Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18555
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา-
dc.contributor.authorเอมอร ปันทะสืบ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-24T06:58:06Z-
dc.date.available2012-03-24T06:58:06Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18555-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการควบคุมตนเองต่อปัญหาและอุปสรรค สำหรับเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการควบคุมตนเองต่อปัญหาและอุปสรรคก่อนและหลังการจัดกิจกรรมของเด็กและเยาวชน ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการควบคุมตนเองต่อปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มทดลอง หลังเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการควบคุมตนเอง ต่อปัญหาและอุปสรรคสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ เด็กและเยาวชน อายุ 13-19 ปี ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จำนวน 29 คน การจัดกิจกรรมดังกล่าวใช้ระยะเวลา 6 วัน รวมทั้งสิ้น 52 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการควบคุมตนเองต่อปัญหาและอุปสรรค และเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ความต้องการในจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน แบบวัดความรู้ แบบวัดทักษะ แบบวัดทัศนคติเรื่องความสามารถในการควบคุมตนเองต่อปัญหาและอุปสรรค และแบบประเมินผลการจัดกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบที (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยโปรแกรม SPSS version 17.0 ผลการวิจัยพบว่า 1. สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีความต้องการให้จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการควบคุมตนเองต่อปัญหาและอุปสรรค โดยกิจกรรมควรลักษณะให้ความรู้ สนุกสนาน และสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นกันเอง 2. ผลการทดลองกิจกรรมพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้ ทักษะ และทัศนคติเรื่องการควบคุมตนเองต่อปัญหาและอุปสรรคหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการทดลองกิจกรรมพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการควบคุมตนเองต่อปัญหาและอุปสรรค อยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar = 4.67)en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this pre-experimental research design were to 1) develop non-formal education activities based on participatory learning concept on self-care ability for noncommunicable diseases of the children and youth in Juvenile Observation and Protection centre; 2) compare the ability for controlling themselves from the problems and obstacles before and after using the activities towards the children and youth in the Juvenile Observation and Protection centre, and 3) to study participants’s satisfaction towards non-formal education activities after the experiment. The research samples were 29 children and youth in the children and youth in Juvenile Observation and Protection centre from ages 13-19 years old. Activities were organized for 6 days, totally 52 hours. The research instruments of the non-formal education activities are, the knowledge test, the skill test, the attitude test, and the evaluation form. The data were analyzed by using means (X-bar), standard deviation (S.D.), and dependent-samples t (t-test) at .05 level of significance with SPSS Version 17.0 program. The results were as follow : 1. The children and youth in Juvenile Observation and Protection centre requires the non-formal educational activities which are knowledgeable, enjoyable, and relaxed to enhance the abilities of controlling themselves for their children and youth. 2. After the experiment, the experimental group had the mean scores in knowledge, skills and attitude in self-care after the experiment higher than the mean scores before the experiment at .05 level of significance. 3. After participating the non-formal education activities, the experimental group reported their satisfaction towards the activities at the highest level (X-bar = 4.67).en
dc.format.extent3204667 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.578-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน-
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียน-
dc.subjectกิจกรรมการเรียนการสอน-
dc.subjectการควบคุมตนเอง-
dc.subjectJuvenile Observation and Protection Centre-
dc.subjectNon-formal education-
dc.subjectActivity programs in education-
dc.subjectSelf-control-
dc.titleผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการควบคุมตนเองต่อปัญหาและอุปสรรคสำหรับเด็กและเยาวชน ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนen
dc.title.alternativeEffects of organizing non-formal education activities to enhance self-control ability to cope with problems and obstacles for children and youth in Juvenile Observation and Protection Centreen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorWorarat.A@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.578-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
aimon_pu.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.