Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18086
Title: มนุษย์ตามทรรศนะของพุทธปรัชญา
Other Titles: The concept of man in Buddhist philosophy
Authors: วนิดา ธนศุภานุเวช
Advisors: สุนทร ณ รังษี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: มนุษย์
พุทธปรัชญา
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ตั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อให้ทราบชัดว่า 1. พุทธปรัชญาได้กล่าวถึงฐานะของมนุษย์ในธรรมชาติไว้อย่างไร 2. พุทธปรัชญาได้กล่าวถึงองค์ประกอบทางด้านกายภาพและจิตภาพของมนุษย์ไว้อย่างไร 3. พุทธปรัชญาได้พูดถึงมนุษย์ในฐานะสมาชิกของสังคมไว้อย่างไร 4. จุดมุ่งหมายปลายทางของมนุษย์ตามทรรศนะของพุทธปรัชญาเป็นอย่างไร การวิจัยนี้มีสมมติฐานว่าพุทธปรัชญามีจุดสนใจอยู่ที่มนุษย์ ย่อมได้กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์ไว้อย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุม บทที่ 2 ของวิทยานิพนธ์นี้แสดงให้เห็นว่าพุทธปรัชญาเริ่มด้วยการพิจารณาธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์เท่าที่ปรากฏในปัจจุบัน โดยไม่สนใจที่แสวงหาคำตอบทางอภิปรัชญาเกี่ยวกับความเป็นมาของมนุษย์ก่อนหน้านี้ เกินความจำเป็นที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดับทุกข์อันเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับมนุษย์ทุกคนตามทรรศนะของพุทธปรัชญา บทที่ 3 เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของมนุษย์ตามทรรศนะพุทธปรัชญาพบว่ามนุษย์ประกอบด้วยธรรมชาติที่แตกต่างกัน 2 ส่วน คือ นามรูปหรือจิตและกายซึ่งต่างและก็อิงอาศัยซึ่งกันและกัน แม้ว่าพุทธปรัชญาจะมีแนวโน้มที่ให้ความสำคัญแก่จิตมากกว่ากาย ทำนองมีใจเป็นนายเป็นบ่าว แต่จิตก็ต้องมีกายเป็นที่อาศัยและที่แสดงออก ในขณะเดียวกันกายก็ไม่มีความหมายอะไรเลยถ้าปราศจากจิต เพราะจิตเป็นสมุฐานที่ยังให้กายเกิดและให้คุณค่าแก่กาย ทั้งกายและจิตเมื่อวิเคราะห์ให้ถึงที่สุดล้วนมีธรรมชาติเป็นสังขตะ คือเป็นสิ่งที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ หรืออีกนัยหนึ่งเป็นสิ่งที่มีองค์ประกอบทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อแยกองค์ประกอบเหล่านี้ออกจากกันทั้งหมด ก็จะไม่พบตัวตนของมนุษย์เหลืออยู่ โดยสภาพความเป็นจริงสูงสุดหรือโดยสภาพปรมัตถ์ มนุษย์มีสภาพเป็นอนัตตา คือไม่มีอยู่อย่างแท้จริง คำว่า “มนุษย์” ที่เรียกขานกันจึงเป็นเพียงคำสมมติที่บัญญัติกันขึ้น เพื่อใช้เรียกสภาวธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีธรรมชาติเกิดดับตามแต่เหตุปัจจัยปรุงแต่ง บทที่ 4 เป็นการวิเคราะห์ธรรมชาติหรือสถานะภาพของมนุษย์ตามทรรศนะพุทธปรัชญา จากการวิเคราะห์พบว่าชีวิตมนุษย์ตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์เช่นเดียวกับสรรพสิ่งทั้งปวง จึงมีสภาวะที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ต้องเปลี่ยนแปลงแปรปรวนอยู่เสมอไม่มีตัวตนที่มนุษย์จะยึดถือครอบครองว่าเป็นตัวเองได้อย่างแท้จริง แต่มนุษย์มักหลงผิดยึดมั่นเอาร่างกาย อารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นและเป็นไปตามหลักแห่งเหตุและผล หรือหลักปฏิจจสมุปบาทว่าเป็นตัวตนของตัว เมื่อชีวิตไม่เป็นไปตามความหวังความปรารถนาของตน เพราะอยู่นอกเหนืออำนาจที่ตนจะควบคุมไว้ได้ ก็เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ประการต่างๆ ตามหลักอริยสัจ 4 พุทธปรัชญาก็ชี้ให้เห็นว่า ชีวิตนี้เป็นทุกข์ แต่ถ้ามนุษย์ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ การดับทุกข์ย่อมเป็นไปได้ โดยการดับเหตุแห่งทุกข์นั้นเสีย พุทธปรัชญามีทรรศนะว่า มนุษย์เป็นผู้ลิขิตชีวิตของตนเอง เป็นกรรมลิขิตซึ่งเป็นไปตามกฎแห่งกรรม หาใช่พรมลิขิตหรือการบันดาลของอำนาจลึกลับหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อะไรภายนอกไม่ ภายใต้กฎแห่งกรรมมนุษย์ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพและเสมอภาคในการเลือกวิถีชีวิตของตนเอง มนุษย์ทุกคนจึงต้องรับผิดชอบการกระทำของตนเองโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง การที่มนุษย์ประกอบแต่กรรมดีจึงเป็นการสร้างเงื่อนไขสำหรับชีวิตที่ดีในอนาคต