Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18213
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประนอม โอทกานนท์-
dc.contributor.authorเลขา สมยืน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-19T15:29:24Z-
dc.date.available2012-03-19T15:29:24Z-
dc.date.issued2521-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18213-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการดูแลบาดแผลผ่าตัดริดสีดวงทวารหนักโดยวิธีการสวนล้างและวิธีให้ผู้ป่วยนั่งแช่ในน้ำยาด่างทับทิม 1: 8000 กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดโรคริดสีดวงทวารจากวชิรพยาบาล รวมตัวอย่างประชากรทั้งหมด 36 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 18 คน และกลุ่มควบคุม 18 คนวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบการหายของบาดแผลผ่าตัดที่ได้รับการดูแลทั้ง 2 วิธี โดยทดสอบความแตกต่างของค่ามัชฌิมเลขคณิตด้วยการทดสอบค่าที (t-test) ปรากฏผลดังนี้ 1. อัตราการหายของบาดแผลริดสีดวงทวารในวันที่ 3 และวันที่ 5 หลังผ่าตัดของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลโดยวิธีการสวนล้างด้วยน้ำยาด่างทับทิม 1: 8000 ดีกว่าอัตราการหายของบาดแผลในกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลโดยให้ผู้ป่วยนั่งแช่ในน้ำยาด่างทับทิม 1: 8000 ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 ดังนั้นจึงปฏิเสธสมมติฐานที่ว่าผลการดูแลบาดแผลผ่าตัดริดสีดวงทวารด้วยวิธีการสวนล้าง และวิธีให้ผู้ป่วยนั่งแช่ในน้ำยาด่างทับทิม 1: 8000 ไม่มีความแตกต่างกัน อัตราการหายของบาดแผลผ่าตัดโดยการดูแลทั้ง 2 วิธี ได้ผลเช่นเดียวกันในกลุ่มตัวอย่างประชากรเพศชาย ส่วนกลุ่มตัวอย่างประชากรเพศหญิง พบว่าหลังผ่าตัดวันที่ 3 อัตราการหายของบาดแผลไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และหลังผ่าตัดวันที่ 5 พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลโดยการสวนล้างมีอัตราการหายของบาดแผลดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลโดยให้ผู้ป่วยนั่งแช่ในน้ำยาด่างทับทิม ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 2. อัตราการหายของบาดแผลริดสีดวงทวารในวันที่ 3 และวันที่ 5 หลังผ่าตัดของกลุ่มตัวอย่างอายุ 20-35 ปี และ 51-65 ปี ที่ได้รับการดูแลบาดแผลทั้ง 2 วิธี ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 36-50 ปี ที่ได้รับการดูแลบาดแผลโดยการสวนล้างมีอัตราการหายของบาดแผลดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลโดยวิธีให้ผู้ป่วยนั่งแช่ในน้ำยาด่างทับทิม ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 3. อาการแสดงการหายของบาดแผลวัดตามระดับการบวบ พบว่าวันที่ 3 และวันที่ 5 หลังผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ได้รับการดูแลโดยวิธีสวนล้างมีอัตราการบวมน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลโดยวิธีนั่งแช่ในน้ำยาด่างทับทิม ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 ส่วนอาการแสดงวัดตามระดับการมีเลือดออกและความเจ็บปวดพบว่า หลังผ่าตัดวันที่ 3 กลุ่มที่ได้รับการดูแลโดยวิธีการสวนล้างมีเลือดออกและเจ็บปวดน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลโดยวิธีนั่งแช่ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 และหลังผ่าตัดวันที่ 5ได้ผลเช่นเดียวกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 อาการแสดงวัดตามอุณหภูมิของร่างกายและการถ่ายอุจจาระพบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในวันที่ 3 และวันที่ 5 หลังผ่าตัด-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this experimental study was to study the results of Hot Sitz Bath and Irrigation with Potassium Permanganate after Hemorrhoidectomy. The sample of the study were 36 hemorrhoidectomy patients admitted at Wachira Hospital. The sample were divided into two groups, contral and experimental groups. The data were statistically analyzed and the differences between mean were tested with the critical ratio (t-test). The finding of this experimental study are as the following statements. 1. There is a statistically significant difference in wound healing on the third and the fifth day after hemorrhoidectomy among the patient with Hot Sitz Bath and the patient with Irrigation at .01 level. And this also indicated that the patients with Irrigation had wound healing better than did the patients with Hot Sitz Bath. The study also gave the same results in the sample which were male patients. In female patients, there is no statistically significant difference on the third day at .05 level, and there is a statistically difference on the fith day after hemorrhoidectomy at .05 level. 2. There is no statistically significant difference in wound healing among both groups in the patients age ranged 20-35 and 51-65 years at .05 level. The study pointed that the patient age ranged 36-50 years with Irrigation had wound healing better than did the patient with Hot Sitz Bath at .05 level. 3. The study of wound healing concerning the signs of edema, bleeding and pain in the patient with Irrigation gave better scores than did the patients with Hot Sitz Bath. But the patients in both groups gave the same scores concerning the signs of body temperature and elemination.-
dc.format.extent391324 bytes-
dc.format.extent439752 bytes-
dc.format.extent615414 bytes-
dc.format.extent490720 bytes-
dc.format.extent643894 bytes-
dc.format.extent573098 bytes-
dc.format.extent585980 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพยาบาลและการพยาบาลen
dc.subjectโรค -- การป้องกันและควบคุมen
dc.titleศึกษาเปรียบเทียบการดูแลบาดแผลผ่าตัดริดสีดวงทวารโดยการนั่งแช่ และการสวนล้างด้วยน้ำยาด่างทับทิมen
dc.title.alternativeComparative of hot sitz bath and irrigation with potassium permanganate after hemorroidectomyen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisordpnanom@hotmail.com-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lakha_So_front.pdf382.15 kBAdobe PDFView/Open
Lakha_So_ch1.pdf429.45 kBAdobe PDFView/Open
Lakha_So_ch2.pdf600.99 kBAdobe PDFView/Open
Lakha_So_ch3.pdf479.22 kBAdobe PDFView/Open
Lakha_So_ch4.pdf628.8 kBAdobe PDFView/Open
Lakha_So_ch5.pdf559.67 kBAdobe PDFView/Open
Lakha_So_back.pdf572.25 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.