Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18722
Title: ประสบการณ์ความกลัวต่อการหกล้มของผู้สูงอายุ
Other Titles: Fear of falling experiences of older persons
Authors: ลักษณา มะรังกา
Advisors: จิราพร เกศพิชญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Jiraporn.Ke@Chula.ac.th
Subjects: การหกล้มในผู้สูงอายุ
การหกล้มในผู้สูงอายุ -- การป้องกัน
ความกลัว
ปรากฏการณ์วิทยา
Falls (Accidents) in old age
Falls (Accidents) in old age -- Prevention
Fear
Phenomenology
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ความกลัวต่อการหกล้มของผู้สูงอายุ โดยใช้วิธีการวิจัยตามแนวคิดเชิงปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key informants) เป็นผู้สูงอายุจำนวน 10 ราย ที่มีประวัติหกล้มและได้รับการประเมินว่ามีความกลัวการหกล้ม โดยประเมินจาก Falls Efficacy Scale as a Measure of Fear of Falling (Tinetti, Richman and Powell, 1990) ทำการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จากผู้สูงอายุที่พำนักอาศัยอยู่ในชุมชนแขวงหัวหมากและคลองจั่น กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการบันทึกเทป นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยนำเสนอได้ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่าประสบการณ์กลัวการหกล้มของผู้สูงอายุ สรุปได้เป็นประเด็นหลัก 2 ประเด็น คือ 1) กลัวหกล้มซ้ำ ประกอบด้วย กลัวไม่มีใครเห็นเวลาล้ม กลัวเจ็บป่วยมากขึ้น กลัวเป็นภาระคนอื่น กลัวว่าล้มแล้วอาจเสียชีวิต 2) กลัวจนมีผลต่อการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย คิดว่าตนเองมีข้อจำกัด ไม่กล้าดำเนินชีวิตตามปกติ และการปรับการดำเนินชีวิต โดยการทำใจยอมรับสภาพ การใช้ศาสนาเป็นที่พึ่ง การพยายามช่วยเหลือตนเอง และครอบครัวรับรู้และร่วมกันช่วยเหลือ จากผลการศึกษาครั้งนี้บุคลากรทางสุขภาพที่มีความเกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุ สามารถใช้ข้อค้นพบจากการศึกษาครั้งนี้ในการประเมิน วางแผน และช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีประวัติหกล้ม อันส่งผลให้เกิดความกลัวการหกล้มตามมา โดยการหาวิธีการเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีความกลัวการหกล้มนั้นเกิดความมั่นใจ และสามารถกลับมาดำรงชีวิตปกติได้
Other Abstract: The purpose of this qualitative research was to explore fear of falling experiences of older persons. The Phenomenology was applied as a methodology of the study. The key informants were 10 Thai older persons who had fear of falling experiences, assessed by “Falls Efficacy Scale as a Measure of Fear of Falling” (Tinetti, Richman and Powell, 1990). The key informants were purposively selected from the elderly lived in Hua Mak and Klongchun subdistrict, Bangkok. The interviews were tape recorded and transcribed verbatimly and the data were analyzed by content analysis. Results of the study were displayed as followed. According to the research findings revealed that fear of falling experiences of older persons consisted with two themes, 1) Fear of Falling Again consisted of Fear of Falling when no one nearly seen, fear of serious illness, fear of being burden to others and fear of Fatal Falling. 2) Fear until affected daily living consisted of Feeling of personal limitations, Lack of confidence on activity of daily living and Lifestyle modification by resolving to accept the situation, reliance on religion, exerting efforts toward self care and family perception and giving helps. Health providers can use the finding of this study to assessing, planning and helping the older persons who have fallen and developed to fear of falling by finding a way to build self-confidence and self efficacy so older persons with fear of falling can regain confidence and return to normal daily living.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18722
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.404
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.404
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
luxsana_ma.pdf12.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.