บทที่ 5 เป็นการวิเคราะห์ทรรศนะของพุทธปรัชญาเกี่ยวกับการดำรำชีวิตในสังคมมนุษย์ พุทธปรัชญาได้เสนอหลักธรรมต่างๆ ไว้พร้อม สำหรับมนุษย์ยึดถือปฏิบัติในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลในฐานะต่างๆ ในสังคมโดยรอบ โดยเริ่มจากตัวเอง ความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัวและกับผู้อื่นในสังคม กล่าวได้ว่าหลักคำสอนทั้งหมดในพุทธศาสนาเป็นเครื่องยังให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความสงบสุขทั้งสิ้น บทที่ 6 เป็นการวิเคราะห์จุดหมายปลายทางของมนุษย์ตามทรรศนะพุทธปรัชญา พบว่ามนุษย์ ควรมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่การหลุดพ้นจากความทุกข์ พุทธปรัชญาได้วางแนวทางแห่งการเอาชนะตัวเอง เพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ไว้อย่างเป็นขั้นตอนจากข้อปฏิบัติอย่างง่ายๆ เริ่มจากการควบคุมทางกายซึ่งเป็นชั้นหยาบ จนถึงการควบคุมทางจิตในขั้นละเอียดอ่อน ผู้ที่ปฏิบัติตัวไปตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้อย่างเคร่งครัด ย่อมบรรลุถึงจุดหมาย คือความหลุดพ้นจากความทุกข์ได้เท่าเทียมกันทุกคน กล่าวโดยสรุป ตามทรรศนะของพุทธปรัชญา มนุษย์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปในธรรมชาติเช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไร้ชีวิต มนุษย์จึงอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติอันได้แก่กฎแห่งเหตุและผลเช่นเดียวกับสิ่งทั้งปวงในสากลจักรวาล แต่มนุษย์มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากสัตว์โลกอื่นๆ ตรงที่มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสติปัญญาสูง สามารถใช้สติปัญญาเป็นเครื่องนำทางในการดำรงชีพอยู่ในโลกได้ดีกว่าสัตว์ชนิดอื่นทุกประเภท พุทธปรัชญาถือว่ามนุษย์เป็นผู้กำหนดวิถีและสภาพชีวิตของตนด้วยกรรมหรือการกระทำของตนเอง มนุษย์จะดีชั่วตกต่ำหรือสูงส่งอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับการกระทำของตนเองทั้งสิ้น ยิ่งกว่านั้น พุทธปรัชญายังถือว่า แม้มนุษย์จะตกอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ แต่ก็สามารถพัฒนาตนเองให้หลุดพ้นไปจากวัฏฏะแห่งกฎธรรมชาติได้ โดยการทำลายอวิชชาหรือความหลงผิดให้หมดไป เมื่อสามารถขจัดอวิชชาได้หมดทั้งสิ้นแล้วบุคคลจะเข้าถึงภาวะเหนือธรรมและดำรงอยู่ในภาวะนั้นตลอดไป ซึ่งพุทธปรัชญาเรียกว่าการเข้าถึง “นิพพาน”
Other Abstract: This thesis aims at a critical study of Buddhist Philosophy in the following considerations: 1. The nature of man and his natural status. 2. The physical and psychical factors of man. 3. Man as a number of a society. 4. The ideal goal of life. This research bases mainly on a hypothesis that the central interest of Buddhism is on human beings and it, therefore, has considered all aspects of human nature. Chapter 2 of the thesis shows that Buddhist Philosophy begins with a careful consideration of the real nature of man regardless of any metaphysical answer about human's first origin. The main purpose of Buddhism is only to find out the way to release man from suffering. In chapter 3 an analysis is made on the physical and psychical factors of man. The analysis reveals that according to Buddhism a man is composed of name and form (nãma - ru ̅pa) or body and mind. These two factors depend necessarily on each other, though it seems that Buddhist Philosophy has a. tendency to regard the mind as being more important. When we analyse a man's body and mind, we clearly find out that what we call "man" is just a com¬pounded thing; it is only the form of relations of conditions, conforming to the process of Dependent Origination or Paticcasamuppãda. In ultimate truth man is of non-self (anattã), i.e. has no real entity. The term "man" is only a word of language invented to describe a compounded and impermanent entity which comes into being according to causes and conditions. In