Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18287
Title: ตลาดขายส่งกระเทียมในประเทศไทย
Other Titles: The wholesale market of garlic in Thailand
Authors: พัชรินทร์ กิจศิริพรชัย
Advisors: นงนิตย์ ศิริโภคากิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: กระเทียม
กระเทียม -- การตลาด
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กระเทียมเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ทำรายได้ดีให้กับเกษตรกร การค้ากระเทียมโดยทั่วไปมี 2 ระดับ คือ การค้าในท้องถิ่น ซึ่งได้แก่การค้าในจังหวัดต่างๆ ที่เป็นแหล่งผลิตระดับหนึ่ง และอีกระดับหนึ่งเป็นการค้าในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้ากระเทียมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่เรียกกันว่า “ตลาดกลาง” เกษตรกรจะปลูกกระเทียมกันปีละครั้ง หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม กระเทียมที่เก็บเกี่ยวได้จะถูกนำมาขายให้พ่อค้าคนกลางในท้องถิ่นในรูปกระเทียมคละ จากนั้นก็จะถูกส่งเข้ามายังตลาดกลางในรูปกระเทียมที่แยกขนาดแล้ว เป็นขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก เพื่อจำหน่ายให้กับผู้บริโภคและส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศใกล้เคียง สำหรับราคาจำหน่าย พ่อค้าในตลาดกลางจะเป็นผู้กำหนดขึ้นโดยพิจารณาจากอุปสงค์และอุปทานในท้องตลาดแต่ละวัน ราคาที่จำหน่ายได้นี้จะถูกหักเป็นค่าบริการร้อยละ 6.5 ส่วนที่เหลือจึงจะเป็นราคาสุทธิของพ่อค้าในตลาดท้องถิ่น ในการแจ้งข่าวสาร ภาวการณ์ตลาดและราคา พ่อค้าในตลาดกลางจะเป็นผู้แจ้งให้พ่อค้าในท้องถิ่นทราบเป็นประจำทุกๆวันพุธ และวันเสาร์ เพื่อให้พ่อค้าในท้องถิ่นใช้เป็นหลักพิจารณากำหนดราคารับซื้อกระเทียมจากเกษตรกร อนึ่งในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้เขียนได้ศึกษาทั้งจากข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ โดยออกสัมภาษณ์และสังเกตการณ์การดำเนินงานของพ่อค้าทั้งในระดับท้องถิ่นและในตลาดกลางอย่างละเอียดสถานที่ศึกษาได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ลำปาง และตลาดกลางกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาจากบทความ วารสารและบทวิจัยของเจ้าหน้าที่จากสถาบันต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้ผลสรุปดังนี้ 1. ธุรกิจการค้าส่งกระเทียมในตลาดท้องถิ่น ส่วนใหญ่เป็นกิจการเจ้าของคนเดียว ส่วนธุรกิจการค้าส่งในตลาดกลางส่วนใหญ่เป็นกิจการประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด 2. การกำหนดราคารับซื้อและขายกระเทียมของพ่อค้าทุกระดับจะกำหนดขึ้นจากกฎอุปสงค์และอุปทานในตลาดกลาง 3. ทั้งเกษตรกรและพ่อค้าประสบกับปัญหาเรื่องราคาซื้อและราคาขาย ขาดความแน่นอน เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งปัญหาการแก่งแย่งกันรับซื้อ 4. การคมนาคมขนส่งและการติดต่อสื่อสารระหว่างเกษตรกรกับพ่อค้าในท้องถิ่นและระหว่างพ่อค้าในท้องถิ่นกับพ่อค้าในตลาดกลางยังไม่ดีพอทำให้เกิดความล่าช้าในการติดต่อ สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นมีดังนี้ 1. ส่งเสริมการค้ากระเทียมทั้งในตลาดท้องถิ่นและตลาดกลางดำเนินไปเรื่อยๆและโดยสม่ำเสมอ โดยหาทางเพิ่มความต้องการของตลาดต่างประเทศให้สูง ในขณะเดียวกันลดปริมาณการนำกระเทียมเข้าจากต่างประเทศโดยการเพิ่มภาษีขาเข้าให้สูงขึ้นหรือห้ามการนำเข้าโดยเด็ดขาด อย่างไรก็ดีมาตรการการลดหรือการห้ามนำกระเทียมเข้าควรเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะความต้องการภายในประเทศด้วย 2. ปรับปรุงการคมนาคมในท้องถิ่น โดยจัดสร้างและขยายถนนจากแหล่งผลิตมาสู่ตลาดในท้องถิ่นเพื่อช่วยให้การขนส่งกระเทียมจากแหล่งผลิตมาสู่ตลาดเป็นไปโดยสะดวกรวดเร็ว จัดระบบการสื่อสารติดต่อให้ได้ประสิทธิภาพ เช่น จัดให้มีโทรศัพท์ในเขตอำเภอเมืองให้มากขึ้น 3. กรมวิชาการเกษตร ควรหาทางปรับปรุงพันธุ์กระเทียมไทยให้มีคุณภาพดีขึ้นทัดเทียมกระเทียมต่างประเทศ เพื่อให้ตลาดต่างประเทศหันมาซื้อกระเทียมไทยเพิ่มขึ้น 4. สนับสนุนกิจการสหกรณ์ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวางเพื่อให้สหกรณ์สามารถให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในด้านต่างๆ
