Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18277
Title: ความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลเกี่ยวกับการบริหาร ของวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
Other Titles: Student nurse's opinions on administration of Thai Red Cross Society College of Nursing
Authors: จันทร์เพ็ญ ศิรินาม
Advisors: นพรัตน์ ผลาพิบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย -- การบริหาร
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลที่มีต่อการบริหารงานของวิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีจำนวน 240 คน เป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1, 2, 3 และ 4 ปีการศึกษา 2517 ชั้นละ 60 คน โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการบริหารงานของวิทยาลัยพยาบาลซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเองเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลแต่ละระดับชั้นด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวน และทดสอบความแตกต่างของตัวแปรเป็นรายคู่ โดยใช้อัตราส่วนวิกฤติเป็นสถิติในการทดสอบ ปรากฏผลดังนี้ 1. ความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลที่มีต่อการบริหารงานของวิทยาลัยพยาบาลทางฝ่ายวิชาการ และกิจการนักศึกษาทั้ง 4 ระดับ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสนองสมมติฐานข้อที่ 1 และ 3 ที่ว่าความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1, 2, 3 และ 4 ต่อการบริหารงานของวิทยาลัยพยาบาลแตกต่างกันและนักศึกษาพยาบาลในแต่ละชั้นมีความคิดเห็นแตกต่างกันในการบริหารงานทางวิชาการและกิจการนักศึกษา และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายคู่ปรากฏว่านักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 มีความคิดเห็นในเชิงนิมานสูงกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 2, 3 และ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01ซึ่งไม่สนองสมมติฐานข้อ 2 ที่ว่านักศึกษาพยาบาลในระดับชั้นที่สูง มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานของวิทยาลัย พยาบาลเป็นไปในทางนิมานมากกว่านักศึกษาที่เรียนอยู่ในชั้นที่รองๆ ลงมา 2. ความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลที่มีต่อการบริหารงานทางวิชาการทั้ง 4 ระดับ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสนองสมมติฐานข้อที่ 3 ที่ว่านักศึกษาพยาบาลในแต่ละชั้น มีความคิดเห็นแตกต่างกันในการบริหารงานทางวิชาการและกิจการนักศึกษา และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายคู่ปรากฏว่านักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 มีความคิดเห็นในเชิงนิมานสูงกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 2, 3 และ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01ซึ่งไม่สนองสมมติฐานข้อ 2 ที่ว่านักศึกษาพยาบาลในระดับชั้นที่สูง มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานของมหาวิทยาลัยพยาบาลเป็นไปในทางนิมานมากกว่านักศึกษาที่เรียนอยู่ในชั้นที่รองๆ ลงมา 3. ความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลที่มีต่อการบริหารงานทางฝ่ายกิจการนักศึกษาทั้ง 4 ระดับ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสนองสมมติฐานข้อที่ 3 ที่ว่านักศึกษาพยาบาลในแต่ละชั้น มีความคิดเห็นแตกต่างกันในการบริหารงานทางวิชาการและกิจการนักศึกษา และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายคู่ปรากฏว่านักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มีความคิดเห็นในเชิงนิมานสูงกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ ปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01ซึ่งสนองสมมติฐานข้อ 2 ที่ว่านักศึกษาพยาบาลในระดับชั้นที่สูง มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานของมหาวิทยาลัยพยาบาลเป็นไปในทางนิมานมากกว่านักศึกษาที่เรียนอยู่ในชั้นที่รองๆ ลงมา
Other Abstract: The purpose of this study was to compare opinions of student nurses on the administration of the college of nursing of Thai Red Cross Society. The constructed questionnaire was used to collect data from 240 subjects. The data were statistically analyzed by the analysis of the variance, and the differences between means were tested with the critical ratio. The findings of this study revealed an existing difference in opinion among the student nurses are as the following statements. 1. There is statistically significant difference in opinion among the four groups in their opinions on the administration of academic and student personnel services of the college of nursing at .01 level, (p < .01) and this also indicates that the freshman group had better opinion than the sophomore, junior and senior groups at the .01 level (p < .01). 2. There is statistically significant difference in opinion among the four groups in their opinions on the administration of academic part of the college of nursing at .01 level, (p < .01) and this again indicates that the freshman group had better opinion than the sophomore, junior and senior groups at .01 level (p < .01). 3. There is statistically significant difference in opinion among the four groups in their opinions on the administration of student personnel services of the college of nursing at the .01 level, (p < .01) and this indicates that the senior group had better opinion than the sophomore and junior groups at .01 level (p < .01).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18277
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanpen_Si_front.pdf369.6 kBAdobe PDFView/Open
Chanpen_Si_ch1.pdf379.02 kBAdobe PDFView/Open
Chanpen_Si_ch2.pdf500.61 kBAdobe PDFView/Open
Chanpen_Si_ch3.pdf272.59 kBAdobe PDFView/Open
Chanpen_Si_ch4.pdf772.52 kBAdobe PDFView/Open
Chanpen_Si_ch5.pdf540.34 kBAdobe PDFView/Open
Chanpen_Si_back.pdf599.07 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.