Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18341
Title: การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของฟัน โครงสร้างใบหน้าและรูปหน้าด้านข้าง ภายหลังการจัดฟันด้วยวิธีการถอนฟันและไม่ถอนฟัน ในผู้ป่วยที่มีการสบฟันผิดปกติชนิดที่ 2 แบบที่ 1
Other Titles: Dentoskeletal and facial profile changes following orthodontic treatment with extraction and non-extraction in class II division 1 patients
Authors: พิชญา ไชยรักษ์
Advisors: สมรตรี วิถีพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Smorntree.V@Chula.ac.th
Subjects: ทันตกรรมจัดฟัน
Orthodontics
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของฟัน โครงสร้างใบหน้า และรูปหน้าด้านข้าง ภายหลังการจัดฟันร่วมกับการถอนฟัน และการจัดฟันโดยไม่ถอนฟันร่วมกับการใส่เซอร์วิเคิลเฮดเกียร์ ในผู้ป่วยไทยที่มีการสบฟันผิดปกติชนิดที่2 แบบที่1 โดยประเมินจากภาพรังสีวัดศีรษะด้านข้างก่อนและภายหลังการรักษาของผู้ป่วยไทยที่มีการสบฟันผิดปกติชนิดที่2 แบบที่ 1 จำนวน 95 คน ซึ่งได้รับการจัดฟันด้วยวิธีการไม่ถอนฟัน (51คน อายุเฉลี่ย 10.5±1.3 ปี) และวิธีการถอนฟัน (44 คน อายุเฉลี่ย 11.8±1.3 ปี) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของฟันและโครงสร้างใบหน้าจากการซ้อนทับภาพรังสีก่อนและหลังการรักษา และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของรูปหน้าด้านข้างจาก มุมจมูก-ริมฝีปาก และ ระยะจากริมฝีปากล่างถึงระนาบสุนทรียะ ผลการศึกษา พบการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างใบหน้าในกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ถอนฟันมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ถอนฟัน ในขณะที่การเปลี่ยนตำแหน่งของฟันในแนวระนาบในกลุ่มตัวอย่างที่ถอนฟันมีมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่ถอนฟัน และพบว่า เซอร์วิเคิลเฮดเกียร์มีผลปรับเปลี่ยนให้ขากรรไกรบนมีการเจริญในแนวดิ่งมากขึ้น และสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตในแนวระนาบและแนวดิ่งของขากรรไกรล่าง การจัดฟันด้วยวิธีถอนฟันสามารถลดความยื่นของริมฝีปากล่างได้มากกว่าการจัดฟันแบบไม่ถอนฟัน สรุปว่า การรักษาการสบฟันผิดปกติชนิดที่ 2 แบบที่ 1 โดยไม่ถอนฟันร่วมกับการใช้เซอร์วิเคิลเฮดเกียร์ เป็นการปรับเปลี่ยนการเจริญเติบโตของขากรรไกรบนและขากรรไกรล่าง ส่วนการจัดฟันด้วยการถอนฟันในระยะฟันถาวรมีผลเปลี่ยนแปลงตำแหน่งฟันมากกว่าโครงสร้างใบหน้า การรักษาทั้งสองวิธีมีผลปรับเปลี่ยนให้รูปหน้าด้านข้างภายหลังการรักษาสวยงามและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
Other Abstract: The purpose of the study was to evaluate the skeletal, dental and facial profile changes following orthodontic treatment with extraction and non-extraction combined with cervical pulled headgear. Pretreatment and postreatment cephalograms of 95 Class II division 1 Thai patients, treated with non-extraction ( 51 patients, mean age 10.5±1.3 years) and extraction (44 patients, mean age 11.8±1.3 years), were superimposed to evaluate the dentoskeletal changes. The effect of treatment on the facial profile was determined by nasolabial angle and lower lip to E line value. Results of the study showed that there were greater significantly skeletal changes in the non-extraction group than those in the extraction group, whereas dentoalveolar changes in horizontal direction were greater in the extraction group. Cervical headgear can redirect the maxillary growth into more downward direction and enhance the mandibular growth in the forward and downward direction. Lower lip was more retracted in the extraction group. Management of Class II division 1 malocclusion was accomplished mainly by orthopedic effect in the non-extraction group and by orthodontic effect in the extraction group. Both treatment protocols had the favorable effect on the soft tissue profile.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมจัดฟัน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18341
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.428
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.428
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pitchaya_Ch.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.