Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18392
Title: การศึกษาการบริหารภาษีอากรของกรมสรรพากร
Other Titles: A study on tax administration of the revenue department
Authors: นงพงา บุญเปี่ยม
Advisors: สุรใจ ศิรินุพงศ์
สุภาภรณ์ พลนิกร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: กรมสรรพากร
ภาษีอากร
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบัน กรมสรรพากรเป็นกรมที่มีภาระหน้าที่ในการหารายได้จากภาษีอากรที่ใหญ่ที่สุดให้แก่รัฐบาล ในการดำเนินการจัดเก็บภาษีอากรให้สามารถบรรลุประสิทธิผลตรงตามเป้าหมายการจัดเก็บภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีได้นั้น กรมสรรพากรจะต้องดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารภาษีอากรของกรมฯ ในด้านการยกระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และยกระดับความสมัครใจในการชำระภาษีอากรของประชาชนโดยทั่วไปให้สูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา จากวัตถุประสงค์ของการศึกษาการดำเนินงาน และการบริหารงานภาษีอากรของกรมสรรพากร พบว่ามีปัญหาต่างๆที่กรมสรรพากรต้องเผชิญอยู่คือ 1) ปัญหาในด้านการคลังของรัฐบาล ที่ทำให้กรมสรรพากรต้องใช้ความพยายามในการจัดเก็บภาษีอากร ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐบาลได้มอบหมายให้ 2) ปัญหาในด้านผู้เสียภาษี ที่ยังขาดความสำนึกในหน้าที่ของพลเมืองดี ซึ่งนำไปสู่การหลีกเลี่ยงและหลบหลีกการเสียภาษีอากร 3) ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการบริหาร ซึ่งได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การจัดหาเจ้าหน้าที่ การอำนวยการ การประสานงาน การรายงานผลการปฏิบัติงาน และด้านงบประมาณ ยังต้องได้รับการปรับปรุง 4) ปัญหาในการปฏิบัติการ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ผู้เสียภาษี ไม่มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายประมวลรัษฎากร และระเบียบแนวทางปฏิบัติได้ดีเท่าที่ควร นอกจากนั้นยังมีสาเหตุมาจากการขาดความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ในการศึกษา ผู้เขียนได้ตั้งสมมติฐานไว้ 2 ประการและได้ผลการศึกษาดังนี้ ประการที่ 1 ยอมรับสมมติฐานที่ว่า “การบริหารภาษีอากรของกรมสรรพากรในปัจจุบัน ยังไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควร เนื่องจากยังขาดการพัฒนาบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการบริหารภาษีอากร” ประการที่ 2 ยอมรับสมมติฐานที่ว่า “การกระจายหน่วยงานที่ทำหน้าที่ ในการปฏิบัติการไปยังสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ จะทำให้การบริหารภาษีอากรของกรมสรรพากรในด้านการจัดเก็บภาษีอากร และการให้บริการแก่ประชาชนดีขึ้น” ในการแก้ไขปัญหา สามารถแบ่งการแก้ไขปัญหาออกตามแหล่งที่มาของปัญหาได้ดังนี้ 1) ด้านผู้เสียภาษี โดยการหาวิธีการเพื่อสร้างความสมัครใจ ในการเสียภาษีอากร 2) ด้านเจ้าหน้าที่ โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน 3) ด้านประมวลรัษฎากร โดยการปรับปรุงแก้ไขช่องโหว่ของกฎหมาย
Other Abstract: At present, the Revenue Department plays the largest roles in securing revenue for the Government by way of collecting taxes and duties. To collect taxes as required by the financial goals which increase each year; the Revenue Department has to always improve its administration, to raise the level of efficiency of the officers and also to bring the tax payers to the voluntary compliance. From this study, it was found that the Revenue Department has to encounter many problems: 1) Problems of the Government’s Finance; the Revenue Department has to try to fulfill the goals assigned. 2) Problems of tax payers; tax payers’ lack of social consciousness and responsibilities which leads to tax evasion and tax avoidance. 3) Problems of administration process; such as planning, organizing, staffing, directing, coordinating, reporting and budgeting require to be improved. 4) Problems in operation work; tax payers did not know the law of taxes and regulations as well as they should. Besides, officers also lack of knowledge and understanding of works. In this study, the writer has set forth two hypotheses and received the following results; First, accept the hypothesis that “Tax administration of the Revenue Department at present is not as effective as it should be, because there is lack of developing manpower who work in tax administration”. Second, accept the hypothesis that “Decentralization of operation function to the area offices (Saw Paw Taws) enable the Revenue Department to better administer the collection of taxes and to better service the tax payers”. The way of solving the encountered problems can be devised by sources of problems as follows: 1) Tax payers - by seeking measures to create the voluntary compliance. 2) Staffing - by improving personnel efficiency. 3) Legislation – by eliminating tax loopholes.
Description: วิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พาณิชยศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18392
ISBN: 9745642223
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nongpanga_Bu_front.pdf425.5 kBAdobe PDFView/Open
Nongpanga_Bu_ch1.pdf479.29 kBAdobe PDFView/Open
Nongpanga_Bu_ch2.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
Nongpanga_Bu_ch3.pdf583 kBAdobe PDFView/Open
Nongpanga_Bu_ch4.pdf748.94 kBAdobe PDFView/Open
Nongpanga_Bu_ch5.pdf685.26 kBAdobe PDFView/Open
Nongpanga_Bu_ch6.pdf374.58 kBAdobe PDFView/Open
Nongpanga_Bu_back.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.