Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18078
Title: ผลของการตัดกระดูกอิสเซี่ยมต่อการเย็บต่อท่อปัสสวะในสุนัขเพศผู้
Other Titles: The Effect of ischial ostectomy on urethral anastomosis in male dogs
Authors: ธนิกุล ศรีธัญรัตน์
Advisors: มาริษศักร์ กัลล์ประวิทธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Marissak.K@Chula.ac.th
Subjects: สุนัข -- โรค
ทางเดินปัสสาวะ -- โรค
ทางเดินปัสสาวะ -- ศัลยกรรม
ต่อมลูกหมาก
Dogs -- Diseases
Urinary organs -- Diseases
Urinary organs -- Surgery
Prostate
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาผลของการตัดกระดูกอิสเชี่ยมต่อการเย็บต่อท่อปัสสาวะของสุนัขเพศผู้ ภายหลังการตัดต่อมลูกหมากออกในซากสุนัขที่มีทางเดินปัสสาวะปกติ 10 ตัวและสุนัขป่วยที่มีการฉีกขาดของท่อปัสสาวะส่วนเชิงกรานและต่อมลูกหมากโต 1 ตัวและภายหลังการตัดและเย็บต่อท่อปัสสาวะส่วนเชิงกรานในสุนัขทดลองปกติ 4 ตัว ศึกษาเปรียบเทียบความตึงที่รอยเย็บต่อท่อปัสสาวะในซากสุนัขซึ่งแปรผกผันกับปริมาตรน้าเกลือที่ฉีดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะและความดันในกระเพาะปัสสาวะที่ทาให้เกิดการรั่วของน้าเกลือออกจากรอยเย็บต่อท่อปัสสาวะก่อนและภายหลังการตัดกระดูกอิสเชี่ยม พบว่าปริมาตรน้าเกลือและความดันในกระเพาะปัสสาวะภายหลังการตัดกระดูกอิสเชี่ยมมีค่าสูงกว่าก่อนตัดกระดูกอิสเชี่ยมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.01) แสดงว่าการตัดกระดูกอิสเชี่ยมช่วยลดความตึงที่รอยเย็บต่อท่อปัสสาวะ การศึกษาในสุนัขทดลองและสุนัขป่วย สังเกตอาการการถ่ายปัสสาวะและอาการแทรกซ้อนต่างๆ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ภายหลังศัลยกรรม วิเคราะห์ค่าโลหิตวิทยา ค่าก๊าซในเลือด ค่าเคมีในเลือด และปัสสาวะ ประเมินการปริแยกและการตีบแคบของรอยเย็บต่อท่อปัสสาวะจากภาพถ่ายทางรังสีวิทยา และฟลูโอโรสโคปี พบว่าท่อปัสสาวะมีการเชื่อมติดอย่างสมบูรณ์ โดยไม่พบการปริแยกและการรั่วของน้าปัสสาวะ พบการแคบเล็กน้อยที่รอยเย็บต่อท่อปัสสาวะในสุนัขทดลอง 1 ตัวและสุนัขป่วย แต่สุนัขไม่มีอาการถ่ายปัสสาวะลาบาก สรุป การตัดกระดูกอิสเชี่ยมร่วมในการเย็บต่อท่อปัสสาวะส่วนเชิงกราน สามารถลดอุบัติการณ์การปริแยกของแผลเย็บต่อท่อปัสสาวะในสุนัขเพศผู้
Other Abstract: The effect of ischial ostectomy on urethral anastomosis in male dogs was studied after prostatectomy in cadavers of 10 dogs with normal lower urinary passage and a patient dog with intrapelvic urethral rupture and an enlarged prostate, and after intrapelvic urethral resection and anastomosis in 4 normal experimental dogs. Tension on the anastomosis site was comparatively studied in the cadavers and was inversed with the normal saline volume instilled into the urinary bladder and intravesical pressure (IVP) causing the dehiscence of the urethral anastomosis before and after the ischial ostectomy. The volume and IVP after the ostectomy were significantly (p<0.01) higher than those observed before the ostectomy suggesting the ostectomy could reduce tension on the suture line. In the patient and experimental dogs, urination and complications were observed for 6 weeks. Hematology, blood gases, blood chemistry, and urinalysis were postoperatively evaluated. Dehiscence and stricture of the urethral anastomosis site were assessed from radiography and fluoroscopy. Complete urethral healing without the dehiscence of the anastomosis and urine leakage was found. Slightly narrowing of the anastomosis site was observed in the patient and one experimental dog but no stranguria was found in any dogs. In conclusion, the application of ischial ostectomy with intrapelvic urethral anastomosis can reduce the incidence of the anastomosis dehiscence in male dogs.
Description: วิทยานิพนธ์(วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18078
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.420
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.420
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanikul_sr.pdf3.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.