Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18546
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฐะปะนีย์ นาครทรรพ-
dc.contributor.authorจริยา จริยานุกูล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialนครศรีธรรมราช-
dc.date.accessioned2012-03-24T06:28:58Z-
dc.date.available2012-03-24T06:28:58Z-
dc.date.issued2524-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18546-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์การวิจัย ๑.เพื่อประเมินความสามารถในการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม จังหวัดนครศรีธรรมราช จากแบบทดสอบโคลซในเรื่องต่อไปนี้ ๑.๑ ความเข้าใจในด้านวจีวิภาค ๑.๒ ความเข้าใจในด้านวากยสัมพันธ์ ๒.เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างสัมฤทธิผลในการเรียนวิขาภาษาไทยของนักเรียนกับคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบโคลซ วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยสร้างแบบทดสอบจากเรื่องสั้นและบทความอย่างละ ๒ ฉบับ ทุกฉบับตัดคำทุกคำที่ ๕ นำไปทดสอบเพื่อหาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยใช้เกณฑ์ของบอร์มุธ ซึ่งตรวจสอบแล้วโดยแรนกินและคัลเฮน เลือกแบบทดสอบที่เข้าเกณฑ์จากเรื่องสั้นและบทความอย่างละ ๑ ฉบับ เพื่อใช้เป็นแบบทดสอบนักเรียนกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จังหวัดนครศรีธรรมราช ลักษณะโรงเรียนเป็นโรงเรียนรัฐบาล ๒ โรงเรียน และโรงเรียนราษฏร์ ๒ โรงเรียน อยู่ในเขตเมือง ๒ โรงเรียน และเขตชนบท ๒ โรงเรียน จำนวน นักเรียนโรงเรียนละ ๓๐ คน รวมทั้งสิ้น ๑๒๐ คน เป็นชาย ๕๖ คน หญิง ๖๔ คน นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบทางด้านวจีวิภาค และวากยสัมพันธ์ มาหาค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วแปลงคะแนนเฉลี่ยเป็นค่าร้อยละ เพื่อนำไปประเมินระดับความเข้าใจตามเกณฑ์ของบอร์มุธ ซึ่งตรวจสอบโดยแรนกินและคัลเฮน และนำผลรวมของคะแนนความเข้าใจทางด้านวจีวิภาคและวากยสัมพันธ์ ไปหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบของเพียร์สันกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย ท.๓๐๕ ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๒๓ ซึ่งได้มาจากระเบียบสะสมของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง สรุปผลการวิจัย ๑.การใช้แบบทดสอบโคลซตรวจวัดความเข้าใจในด้านวจีวิภาคและวากยสัมพันธ์ ปรากฏว่านักเรียนมีความสามารถในการเรียนวิชาภาษาไทยทางด้านวจีวิภาค และวากยสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ ๔๓.๒๖ และ ร้อยละ ๕๒.๐๙) ทั้งนี้โดยอาศัยเกณฑ์ของบอร์มุธซึ่งตรวจสอบโดยแรนกินและคัลเฮนซึ่งเกณฑ์ความสามารถระดับปานกลางของแบบทดสอบโคลซ คือ ได้คะแนนระหว่างร้อยละ ๒๘ ถึง ๕๔) ๑.ในการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ระหว่างคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ท.๓๐๕ ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๒๓ กับคะแนนที่ได้จากการตรวจวัดโดยแบบทดสอบโคลซในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๒๓ ปรากฏว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์กับคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบโคลซมีสหสัมพันธ์กันสูง (rxy = ๐.๗๗) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑-
dc.description.abstractalternativeThe Purposes of the study: 1.To evaluate Thai Language Learning Achievement of Mathayom Suksa Three students in Nakorn Srithamarat by using cloze tests in the following aspects: 1.1 Comprehension in Thai morphology 1.2 Comprehension in Thai syntax 2.To examine the correlation between the cloze test score and the achievement test score. Procedure: The researcher constructed four cloze tests: two from passages in a short story and the other two from two passages in two articles. The cloze tests were prepared by using every fifth-word delations. 2.There was a high correlation (rxy = ๐.๗๗) between the students’ achievement test score tested in the first semester and the cloze test score tested in the second semester of the 1980 academic year (the level of significance was at .01)-
dc.format.extent393466 bytes-
dc.format.extent694000 bytes-
dc.format.extent794050 bytes-
dc.format.extent387381 bytes-
dc.format.extent257256 bytes-
dc.format.extent416016 bytes-
dc.format.extent668709 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกาารวัดผลทางการศึกษาen
dc.subjectภาษาไทย -- การศึกษาและการสอนen
dc.titleการใช้แบบทดสอบโคลซประเมินผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม จังหวัดนครศรีธรรมราชen
dc.title.alternativeThe use of Cloze test to evaluate Thai language-learning achievement of mathayom suksa three students in Narkhon Si Thammaraten
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chariya_Cha_front.pdf384.24 kBAdobe PDFView/Open
Chariya_Cha_ch1.pdf677.73 kBAdobe PDFView/Open
Chariya_Cha_ch2.pdf775.44 kBAdobe PDFView/Open
Chariya_Cha_ch3.pdf378.3 kBAdobe PDFView/Open
Chariya_Cha_ch4.pdf251.23 kBAdobe PDFView/Open
Chariya_Cha_ch5.pdf406.27 kBAdobe PDFView/Open
Chariya_Cha_back.pdf653.04 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.