Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18105
Title: การศึกษาแบบมอนติคาร์โล : การเปรียบเทียบอำนาจการทดสอบเอฟ เมื่อข้อมูลได้รับการแปลงรูปในรูปแบบแตกต่างกัน ภายใต้ลักษณะการแจกแจงประชากร 3 แบบ
Other Titles: Monte Carlo study : the comparison of the power of F - test when applied to different types of data transformations under three different types of parent distribution
Authors: ธีระดา ภิญโญ
Advisors: ดิเรก ศรีสุโข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: วิธีมอนติคาร์โล
การแจกแจง (ทฤษฎีความน่าจะเป็น)
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาผลสรุปการเรียบเทียบอำนาจการทดสอบเอฟและอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 จากข้อมูลเมื่อคำนวณได้จากข้อมูลดิบ กับข้อมูลที่ได้จากวิธีแปลงข้อมูล 4 รุปแบบ คือ 1. การแปลงข้อมูลโดยใช้รูทสอง 2. การแปลงโดยวิธีกลับเศษส่วน 3. การแปลงโดยใช้ล็อกบาน 10 4. การแปลงโดยใช้ล็อกฐานอี โดยใช้เทคนิคมอนติคาร์โล ซิมมูเลชั่น ทำการทดลอง 1000 ครั้ง ในแต่ละกรณี ในสภาพการณ์สำคัญคือ กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มขนาดกลุ่มตัวอย่าง 5, 10 และ 15 ในลักษณะการแจกแจงของประชากรแบบปกติ แบบยูนิฟอร์ม และแบบโลจิสติค ทั้งที่กำหนดอัตราส่วนความแปรปรวนเท่ากันและแตกต่างกัน คือ 1:1:1 และ 1:2:3 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1.ค่าอำนาจการทดสอบเอฟเมื่อคำนวณจากข้อมูลดิบ มีความสามารถในการควบคุมอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 เท่ากับอัตราความคลาดเคลื่อนที่ระบุ (a) ได้ผลดีเท่ากับอำนาจการทดสอบเอฟ เมื่อแปลงข้อมูลโดยใช้รูทสอง และโดยวิธีกลับเศษส่วน ทั้งในระดับ aเท่ากับ .05 และ .01 2.ค่าอำนาจการทดสอบเอฟเมื่อคำรนวณจากข้อมูลดิบ มีค่าอำนาจการทดสอบสูงเท่ากับค่าอำนาจการทดสอบเอฟเมื่อแปลงข้อมูลโดยใช้รูทสอง และโดยวิธีกลับเศษส่วน และมีอำนาจการทดสอบสูงกว่าค่าอำนาจการทดสอบเอฟเมื่อแปลงข้อมูลโดยใช้ล็อกฐาน 10 และโดยใช้ล็อกฐานอี ในระดับ a เท่ากับ .05 และ .01 ทั้งในลักษณะที่อัตราความแปรปรวนเท่ากันและแตกต่างกันเป็น 1:2:3 3.เมื่อขนาดกลุ่มตัวอย่างเพิ่มมากขึ้น ค่าอำนาจการทดสอบเอฟเมื่อคำนวณจากข้อมูลดิบกับวิธีแปลงข้อมูลโดยใช้รูทสอง โดยวิธีกลับเศษส่วน โดยใช้ล็อกฐาน 10 และโดยใช้ล็อกฐานอี สามารถควบคุมอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้ดีมากขึ้นในระดับ a เท่ากับ .05 และ .01 ทั้งในลักษณะที่อัตราความแปรปรวนเท่ากันและต่างกันเป็น 1:2:3 ข้อเสนอแนะ ข้อมูลที่มีกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก หรือมีการฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้นของการทดสอบเอฟในด้านความเท่ากันของแปรปรวน และลักษณะการแจกแจงของประชากรที่ต่างไปจากปกติในลักษณะสมมาตร ควรใช้การทดสอบเอฟเมื่อคำนวณจากข้อมูลดิบ
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the Power of F-test and type I Error Rate computed from Raw-Score and from four different types of data transformations. Those are Square Root Transformation, Reciprocal transformation, Logarithmic Transformation and natural Logarithmic Transformation. The data for this experiment were obtained through simulation using The Monte Carlo technique. A computer program was designed to repeat the experiment 1000 times in each cases. The Comparisons were made for 3 samples where population distribution types are Normal, Uniform and Logistic. The ratio of population variances are 1:1:1 and 1:2:3 Results were as follow : 1.The power of F-test computed from raw scores can control the error rate from the experimental situations the same as the Power of F-Test when transforms in Square Root Transformation and Reciprocal Transformation when a equal to .05 and .01. 2.The power of F-test computed from raw scores has the same high test power as the Power of F-Test when transforms in Square Root Transformation and Reciprocal Transformation. But those tests have the higher test power than the Power of F-Test when transforms in Logarithmic and Natural Logarithmic Transformation when a equal to .05 and .01 and the ratio of population variances are 1:1:1 and 1:2:3 . 3.When the sample size was larger, the power of F-test computed from raw-scores, Square Root Transformation, reciprocal Transformation, Logarithmic transformation and natural Logarithmic transformation can control the error rate better when a equal to .05 and .01.Recommendations :- When the sample size is small or violate the assumption in equal population variance but the symmetry population distribution can be assumed the researcher should use The Power of F-Test when computed from the raw-scores
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18105
ISBN: 9745622796
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Terada_Pi_front.pdf484.39 kBAdobe PDFView/Open
Terada_Pi_ch1.pdf400.67 kBAdobe PDFView/Open
Terada_Pi_ch2.pdf599.74 kBAdobe PDFView/Open
Terada_Pi_ch3.pdf506.17 kBAdobe PDFView/Open
Terada_Pi_ch4.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open
Terada_Pi_ch5.pdf637.38 kBAdobe PDFView/Open
Terada_Pi_back.pdf745.99 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.