Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18156
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย-
dc.contributor.authorภาณุ กุศลวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-17T14:06:28Z-
dc.date.available2012-03-17T14:06:28Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18156-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกความรวดเร็วและความคล่องแคล่วว่องไวที่มีต่อเวลาตอบสนองของการเตะเฉียงในกีฬาเทควันโด โดยใช้การฝึก 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน ทำการทดสอบเวลาตอบสนองของการเตะเฉียงในกีฬาเทควันโด ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบ วัดซ้ำ (One way ANOVA with repeated measures) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance : ANOVA) ถ้าพบความแตกต่าง จะใช้การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของแอล เอส ดี (LSD) โดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการทดสอบค่าเฉลี่ยเวลาตอบสนองของการเตะเฉียงในกีฬาเทควันโด ก่อนการฝึก ระหว่าง กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยเวลาตอบสนองของการเตะเฉียงในกีฬาเทควันโด ภายในกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง ที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของของแอล เอส ดี (LSD) พบว่าทั้ง 3 กลุ่มมีความแตกต่างรายคู่คือ ระหว่างก่อนการฝึกกับหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 ระหว่างก่อนการฝึกกับหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 กับหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 การทดสอบค่าเฉลี่ยเวลาตอบสนองของการเตะเฉียงในกีฬาเทควันโด ระหว่าง กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีของแอล เอส ดี (LSD) พบว่า ระหว่าง กลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มทดลองที่ 1 กับกลุ่มทดลองที่ 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4. หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 การทดสอบค่าเฉลี่ยเวลาตอบสนองของการเตะเฉียงในกีฬาเทควันโด ระหว่าง กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีของแอล เอส ดี (LSD) พบว่า ระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มทดลองที่ 1 กับกลุ่มทดลองที่ 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05en
dc.description.abstractalternativeThe objective of the study was to compare the effects between agility and quickness training on round kick’s response times. Subjects were trained three days per week for eight weeks. Before training, at the end of the fourth and eighth weeks, round kick’s response times were tested. The data were analyzed in terms of the mean, and standard deviation. Statistical significance were analyzed by F–test, one way analysis of variance with repeated measures, one way analysis of variance (ANOVA) and LSD multiple comparisons and were also employed to determine the significant difference at .05 level. The results were as follows : 1.Round kick’s response times before training, at the end of the fourth and eighth weeks were not significantly different among each group. 2.With LSD multiple comparisons, round kick’s response time of the control group, the first group, and the second groups were significantly difference. Response times between before training and at the end of the fourth weeks were significantly difference at .05 level in all groups. Response times between before training and at the end of the eighth weeks were significantly difference at .05 levels in all groups. Response times between at the end of the fourth and eight weeks were significantly difference at .05 level in all groups. 3. At the end of the fourth weeks, round kick’s response times were significantly difference among each group at .05 level. 4.At the end of the eighth weeks, round kick’s response times were significantly difference among each group at .05 level.en
dc.format.extent8103575 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleผลของการฝึกความรวดเร็วกับทักษะการเตะเฉียง และการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวกับทักษะการเตะเฉียง ที่มีต่อเวลาตอบสนองของการเตะเฉียงในกีฬาเทควันโดen
dc.title.alternativeEffects of quickness training with roung kick and agility training with round kick on the response time of round kick in Taekwondoen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพลศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorTepprasit.G@chula.ac.th-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phanu_ku.pdf7.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.