Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18502
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสงัด อุทรานันท์-
dc.contributor.authorทิพานี สมบัติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-24T04:39:06Z-
dc.date.available2012-03-24T04:39:06Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745663832-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18502-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูอาจารย์ที่มีต่อสภาพการจัดการเรียนการสอนประเภทวิชาคหกรรม ในสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาของกลุ่มสถานศึกษาที่ 2. 2. เพื่อศึกษาปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆในการจัดการเรียนการสอนประเภทวิชาคหกรรมในสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาของกลุ่มสถานศึกษาที่ 2. วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูอาจารย์ในวิทยาลัยเทคนิคและวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา จำนวน 10 แห่ง ในกลุ่มสถานศึกษาที่ 2 โดยมีผู้บริหารและครูอาจารย์รวมทั้งสิ้น 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย แบบตรวจสอบ และแบบมาตราส่วนประเมินค่าโดยแยกเป็น 2 ชุด สำหรับผู้บริหารและครูอาจารย์ แบบสอบถามทั้งหมดส่งไปยังผู้ตอบทางไปรษณีย์และได้รับตอบส่งกลับคืนมาทุกฉบับ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาร้อยละ ค่าความถี่ และค่าเฉลี่ย ให้ค่าน้ำหนักคะแนนเพื่อการจัดอันดับ แล้วจัดอันดับตามผลรวมของน้ำหนักคะแนนที่ได้ สรุปผลการวิจัย ผู้บริหารและครูอาจารย์ได้ให้ความคิดเห็นว่าสภาพปัจจุบันของห้องปฏิบัติงานเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ว่าเป็นห้องปฏิบัติงานโดยเฉพาะ ยกเว้นห้องปฏิบัติงานศิลปประดิษฐ์ ซึ่งใช้เป็นห้องปฏิบัติงานสอนวิชาอื่นอีกด้วย และโดยทั่วไปแล้ว ห้องปฏิบัติงานยังไม่เหมาะสมเท่าที่ควร เกี่ยวกับสภาพของเครื่องมือและอุปกรณ์ส่วนใหญ่แล้วยังใช้งานได้ดี แต่มีบางส่วนชำรุด เครื่องมือและอุปกรณ์ของงานอาหารและโภชนาการมีสมบูรณ์มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับงานผ้าและเครื่องแต่งกายซึ่งยังไม่สมบูรณ์ และงานศิลปประดิษฐ์เป็นงานที่มีเครื่องมือและอุปกรณ์ขาดแคลนมากที่สุดและครูอาจารย์ยังให้ความเห็นว่า ควรกำหนดให้นักเรียนจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ประจำตัวด้วย ผู้บริหารให้ความคิดเห็นในการบริหารงานว่า การจัดส่งครูอาจารย์เข้ารับการอบรมยึดหลักเกณฑ์การนำมาใช้ประโยชน์เป็นสำคัญ ส่วนหลักเกณฑ์ในการจัดครูอาจารย์เข้าสอบตามรายวิชานั้น พิจารณาจากประสบการณ์การทำงานของครูอาจารย์ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าไม่ได้ยึดวุฒิการศึกษาของครูเป็นหลักเกณฑ์เท่าที่ควร ส่วนการจัดสรรเงินงบประมาณให้กับคณะวิชา/สาขาวิชานั้น พิจารณาแผนการใช้เงินของคณะวิชาเป็นหลัก ในด้านการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอน ทั้งผู้บริหารและครูอาจารย์ต่างเห็นสอดคล้องกันว่า ควรร่วมกันจัดทำแผนการเรียน โครงการสอนรวมถึงการจัดทำและตรวจแผนการสอนเป็นประจำ สำหรับการวัดและประเมินผลการเรียน ทั้งผู้บริหารและครูอาจารย์มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า ควรใช้แบบอิงเกณฑ์และอิงกลุ่ม แต่ละวิชาควรมีการวัดและประเมินผลอย่างน้อย 3 ครั้ง ผู้บริหารระบุว่าควรอย่างยิ่งที่คณะวิชาคหกรรมควรดำเนินการจัดทำข้อสอบมาตรฐานสำหรับใช้ในการประเมินผลการเรียน ครูอาจารย์ได้ระบุว่าในการวัดและประเมินผลการเรียนควรมุ่งที่จุดประสงค์ของการเรียนเป็นหลัก ครูอาจารย์กับหัวหน้าคณะวิชาควรเป็นผู้กำหนดสัดส่วนการวัดและประเมินผลการเรียนเกี่ยวกับวัสดุฝึก ครูอาจารย์ได้ระบุว่า ควรมีการปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาวัสดุฝึก แหล่งวัสดุฝึกควรได้จากสถานศึกษาและนักเรียน แหล่งที่มาของข้อมูลการจัดซื้อวัสดุฝึก คือครูอาจารย์ผู้สอน ปัญหาหรืออุปสรรคต่อการจัดการเรียนการสอน ทั้งผู้บริหารและครูอาจารย์ต่างพิจารณาเห็นว่า ไม่มีสิ่งใดที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคที่มีความรุนแรงมาก มีเพียงระดับน้อยและปานกลางเท่านั้น เช่นปัญหาเศรษฐกิจของนักเรียน ความไม่เพียงพอของเครื่องมือและอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ห้องเรียน สถานที่เก็บเครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุ การตรวจโครงการสอนของครูอาจารย์ การตรวจแผนการสอน ความไม่เพียงพอเกี่ยวกับตำรา คู่มือครูและเอกสารหลักสูตรต่างๆ เป็นต้น-
