Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18572
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชญาพิมพ์ อุสาโห | - |
dc.contributor.advisor | สุกัญญา โฆวิไลกูล | - |
dc.contributor.author | ปิยวัฒน์ แก้วกัณฑรัตน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-24T07:35:52Z | - |
dc.date.available | 2012-03-24T07:35:52Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18572 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและคุณลักษณะที่เหมาะสมในการจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และนำเสนอกลยุทธ์การจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 1) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน ประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและคุณลักษณะในการจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 2) บุคลากรประจำในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ (อาจารย์) จำนวน 295 คน จากประชากร 1,472 คน และพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ จำนวน 345 คน จากประชากร 2,000 คน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน ในการสนทนากลุ่มเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและเป็นไปได้ในร่างกลยุทธ์การจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 ท่าน เพื่อตรวจสอบระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ผู้วิจัยจัดทำร่างกลยุทธ์การจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเทคนิค SWOT Analysis และนำเสนอผู้ทรงคุณวุฒิในการจัดประชุมสนทนากลุ่มเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ หลังจากนั้นผู้วิจัยได้นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบสำคัญในการจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มี 2 ส่วน คือ 1) การบริหารระบบการจัดการผลการปฏิบัติงาน ซึ่งมีองค์ประกอบย่อย คือ วัตถุประสงค์ของระบบ ประโยชน์ของระบบ การกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ การปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง และ 2) กระบวนการจัดการผลการปฏิบัติงาน ในส่วนนี้ใช้วงจรการจัดการ (PDCA) ประกอบด้วยขั้นตอนการวางแผนผลการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการติดตามและปรับปรุงผลการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงาน และขั้นตอนการให้รางวัลตอบแทนผลการปฏิบัติงาน ผู้วิจัยได้นำองค์ประกอบใน 2 ส่วนดังกล่าวมาจัดเป็นรูปแบบเชิงระบบ ได้ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ การพัฒนากลยุทธ์การจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ 7 กลยุทธ์ คือ 1) กลยุทธ์ E-Support 2) กลยุทธ์ Balance Target 3) กลยุทธ์ Re-Design 4) กลยุทธ์ Performance Network 5) กลยุทธ์ Peer feedback 6) กลยุทธ์ Performance Reward และ 7) กลยุทธ์ Challenge Career โดยกลยุทธ์ที่ 1 ถึง 6 ใช้กับบุคลากรทั้งสายวิชาการ(อาจารย์) และสายปฏิบัติการ ส่วนกลยุทธ์ที่ 7 คือ Challenge Career เน้นเฉพาะสำหรับบุคลากรสายปฏิบัติการ | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research are to study the suitable components and the characteristics for the staff performance management of the autonomous university and to propose the staff performance management strategies of Chulalongkorn University. The sample is classified into 1) 10 Experts evaluated the suitability of the components and characteristics of the autonomous university staff performance management 2) Staffs of Chulalongkorn University who are the academic staffs (Lecturer) for 295 persons out of the population of 1,472 persons and the supporting staffs of the university for 345 persons out of the population of 2,000 persons 3) 7 Experts in focus group discussion to check the suitability and possibility of staff performance management strategies of Chulalongkorn University. The research instruments comprise of 1) Questionnaires for 10 experts to check the staff performance management system of the autonomous university 2) Questionnaires to survey the staff’s opinion concerning the staff performance management system of Chulalongkorn University. Staff performance management strategies of Chulalongkorn University were drafted by SWOT Analysis technique and presented to the experts in the focus group for discussing the suitability and possibility. Expert’s suggestions were applied for the completion of staff performance management strategies. The research finding revealed that the crucial component of the staff performance management of the autonomous university consist of 2 parts which are 1) The administration of performance management system of which sub-components are the system objective, system benefits, determination of roles and responsibilities, continuous system improvement and 2) Performance management process by means of management cycle (PDCA) consisting of performance planning process, performance monitoring and improving process, performance evaluation process and performance rewarding process. The components of two parts were rearranged into system model becoming the staff performance management system of the autonomous university. The staff performance management strategies of Chulalongkorn University were developed into 7 strategies which are 1) E-Support Strategy 2) Balance Target Strategy 3) Re-Design Strategy 4) Performance Network Strategy 5) Peer feedback Strategy 6) Performance Reward Strategy and 7) Challenge Career Strategy. The strategy 1 to 6 can be applied for both academic staffs (Lecturer) and supporting staffs but the strategy 7 which is Challenge Career was developed mainly for supporting staffs. | en |
dc.format.extent | 3360762 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.544 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- การบริหารงานบุคคล | - |
dc.subject | สมรรถนะ | - |
dc.title | การพัฒนากลยุทธ์การจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ : กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title.alternative | Development of staff performance management strategies in an autonomous university : a case study of Chulalongkorn University | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Chayapim.U@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Sukanya.K@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.544 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
piyawat_ka.pdf | 3.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.