Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1836
Title: จินตทัศน์ทางสังคมและกลวิธีการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล : การศึกษาวิเคราะห์ : รายงานการวิจัย
Other Titles: Social imagination and narrative schem in the films of Prince Chatri C.Yukol : on analytical study
Authors: รัตนา จักกะพาก
Email: Rattana.C@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง
Subjects: ชาตรีเฉลิม ยุคล, ม.จ.
การเล่าเรื่อง
ภาพยนตร์ไทย--ประวัติและวิจารณ์
การวิเคราะห์เนื้อหา
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพยนตร์ซึ่งเป็นผลงานการกำกับโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ทางด้านโครงสร้างการเล่าเรื่อง รูปแบบของโครงเรื่อง และแบบจำลองคู่ตรงข้ามตามแนวโครงสร้างนิยม การวิเคราะห์เนื้อหา ตามผังแสวงหาและสี่เหลี่ยมสัญญศาสตร์ รวมทั้งการศึกษาภาษาภาพยนตร์ด้านมุมมอง การจัดองค์ประกอบ การลำดับภาพ การใช้เสียงประกอบ และศึกษาระบบการเล่าเรื่องที่สัมพันธ์กับสื่อ ประเภทของเรื่อง วัฒนธรรม และลักษณะเฉพาะตนของท่านมุ้ย ในฐานะผู้กำกับการแสดง ผลการวิจัยพบว่า โครงเรื่องมีลักษณะเป็นการสะท้อนปัญหาสังคม ส่วนใหญ่ใช้การสื่อความหมายด้วยองค์ประกอบภาพ (Mise en scene) การลำดับภาพ เสียงประกอบและดนตรีเป็นสำคัญ มีความโดดเด่นมากในเรื่ององค์ประกอบภาพ ภาพที่นำเสนอจะเป็นการถ่ายทอดสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่ตัวละครเผชิญอยู่ได้อย่างดี เรื่องราวที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับสังคมไทยที่เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในชนชั้นล่าง สำหรับแก่นของเรื่องและโครงเรื่องส่วนใหญ่ไม่ซับซ้อนจะเสนอปัญหาอย่างตรงไปตรงมา แก่นของเรื่องมักจะเกี่ยวข้องกับความเชื่อ ค่านิยม และคำสั่งสอนที่เป็นบรรทัดฐานของสังคม เช่น การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว รู้จักหน้าที่ตนเอง เป็นต้น การสร้างความขัดแย้งในโครงเรื่องจากการศึกษาพบว่ามี 3 ลักษณะคือ 1) ความขัดแย้งมนุษย์กับมนุษย์ 2) มนุษย์ขัดแย้งกับสังคม 3) มนุษย์ขัดแย้งกับธรรมชาติ
Other Abstract: The aims of this research are to analyse the films directed by Prince Chatri C. Yukol in the narrative structure, the patterns of plot and the model and the semiotic square, to study the film language regarding point of view, the mise en scene, the montage, the use of sound effect, and the narrative system in relation in relation to the media, the types of the story andn the auteurship. The results of the research finds that the plots reflect social problems. The contents are mostly represented by mise en scene, motage, sound effect and music. The outstanding element is the mise en scene. The images presented represent the feeling and the emotions of the dramatic personal. Most themes and plots of those Films are not complicating, but stratght forwardly presented. The stories are mostly about lower class in Thailand. Their themes tend to invlove with some of Thai beliefs, values, and preaches, such as "Rewards for goodness and punishment for badness" "to know your own responsibilities". There are three main kinds of conflicts found in the plot: conflict between man and man, between man and society, and between man and nature.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1836
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1273
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.1273
Type: Technical Report
Appears in Collections:Comm - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rattana(imag).pdf14.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.