dc.description.abstractalternativeObjectives of The Study: 1. To study the opinions of college administrators and instructors in the Home Economics Division of the Colleges under the Department of Vocational Education in the Vocational Institutions of groups II. 2. To study the problems and obstacles in educational management of the Home Economics Division of the Colleges under the Department of Vocational Education in the Vocational Institutions of groups II. Procedures: The population used in this study were consisted of 186 persons : 29 college administrators and 157 instructors of the Home Economics Division of the Colleges under the Department of Vocational Education in the Vocational Institutions of groups II. A questionnaire was constructed by the researcher for gathering data. The questionnaire was mailed to the respondents. All set of the questionnaire were completed and returned. The data were analyzed by using of percentage frequency counts and mean. Findings: Administrators and instructors indicated that most of the laboratories for students’ practice were provided for the specific purpose except the laboratory for practical arts which also used for other purposes. In general, laboratories were not suitable for the jobs, however most of the equipment could be used well. Equipment and instruments for food and Nutrition were identified as the most complete instruments compared to the instruments of Textile and Dress Making which were not well-equiped. The instruments for practical arts were identified as the poorest in the Home Economic Division. The instructors also pointed out that students should buy their own equipment or instruments. Administrators expressed that their judgement for selecting teachers to attend seminar or workshop was depended the ability to lead the seminar or workshop. In the case of teaching assignment, the administrators considered about teachers’ work-experience as a basis for placing instructors. From these points of view it seemed to be that administrators neglected the educational qualification of teachers. In order to providing finance and budget for home Economics Division, administrators considered the budgeting Plan of the Division as the criteria. Both administrators and instructors agreed that participating in Learning and Teaching management, Lesson planning and monitoring of those process would be important and should be put into action accordingly. For the educational evaluation and measurement both administrator and instructors seemed to agree that both Norm and Criterion Measurement should be used. In each subject should be measured or evaluated at least 3 times for one semester. Administrator also indicated that Home Economics division should develop their own the standardized test. Instructors also indicated that educational evaluation and measurement should be directed to educational objective. Teachers and the head of the division should set the criteria of evaluation for their own. For materials used for student practice, instructors indicated that it should be improved methods of keeping and maintenance for those materials. Sources of materials should be provided by the college and by the students. Both administrators and instructors indicated that there was no serious problem. However, there were some problems which affected less and medium to learning and teaching management mentioned by them were ; students’ economy, lack of teaching equipment, buildings and classroom including laboratory, lack of storage room, lack of inspecting and checking lesson plan, lack of textbook, handbook and printing materials for teaching etc.-
dc.format.extent505000 bytes-
dc.format.extent376799 bytes-
dc.format.extent822322 bytes-
dc.format.extent325550 bytes-
dc.format.extent986771 bytes-
dc.format.extent601465 bytes-
dc.format.extent646659 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectคหกรรมศาสตร์ -- การศึกษาและการสอนen
dc.subjectหลักสูตรen
dc.subjectวิทยาลัยเทคนิค -- หลักสูตรen
dc.subjectวิทยาลัยอาชีวศึกษา -- หลักสูตรen
dc.subjectการศึกษาทางอาชีพ -- หลักสูตรen
dc.titleความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์ที่มีต่อสภาพการจัดการเรียนการสอน ประเภทวิชาคหกรรมตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2524 ในสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาของกลุ่มสถานศึกษาที่ 2en
dc.title.alternativeOpinions of administrators and instructors concerning teaching-learning situations of home economics curriculum B.E. 2524 certificate in the institutions of group two under the Vocational Education Departmenten
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tipanee_So_front.pdf493.16 kBAdobe PDFView/Open
Tipanee_So_ch1.pdf367.97 kBAdobe PDFView/Open
Tipanee_So_ch2.pdf803.05 kBAdobe PDFView/Open
Tipanee_So_ch3.pdf317.92 kBAdobe PDFView/Open
Tipanee_So_ch4.pdf963.64 kBAdobe PDFView/Open
Tipanee_So_ch5.pdf587.37 kBAdobe PDFView/Open
Tipanee_So_back.pdf631.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.