Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18068
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรรณชลัท สุริโยธิน | - |
dc.contributor.author | วรรณี วัฒนไพลิน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-17T03:39:58Z | - |
dc.date.available | 2012-03-17T03:39:58Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18068 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | ปัจจุบันแนวโน้มการใช้พลังงานของประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม จนกลายเป็นปัญหาวิกฤตของโลก จึงมีการสร้างเกณฑ์การประเมินอาคารเพื่อรักษา สิ่งแวดล้อมและการจัดการพลังงานขึ้นในหลายประเทศ เช่น เกณฑ์การประเมินอาคารของ สหรัฐอเมริกา ที่ชื่อว่า LEED เกณฑ์ CASBEE ของญี่ปุ่น และเกณฑ์ BREEAM ของอังกฤษ เป็นต้น ประเทศไทยก็เช่นกัน มีการสร้างเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของไทย ที่จัดทำขึ้นโดย คณะอนุกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับสมาคมสถาปนิกสยามฯ สำหรับอาคารโรงพยาบาลซึ่งมีการใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง มีการใช้ พลังงานสูงที่สุด จึงควรนำแนวทางเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวมาใช้ประเมินอาคาร วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาถึงการให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงาน และการจัดการสิ่งแวดล้อมในอาคารโรงพยาบาลในมุมมองของผู้เกี่ยวข้อง 5 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลอาคาร ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล สถาปนิก และวิศวกรผู้ออกแบบ โดยวิธีการใช้ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาล เพื่อศึกษาถึงการให้ความสำคัญกับเกณฑ์ การประเมินอาคารเขียวของไทยที่กำลังจะเริ่มขึ้น ผลการวิจัย พบว่า การให้ระดับความสำคัญกับเกณฑ์ประเมินอาคารเขียวสำหรับ โรงพยาบาลในส่วนของเกณฑ์บังคับทุกข้ออยู่ในระดับสูงและสูงที่สุด ในส่วนของเกณฑ์แต่ละหมวด อยู่ในระดับสูง หมวดที่ได้คะแนนสูงสุด คือหมวดการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รองลงไปคือ หมวดคุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในอาคาร หมวดที่ได้คะแนนต่ำที่สุด คือหมวดวัสดุและ ทรัพยากรในการก่อสร้าง รองลงไปคือหมวดผังบริเวณและภูมิทัศน์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจาก การเป็นอาคารเขียวของโรงพยาบาลมากที่สุด คือการประหยัดพลังงานในระยะยาว ส่วนสาเหตุที่ เป็นอุปสรรคต่อการเข้าสู่การเป็นอาคารเขียวของโรงพยาบาล คือต้นทุนและค่าใช้จ่าย เกณฑ์สำคัญ ที่ควรเพิ่มเข้าไปสำหรับเกณฑ์อาคารเขียวของโรงพยาบาล ได้แก่ รายละเอียดเรื่องการจัดการขยะ และน้ำเสียในโรงพยาบาลที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สรุปได้ว่า เกณฑ์ประเมินอาคารเขียวนี้มีความเหมาะสม สำหรับโรงพยาบาล และสามารถ นำไปปฏิบัติได้ โดยควรมีการปรับปรุงและเพิ่มเติมในรายละเอียดในบางหมวด เพื่อให้เป็นเกณฑ์การ ประเมินที่เหมาะสมและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นสำหรับโรงพยาบาล | en |
dc.description.abstractalternative | Under the current circumstances, the rapid increase in energy consumption has caused environmental impact and is thought to contribute to global warming. In many countries, awareness of the environmental crisis has led to the implemention of a green building rating system such as LEED in the United States, CASBEE in Japan and BREEAM in the UK. Recently, the Engineering Institute of Thailand and The Association of Siamese Architects have also issued a green building rating system in order to promote the sustainable energy use and conserve the environment. Hospitals buildings, which can consume large amounts of energy around the clock, are among the heaviest consumers of power, and recommendations for rating their sustainability and operating them more efficiently have been made. The aim of this thesis is to study the importance of energy saving and environmental management in a hospital from the perspective of various stakeholders. The stakeholders have been categorized into five groups: the executive officers, building support staff, hospital workers, architects and engineers. A questionnaire survey was used in order to gain opinions about the significance of the incoming green building rating system in Thailand. The results showed that environmental sustainability was important, rated at the levels of ‘high’ and ‘highest’, to all stakeholders. Of greatest importance was environmental protection, followed by indoor environmental quality. The next area of concern was construction materials and resources, followed by location and landscaping. The benefit of constructing environmentallyfriendly hospitals is a long-term energy savings; the barriers are construction and operating costs. Important criteria that should be added include details of waste and wastewater management in the hospital. In conclusion, the green building rating system was deemed appropriate and feasible by the stakeholders. However, it could be improved by adding some details and amending others | en |
dc.format.extent | 1505757 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.963 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สถาปัตยกรรมกับการอนุรักษ์พลังงาน | en |
dc.subject | การอนุรักษ์พลังงาน | en |
dc.subject | อาคารโรงพยาบาล -- การอนุรักษ์พลังงาน | en |
dc.subject | การจัดการสิ่งแวดล้อม | en |
dc.title | การให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงาน และการจัดการสิ่งแวดล้อมในอาคารโรงพยาบาล ตามหลักเกณฑ์อาคารเขียว | en |
dc.title.alternative | The significance of energy saving and Eenvironmental management in green hospitals | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | sphancha@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.963 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wannee_wa.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.