Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18280
Title: การสร้างชุดการสอนสำหรับห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน วิชาภาษาไทยสำหรับโรงเรียนครูคนเดียว ในจังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Construction of learning center classroom instructional package on thai language for oneteacher school in Nakornrajasima
Authors: ฉันทนา ลีนะเสน
Advisors: ชัยยงค์ พรหมวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: chaiyong@irmico.com, chaiyong@ksc.au.edu
Subjects: ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ คือ (1) เพื่อสร้างชุดการสอนสำหรับห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน วิชาภาษาไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 จำนวน 4 ชุด สำหรับโรงเรียนครูคนเดียว (2) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการสอนที่สร้างขึ้นโดยกำหนดกฎเกณฑ์ประสิทธิภาพไว้ 80/80 วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยแบ่งเนื้อหาวิชาภาษาไทยในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 เป็นหน่วยย่อย และเลือกมาสร้างชุดการสอนโดยใช้ระบบการผลิตชุดการสอยแผนจุฬาฯ ชั้นละ 1 ชุด จำนวน 4 ชุด คือการสอนที่ 1 เรื่องสระ “เ-อ” สำหรับชั้นประถมปีที่ 1 ชุดการสอนที่ 2 เรื่อง “นาฬิกา” สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชุดการสอนที่ 3 เรื่อง “เป็นนกอะไรดีเอ่ย” สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชุดการสอนที่ 4 เรื่อง “นายสุดจินดา” สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้วนำชุด การสอนทั้ง 4 ชุด ไปทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพตามขั้นตอน 3 ขั้น คือแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (1:1) แบบกลุ่ม (1:10) และแบบสนาม (1:100) เพื่อปรับปรุงชุดการสอนให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ในการทดลองทุกชั้น นักเรียนต้อง (1) ทำแบบสอบก่อนเรียน ซึ่งได้ผ่านการทดสอบอำนาจจำแนกความยากและความเที่ยงมาแล้ว (2) ทำแบบฝึกหัดประจำศูนย์ และ (3) ทำแบบสอบหลังเรียนเสร็จแล้วผู้วิจัยนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อวัดความก้าวหน้าของนักเรียนในการเรียนจากชุดการสอน และหาประสิทธิภาพของชุดการสอนที่สร้างขึ้น ผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดสอบ ปรากฏว่า ชุดการสอนทั้ง 4 ชุด มีประสิทธิภาพ 84.21/83.68,84.00/81.30,82.22/80.00 และ96.92/83.08 ตามลำดับ แสดงว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ ผลการสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่า ชุดการสอนที่สร้างขึ้นทั้งสี่ชุดนี้ทำให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น
Other Abstract: Purposes: (1) To construct four learning-center classroom instructional packages for one-teacher schools. (2) To find the efficiency of the completed packages using the 80/80 criterion. Procedures: The content of the Thai language in Prathomsuksa one, two, three and four were divided into units four of which were constructed into instructional packages using "Chula Plan" They were Unit 1, The Vowel "Ua," for Prathomsuksa one, Unit 2, "Nalika," for Prathomsuksa two, Unit 3, "Pen Nok Arai Di Oei," for Prathomsuksa three, and Unit 4, "Nai Sudchinda," for Prathomsuksa four. These four completed packages were tried out to find their efficiency on a one-to-one basis (1:1); a small group basis (1:10); and a field test basis (1:100) in order to improve their effieciency based on the 80/80 criterion. After the pre-teat, exercises and the post-test had be administered, the data were analyzed to determine the efficiency of each package. Results: The results of this study indicated that the efficien¬cy of the four packages were 84.21/83.68, 84.00/81.30, 82.22/80.00 and 96.92/83.08 respectively, thus meeting the set criterion of 80/80. The pre-test and post-test scores, yielding a significant difference at the 0.01 level, indicated that the pupils' knowledge was significantly increased after learning from these packages.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18280
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chantana_Li_front.pdf377.95 kBAdobe PDFView/Open
Chantana_Li_ch1.pdf441.72 kBAdobe PDFView/Open
Chantana_Li_ch2.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
Chantana_Li_ch3.pdf723.22 kBAdobe PDFView/Open
Chantana_Li_ch4.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
Chantana_Li_ch5.pdf295.72 kBAdobe PDFView/Open
Chantana_Li_back.pdf411.32 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.