Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18193
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อมรชัย ตันติเมธ | - |
dc.contributor.author | จารุวรรณ ศิลปรัตน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.coverage.spatial | กรุงเทพฯ | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-19T14:42:03Z | - |
dc.date.available | 2012-03-19T14:42:03Z | - |
dc.date.issued | 2524 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18193 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา ของผู้บริหารการศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานด้านการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาของผู้บริหารการศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของกรุงเทพมหานคร ใช้ประชากรทั้งหมดโดยไม่สุ่มตัวอย่าง จำนวน 53 คน และผู้บริหารการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยแยกรายชื่อโรงเรียนทั้งหมดออกตามเขตต่างๆ 24 เขต แล้วสุ่มตัวอย่างโรงเรียนจากแต่ละเขต เขตละ 30 เปอร์เซ็นต์ ด้วยวิธีสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) ได้ตัวอย่างประชากร จำนวน 246 คน รวมกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 299 คน ได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน 285 ฉบับ เป็นแบบสอบถามที่ไม่สมบูรณ์ 3 ฉบับ เหลือแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ที่ใช้ในการวิจัย 282 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 94.31 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามซึ่งสร้างขึ้น โดยแบ่งเป็น 3 ตอนคือ ตอนที่ 1 เป็นคำถามแบบเลือกตอบ (Check List) ถามเกี่ยวกับ สถานภาพของผู้ตอบ ตอนที่ 2 เป็นคำถามแบบอัตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา 6 ด้าน ได้แก่ หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร การเรียนการสอน ห้องสมุด วัสดุอุปกรณ์การสอน การนิเทศการศึกษา และการวัดและประเมินผลการศึกษา ตอนที่ 3 เป็นคำถามแบบอัตราส่วนประมาณค่าและแบบปลายเปิด (Open end) ถามเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานด้านการบริหารงานวิชาการทั้ง 6 ด้าน การวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 1 วิเคราะห์โดยวิธีแจกแจงความถี่หาค่าร้อยละ ตอนที่ 2 และตอนที่ 3 วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทีเทสต์ (t-test) สรุปผลการวิจัย 1. ผู้บริหารการศึกษาทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นสอดคล้องกันอยู่ในเกณฑ์เห็นด้วยกับการปฏิบัติงานด้านการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา ตามหลักวิชาบริหารการศึกษา 5 ด้าน ได้แก่ การบริหารงานด้านการเรียนการสอน วัสดุอุปกรณ์การสอน ห้องสมุด การนิเทศการศึกษา และการวัดและการประเมินผลการศึกษา มีเพียงการบริหารงานด้านหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรด้านเดียวเท่านั้นที่ผู้บริหารทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นอยู่ในเกณฑ์เห็นด้วยอย่างยิ่ง จากการเปรียบเทียบความคิดเห็นโดยใช้ T-test ปรากฏว่า การบริหารงานด้านหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร วัสดุอุปกรณ์การสอน ห้องสมุด การนิเทศการศึกษาผู้บริหารทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนการบริหารงานด้านการเรียนการสอน และการบริหารงานด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา ผู้บริหารทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานวิชาการทั้ง 6 ด้าน ปรากฏว่าผู้บริหารทั้งสองกลุ่มมีความเห็นว่า มีปัญหาในเกณฑ์น้อย มีเพียงเรื่องเดียวที่เป็นปัญหามากคือ การบริหารงานด้านวัสดุอุปกรณ์การสอน และจากการเปรียบเทียบความคิดเห็นโดยใช้ T-test ปรากฏว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในทุกๆ ด้าน | - |
dc.description.abstractalternative | Objectives: 1. To study the opinion on academic administration perfor¬mance in elementary schools of the Bangkok Metropolitan Educational Administrators. 2. To study the opinion on problems and obstacles in academic administration performance in elementary schools of the Bangkok Metropolitan educational administrators. Research Procedures: Sampling population of this study consists of all 53 administrators involved in the Bangkok Metropolitan Education, and by stratified random sampling 246 educational administrators in elementary schools of the Bangkok Metropolitan taken from 30 percent of schools in each Zone (total of 24 zone in the Bangkok Metropolitan) by simple random sampling. The 282 completely answered questionnares or 94.31 percent of the total population were returned. Tools used in this research were constructed questionnaire Questions are devided into 3 parts. Part 1 is check list questions about status of sampling population. Part 2 is rating scale questions about opinions on academic administration in elementary schools in 6 aspects include administration of curriculum, instruction, library, teaching aids, supervision of instruction, educational measurement and evaluation. Part 3 is rating scale and open end questions on problems and obstacles in academic administration in 6 aspects. Questions in part 1 were analysed in term of frequency distribution and percentage. Questions in part 2 and part 3 were analysed in term of means (x ̅), standard deviation (S.D.) and by t-test. Findings: 1. Administrators in both groups coincided that academic administration should base on theory of educational administration in 5 aspects such as instructional administration, library, teaching aids, supervision of instruction and educational measurement and evaluation and strongly recommended in curriculum administration. From t-test, administrators in both groups have different opinion significantly at .01 level on administration of curriculum, teaching aids, library and educational supervision. In administration of instruction and educational measurement and evaluation, administrators in both groups have no significant difference at .01 level. 2. Administrators in both groups had opinion that problems and obstacles in academic administration were not serious except problems in teaching aids. From t-test, there is no significant difference at .01 level in every aspects. | - |
dc.format.extent | 408778 bytes | - |
dc.format.extent | 504608 bytes | - |
dc.format.extent | 1768940 bytes | - |
dc.format.extent | 446177 bytes | - |
dc.format.extent | 946409 bytes | - |
dc.format.extent | 651981 bytes | - |
dc.format.extent | 693246 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โรงเรียนประถม -- การบริหาร | en |
dc.title | ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาของผู้บริหารการศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | Opinionson academic administration in elementary schools of the Bangkok Metropolitan educational administrators | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Amornchai.T@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jaruwon_Si_front.pdf | 399.2 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jaruwon_Si_ch1.pdf | 492.78 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jaruwon_Si_ch2.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jaruwon_Si_ch3.pdf | 435.72 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jaruwon_Si_ch4.pdf | 924.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jaruwon_Si_ch5.pdf | 636.7 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jaruwon_Si_back.pdf | 677 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.