Other Abstract: Garlic is one of the economic products which earns income for farmers. In general garlic is traded at two levels, namely in the local provinces where garlic is grown, and in the Bangkok metropolitan which represents the center for garlic trading in Thailand and is referred to as the “central market”. Garlic is grown once a year during November and December after harvesting season. Garlic crops are sold to the middlemen in the province in the form of mixed crops which are then graded into different sizes and sent to the central market for sale to the consumers and export to neighboring countries. The wholesale prices of garlic are set up by the middlemen in the central market on the basis of the daily demand and supply. The central middlemen deduct 6.5% brokerage on the selling price leaving the net price to be earned by the local middlemen. Information on market conditions and market prices is reported by the middlemen in the central market to the local middlemen every Wednesday and Saturday so that the latter may use the information as guideline for buying garlic from farmers. This research involved a detail study and analysis of primary and secondary data collected from interviews with both the local and the central middlemen and from observations of their activities. The study was carried out in Chiangmai, Lampoon, Chiangrai, Lampang and the central market in Bangkok. References were also made to books, articles and research papers of government agency as the related subject. The following conclusions have been drawn from the research:- 1. Wholesale garlic trade in the local market is mainly in the form of one-man business, whereas in the central market the trade is in the form of limited partnerships. 2. The selling and buying prices of garlic at all levels are set up on the basis of demand and supply in the central market. 3. The main problems being faced by both farmers and middlemen are the lack of certainty with regard to selling and buying prices, the rapid price changes, and competition between middlemen. 4. Transportation and communication between farmers and local middlemen, and between local middlemen and central middlemen are inadequate and consequently cause delay in trading operations. From the above conclusions, the following suggestions are proposed:- 1. Efforts should be made to promote a continued and consistent wholesale garlic trade in both the local market and the central market, whilst reducing import through increase in tariff or imposing a ban on import. However, any measures taken to decrease or ban import of foreign garlic should be reviewed and revised as necessary to suit local demand. 2. Transportation and Communication systems should be improved by constructing new and enlarging existing roads from production area to the local market, and providing more telephones in the main cities, which would result in faster and more convenient communication. 3. The department of Agriculture should develop quality Thai garlic which would meet foreign standard and hence secure more demand from foreign market. 4. To enable Co-operatives to provide farmers with the needed assistance, support should be given to Co-operatives to enable them to operate widely and efficiently.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2525
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การตลาด
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18287
ISBN: 9745609838
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharin_Ki_front.pdf425.85 kBAdobe PDFView/Open
Patcharin_Ki_ch1.pdf335.55 kBAdobe PDFView/Open
Patcharin_Ki_ch2.pdf462.18 kBAdobe PDFView/Open
Patcharin_Ki_ch3.pdf594.93 kBAdobe PDFView/Open
Patcharin_Ki_ch4.pdf572.32 kBAdobe PDFView/Open
Patcharin_Ki_ch5.pdf393.21 kBAdobe PDFView/Open
Patcharin_Ki_ch6.pdf389.98 kBAdobe PDFView/Open
Patcharin_Ki_back.pdf253 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.