Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18052
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนารัต เกษตรทัต-
dc.contributor.authorสุภาภรณ์ ศรีสุพรรณวิทยา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-17T02:56:19Z-
dc.date.available2012-03-17T02:56:19Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18052-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบเปิดชนิดวัดผลก่อนและหลัง เพื่อเปรียบเทียบผลของกระบวนการประสานรายการยา ในด้านความแตกต่างของรายการยา ความคลาดเคลื่อนทางยา และผลลัพธ์ทางคลินิกระหว่างผู้ป่วยศัลยกรรมที่มีโรคเรื้อรังที่ผ่านและไม่ผ่าน กระบวนการประสานรายการยาโดยเภสัชกรในขั้นตอนแรกรับจำหน่าย และเมื่อผู้ป่วยกลับมาติดตามการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมุทรปราการ พบว่า ผู้ป่วยในกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 45 ราย ผู้ป่วยกลุ่มศึกษา (20 ราย) มีความแตกต่างของรายการยาอย่างน้อยหนึ่งข้อ ในขั้นตอนติดตามการรักษาน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (30 ราย) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.028) แต่ปัญหาดังกล่าวแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติในขั้นตอนแรกรับและจำหน่าย อัตราความคลาดเคลื่อนทางยาในขั้นตอนใดๆ ของการรักษาของกลุ่มศึกษา (0.5%) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (1.9%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p=0.009) จำนวนผู้ป่วยที่มีความคลาดเคลื่อนทางยาอย่างน้อยหนึ่งข้อในขั้นตอนใดๆ ของการรับบริการในกลุ่มศึกษา (7 ราย) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (20 ราย) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.003) ประเภทความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบมากในทั้งสองกลุ่มคือ omission error (65.1%) กลุ่มรายการยาที่พบความคลาดเคลื่อนทางยามากคือ ยากลุ่มวิตามินและเกลือแร่ (32.5%) ระดับความรุนแรงจากผลของความคลาดเคลื่อนทางยา (NCC MERP) ที่พบมากคือ category C (60.6%) ไม่พบผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางยาที่เป็นผลจากความคลาดเคลื่อนทางยาในการศึกษานี้ แสดงว่า กระบวนการประสานรายการยาแบบครบกระบวนการในผู้ป่วยศัลยกรรมที่มีโรคเรื้อรัง ช่วยลดความคลาดเคลื่อนทางยาได้ จึงควรจัดให้มีกระบวนการประสานรายการยาในทุกขั้นตอนของการเปลี่ยนระดับการรักษา โดยเฉพาะในขั้นตอนแรกรับจำหน่าย และเมื่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังกลับมาติดตามการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกen
dc.description.abstractalternativeThis open-labelled before and after study was designed to assess the outcomes of medication reconciliation complete process in surgical chronic disease patients at Samutprakarn hospital by comparing medication discrepancies, medication errors and clinical outcomes between the study and control group. Each group comprised 45 patients. Twenty patients in the study group had at least one medication discrepancy in follow-up process which was significantly less than control group (30 patients) (p=0.028) but was not significantly different in admission and discharge process. Rates of medication error in any transition of care of study group (0.5%) was significantly less than control group (1.9%) (p=0.009). Seven patients in study group had at least one medication error in any process of care which was significantly less than control group (20 patients) (p=0.003). Omission error was the most error found in this study (65.1%). Vitamins and minerals were the most causation of errors (32.5%). Following the NCC MERP, category C were mostly found (60.6%). No adverse drug reaction from medication error was reported in this study. This study reveals that medication reconciliation complete process in surgical chronic disease patients can significantly decrease medication errors. Therefore, should medication reconciliation be implemented in any transition of care especially during admission, discharge and follow-up process.en
dc.format.extent2308682 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.590-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความคลาดเคลื่อนทางยา-
dc.subjectเภสัชกรรมของโรงพยาบาล-
dc.subjectศัลยกรรม -- ผู้ป่วย-
dc.subjectMedication errors-
dc.subjectHospital pharmacies-
dc.subjectSurgery -- Patients-
dc.titleผลของการประสานรายการยาแบบครบกระบวนการในผู้ป่วยศัลยกรรมที่มีโรคเรื้อรัง ณ โรงพยาบาลสมุทรปราการen
dc.title.alternativeOutcomes of medication reconciliation complete process in surgical chronic disease patients at Samutprakarn Hospitalt Samutprakarn Hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิกes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNarat.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.590-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaporn_sr.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.