Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18138
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรัณย์ เตชะเสน-
dc.contributor.authorคณิน ตุงคะเสน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-17T12:13:27Z-
dc.date.available2012-03-17T12:13:27Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18138-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาค่าจลนพลศาสตร์ของการบำบัดน้ำเสียชุมชนแบบเติมอากาศของประเทศไทย โดยใช้น้ำเสียจริงที่เข้าโรงควบคุมคุณภาพน้ำหนองแขมเป็นตัวแทนน้ำเสียชุมชนของประเทศไทย งานวิจัยนี้ใช้น้ำเสียจริงจากโรงควบคุมคุณภาพน้ำหนองแขมและใช้นมขาดมันเนยเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของน้ำเสียให้มีค่าซีโอดีเริ่มต้นในช่วง 10 – 200 มก./ล. ทำการเดินระบบแบบแบทช์ ศึกษาหาค่าสัมประสิทธิ์การเจริญเติบโตของจุลชีพ (Y) โดยได้ผลคือ 0.298 มก.เซลล์ซีโอดี/มก.ซีโอดี ส่วนค่าซีโอดีที่ไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพมีสัดส่วนเป็น 0.259 เท่าของค่าซีโอดีเริ่มต้น สำหรับค่าจลนพลศาสตร์ที่วิเคราะห์ด้วยสมการแบบไม่เชิงเส้นของ Monod โดยใช้โปรแกรมทางสถิติ พบว่าค่าคงที่ที่ได้คือ อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะสูงสุดของจุลชีพ (μm) เท่ากับ 8.77±1.731 ต่อวัน และสัมประสิทธิ์การอิ่มตัวครึ่งหนึ่งของจุลชีพ (Ks) เท่ากับ 15.81±4.788 มก./ล. ทั้งนี้ค่าจลนพลศาสตร์ที่ได้จากงานวิจัยนี้เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับค่าอ้างอิงหรืองานวิจัยที่ผ่านมาพบว่ามีความใกล้เคียงกัน เมื่อนำค่าจลนพลศาสตร์ที่ได้จากงานวิจัยนี้ไปใช้จำลองระบบบำบัดน้ำเสียของโรงควบคุมคุณภาพน้ำหนองแขมด้วยโปรแกรม AQUASIM พบว่า ค่าซีโอดีของน้ำทิ้งที่ออกจากระบบมีค่าต่ำกว่าค่าที่วัดได้จริงจากโรงควบคุมคุณภาพน้ำหนองแขมมาก สาเหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเกิดจากในน้ำเสียจริงมีค่าซีโอดีที่ไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพเจือปนอยู่ ซึ่งในแบบจำลองนี้ไม่ได้คำนึงถึงค่าซีโอดีที่ไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพ และผลจากแบบจำลองนี้ยังแสดงให้เห็นว่าปริมาณของของแข็งแขวนลอยรวมในระบบมีความเข้มข้นประมาณ 4000 มก./ล. ซึ่งประกอบด้วยจุลชีพที่ทำปฏิกิริยาทางชีวภาพเพียง 250-350 มก./ล. และของแข็งแขวนลอยชนิดอื่น 3500-3700 มก./ล. อย่างไรก็ตามการที่ในระบบมีของแข็งแขวนลอยชนิดอื่นปนอยู่ถือเป็นผลดีต่อถังตกตะกอน อีกทั้งผลที่ได้จากแบบจำลองนี้แสดงให้เห็นว่าแบบจำลองนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโรงควบคุมคุณภาพน้ำหนองแขมได้จริงen
dc.description.abstractalternativeThis research studied the kinetic parameters of aerobic treatment of domestic wastewater in Thailand by using real influent wastewater at Nhong Kham wastewater treatment plant. Influent wastewater was added with non-fat milk to increase COD to the range of 10-200 mg/L. The experiments were performed with batch reactors. The results showed that biomass growth yield (Y) was 0.298 mg-cell-COD/mg-COD. The ratio of non-biodegradable COD to total COD was 0.259. Kinetic parameters were determined using a non-linear equation of the Monod and statistical program. The maximum specific growth rate (μm) was 8.77±1.73 per day and the half-saturation coefficient (Ks) was 15.81±4.79 mg/L. Kinetic parameters from this research were in the same range of previous studies. These kinetic parameters were modeled according to Nhong Kham wastewater treatment operating conditions using AQUASIM program. The model showed much lower effluent COD than measured data because non-biodegradable COD was not included in the program. The model showed comparable total suspended solids (MLSS), about 4,000 mg/L, but the active microbial cells were only 250-350 mg/L and the rest of 3,500-3,700 mg/L were the accumulated inlet suspended solids. The results showed that inlet suspended solids could be used to increase suspended solids concentration and therefore enhance the efficiency of clarifier. The model could be adapted to wastewater treatment process efficiency.en
dc.format.extent10618849 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleค่าจลนพลศาสตร์และแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ของโรงบำบัดน้ำเสียหนองแขมen
dc.title.alternativeKinetic parameters and computer model of Nhong Kham wastewater treatment planten
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorsarun.t@chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanin_tu.pdf10.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.