chapter 4,attempt is made to analyse the natural status of man in Buddhist Philosophy. Buddhism believes that man, likes all other things, is under the Law of Three Characteristics of Existence. That is, man is impermanent (anicca ̅), fluxional (dukkha ̅), and soulless (anatta ̅). He is subject to origination and destruction. But man always mistakes by the power of his ignorance his body-and-mind which comes into being according to the Law of Cause and Effect for his real self, and as a result he is always overcome by suffering whenever his life is contrary to his will. However, with the Doctrine of the Four Noble Truths, Buddhism points out that life is suffering. If a man by the power 'of his wisdom tries to realize the causes of suffering, the cessation of suffering is possible by eradicating its causes. Buddhism is of the view that man creates himself by his own action or Kama. There is nobody else or no outside power controlling or determining his destiny. Under the Law of Kama, every man is equal in human rights, in freedom to judge and choose, and he is also responsible for his own action. By good deeds, man creates good conditions for good life in future. In chapter 5 the Buddhist concept of a good life in society is fully discussed. For those who wish to live peacefully and harmoniously with other people, Buddhism offers the principles of practice according to their social status. The practice is to begin with a man himself in relation to the members of his family, his relatives, his friends, and then with others in the society. It can be said that all tenets of Buddhism promote peace and harmony of life in human society. In chapter 6.attempt is made to analyse the Buddhist principal aim of human life-that is the freedom from suffer¬ing. Buddhism enunciates the way to cease the causes of suffering step by step. The method starts firstly with bodily control, and then continues to the advance step of mind-control. The peak of the process is to free oneself from ignorance once and for all. Everyone who follows the Buddhist way of practice will ultimately be free from suffering forever. To conclude, human beings are, according to Buddhism, as natural as all other things and as such they are under the natural law-the Law of Cause and Effect-as all things of the universe. But unlike all other living creatures man posesses a special characteristic of being endowed with high intelligence by a power of which he can have a better and proper life in the world. Buddhism is of a view that a man is the controller of the way and nature of his own life by his own actions or Kama. His life will be good or bad, noble or humble, depending exclusively on his own actions. Moreover, Buddhism holds that, in spite of being under the natural law, man can release himself from its power by getting rid of his own ignorance and attain the state of liberation beyond natural law once and for all. This state is nothing but what is called "Nibbana"
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18086
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanida_Th_front.pdf396.18 kBAdobe PDFView/Open
Wanida_Th_ch1.pdf289.16 kBAdobe PDFView/Open
Wanida_Th_ch2.pdf561.8 kBAdobe PDFView/Open
Wanida_Th_ch3.pdf837.13 kBAdobe PDFView/Open
Wanida_Th_ch4.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Wanida_Th_ch5.pdf823.65 kBAdobe PDFView/Open
Wanida_Th_ch6.pdf628.56 kBAdobe PDFView/Open
Wanida_Th_ch7.pdf292.92 kBAdobe PDFView/Open
Wanida_Th_back.pdf302.48 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.