primary management. Hence, it is rejected. Second, it is found that safety management system in most of the plants in the estate are not good; for example, there is no effective motivation, lack of good training, authorization and responsibility in safety management is not stated clearly. These reasons lead to accept the second hypothesis. Main problems are concluded to be : 1. In many plants, nobody has fully responsibility for safety treats. Safety management job is divided into small tasks within many departments. 2. Top management does not realize the importance of safety management but mostly concentrate on the productivity and profit. 3. Most workers do not have knowledge in this field. 4. Many plants do not motivate workers in safety working operation aspect. Recommendations : There should be 1. A specific section in an organization handles this safety management job. 2. Top management should support the management of plant's safety by planning safety policy for overall organization, including supplying worker's manual in safety working condition, acquiring a regular health examination for Workers, recording accidents and this causes, etc. 3. Workers are sufficiently trained for the safety system so that they would learn the appropriate and safe ways to work including the causes and effects and dangers. Workers should aware that they have to be responsible for their safety during their working. 4. Promote workers to have safety-mindedness ; such as, workers take part in solving problems concerning safety working condition, poster, etc. In order to develop efficient safety management as recommended, the industrial estate should urge plants' owners and managers to realize the advantages of safety management. As soon as they realize such advantages, they will certainly develop safety management in the plants. There are many ways for the industrial estate to handle the case ; such as, holding the seminar, disseminating advantages of safety working condition by sending clarification documents to managers and by other means. In view of motivation, the estate should arrange the safety condition competition among plants in the estate and even among estates. The estate should have provided services to train workers in the plant upon requests. These methods will motivate investors to consider the safety factor for their further industrial investments as well. | - |
dc.format.extent | 488935 bytes | - |
dc.format.extent | 410498 bytes | - |
dc.format.extent | 669757 bytes | - |
dc.format.extent | 2401463 bytes | - |
dc.format.extent | 2160323 bytes | - |
dc.format.extent | 638308 bytes | - |
dc.format.extent | 425932 bytes | - |
dc.format.extent | 657530 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม | en |
dc.subject | นิคมอุตสาหกรรมบางปู | en |
dc.title | การศึกษาการบริหารงานความปลอดภัยของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมบางปู | en |
dc.title.alternative | A study on management of plant safety in Bang-Poo industrial estate | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พาณิชยศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sirinthip_Ka_front.pdf | 477.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sirinthip_Ka_ch1.pdf | 400.88 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sirinthip_Ka_ch2.pdf | 654.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sirinthip_Ka_ch3.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sirinthip_Ka_ch4.pdf | 2.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sirinthip_Ka_ch5.pdf | 623.35 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sirinthip_Ka_ch6.pdf | 415.95 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sirinthip_Ka_back.pdf | 642.12 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.