Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18308
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรุจิรา เผื่อนอัยกา-
dc.contributor.advisorกนก สรเทศน์-
dc.contributor.authorพุธรำไพ จันทรวราทิตย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-21-
dc.date.available2012-03-21-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18308-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการลดลงของรอยด่างขาวจากฟันตกกระชนิดไม่รุนแรง ระหว่างการใช้ซีพีพี- เอซีพีเพสต์ และซีพีพี-เอซีเอฟพีเพสต์ ทารอยโรควันละ 2 ครั้งต่อเนื่องกัน 3 เดือน วัสดุและวิธีการ: การวิจัยนี้ได้คัดเลือกฟันตัดถาวรซี่กลางบนขวาและซ้ายที่มีรอยด่างขาวจากฟันตกกระ 140 ซี่ จากเด็ก 70 คน อายุ 10-15 ปี อาศัยอยู่ในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นบริเวณที่มีระดับฟลูออไรด์ในน้ำประปา 0.541 ส่วนในล้านส่วน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ใช้เฉพาะยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1000 ส่วนในล้านส่วนเพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 ทารอยโรคด้วยซีพีพี-เอซีพีเพสต์ร่วมกับการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ และกลุ่มที่ 3 ทารอยโรคด้วยซีพีพี-เอซีเอฟพีเพสต์ร่วมกับการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ประเมินผลด้วยภาพถ่ายดิจิตอล โดยการวัดระดับความเข้มแสงของรอยโรคด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์อิมเมจ-โปร® พลัส เวอร์ชั่น 6.0 ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความเข้มแสงก่อนและหลังการใช้เพสต์ภายในกลุ่มเดียวกันโดยใช้สถิติทีแบบจับคู่ และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความเข้มแสงระหว่างกลุ่มด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว นอกจากนี้ได้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรงของฟันตกกระโดยใช้ดัชนีพื้นผิวของฟันตกกระ ซึ่งประเมินโดยทันตแพทย์ที่มีระดับความรู้และความชำนาญใกล้เคียงกันจำนวน 5 คน วิเคราะห์ร้อยละของการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังการใช้เพสต์ด้วยสถิติเชิงบรรยาย และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มด้วยสถิติทดสอบแบบไคสแควร์ ผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยความเข้มแสงในแต่ละกลุ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกกลุ่ม (p=0.003, p<0.001) อย่างไรก็ตามความเข้มแสงในระหว่างกลุ่มแตกต่างกันแต่ไม่มีนัยสำคัญ (p=0.194) และเมื่อเปรียบเทียบระดับความรุนแรงของฟันตกกระโดยใช้ดัชนีพื้นผิวของฟันตกกระ พบว่าส่วนใหญ่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทดลองแต่ละกลุ่มกับระดับความรุนแรงของฟันตกกระ (p=0.067). สรุป: เมื่อเปรียบเทียบภาพถ่ายดิจิตอลของรอยด่างขาวจากฟันตกกระภายหลังการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์เพียงอย่างเดียว กับการใช้ซีพีพี-เอซีพีเพสต์ หรือซีพีพี-เอซีเอฟพีเพสต์ร่วมกับยาสีฟันผสมฟลูออไรด์วันละ 2 ครั้ง ต่อเนื่องกัน 3 เดือน พบว่าความเข้มแสงของรอยด่างขาวเมื่อวัดจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลดลงแต่ไม่แตกต่างกัน และเมื่อวิเคราะห์ระดับความรุนแรงด้วยดัชนีพื้นผิวของฟันตกกระ โดยประเมินด้วยสายตาของทันตแพทย์ พบว่าระดับความรุนแรงก่อนและหลังการวิจัยไม่มีการเปลี่ยนแปลง แสดงให้เห็นว่าทั้งยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ซีพีพี-เอซีพีเพสต์ และซีพีพี-เอซีเอฟพีเพสต์ ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางคลินิกของรอยด่างขาวที่เกิดจากฟันตกกระในระดับไม่รุนแรงen
dc.description.abstractalternativeObjective: To compare white spot lesion regression on mild fluorosed upper central incisors after 3 month daily application of CPP-ACP and CPP-ACFP paste. Methods: One hundred and forty mild fluorosed upper permanent central incisors from seventy children, aged 10-15 years (means=11.11 years), continuous living in Kratumban district, Samutsakorn province (0.541 ppmF in tab water) were recruited for the study. They were divided into three groups (one control and two experiment groups). Throughout the study, all of them were assigned to brush with 1,000 ppm fluoridated toothpaste. After brushing, the experiment participants applied CPP-ACP or CPP-ACFP paste on labial surface of affected teeth (#11, #21). A standardized photographic system was used to take pre-and post intervention. Consequently the pictures were evaluated by measuring luminance intensity (analyzing with Image-Pro® Plus version 6.0) and visual assessing the TSIF score by five calibrated dentists. Results: In the aspect of luminance intensity, statistically regression of white spot lesions in all group were found (paired t-test, p=0.003, p<0.001). However, there was no significant different between each group (one way ANOVA, p=0.194). According to TSIF score, no statistically significant regression of lesion was found (Chi-square test, p=0.067). Conclusion: This study shows no differences in white spot lesion regression after 3 month daily application of CPP-ACP paste, CPP-ACFP paste and 1000 ppmF toothpaste.en
dc.format.extent4246172 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.463-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectทันตกรรมเด็ก-
dc.subjectทันตกรรมบูรณะ-
dc.subjectฟลูออไรด์-
dc.subjectPedodontics-
dc.subjectDentistry, Operative-
dc.subjectFluorides-
dc.titleผลของซีพีพี-เอซีพีเพสต์ และซีพีพี-เอซีเอฟพีเพสต์ต่อการลดลงของรอยด่างขาวที่เกิดจากฟันตกกระen
dc.title.alternativeEffects of CPP-ACP paste and CPP-ACFP paste on fluorosis-white spot lesion regressionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineทันตกรรมสำหรับเด็กes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorRujira.Pu@Chula.ac.th-
dc.email.advisorKanok.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.463-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pootrampai_ch.pdf4.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.