Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18766
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอวยพร พานิช-
dc.contributor.authorจันทร์ธิดา สังขจันทร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-26T23:20:01Z-
dc.date.available2012-03-26T23:20:01Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18766-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิบัติการในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของพิพิธภัณฑ์ อีกทั้งเพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารในช่วงการดำเนินการรื้อฟื้นพิพิธภัณฑ์ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วงแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) ช่วงก่อตั้ง เป็นช่วงที่กลุ่มคนต่างๆ จากทั้งภายในและภายนอกชุมชนได้มารวมกันและให้การสนับสนุนในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา 2) ช่วงดำเนินการ แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรก ในการดำเนินการชุมชนได้ทำการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อดูแลพิพิธภัณฑ์ แต่ต่อมาในระยะหลัง ชุมชนเริ่มถอยห่างจากพิพิธภัณฑ์มากขึ้น ทำให้รูปแบบการทำงานของคณะกรรมการหายไป 3) ช่วงอบต. เข้ามาดูแล เกิดปัญหาในเรื่องการบริหารจัดการของหน่วยงานที่รับผิดชอบเดิม ทำให้ต้องโอนหน้าที่ความรับผิดชอบให้อบต. ดูแล ในส่วนของการเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ ปรากฏรูปแบบทั้งในฐานะผู้รับสาร ผู้ร่วมผลิต / ผู้ร่วมส่งสาร และในฐานะผู้วางแผนกำหนดนโยบาย โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของพิพิธภัณฑ์ พบว่า ถึงแม้รูปแบบการบริหารจัดการจะไม่มีการทำงานในลักษณะที่เป็นทางการมากนัก แต่ก็มีปัจจัยสนับสนุนจากทั้งชุมชน (บ้าน วัด โรงเรียน) ผู้นำชุมชน และต้นทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง ทำให้พิพิธภัณฑ์สามารถดำเนินการขับเคลื่อนไปได้ สำหรับรูปแบบการสื่อสารเพื่อการรื้อฟื้น พบว่า โครงการรื้อฟื้นพิพิธภัณฑ์ที่เข้ามาดำเนินการในชุมชนบ้านม่วง เป็นโครงการจากหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาดำเนินการฟื้นฟูรูปแบบและคุณค่าของพิพิธภัณฑ์ โดยใช้การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการรื้อฟื้น ซึ่งรูปแบบการสื่อสารจะเน้นไปที่การจัดประชุม / อบรม และการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้กับชุมชนในระยะเริ่มต้น เพื่อติดตั้งความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาชุมชน โดยในส่วนของ “คนใน” ต้องสร้างกลุ่มแกนนำขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ในการสนับสนุนและกระตุ้นการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการรื้อฟื้นในทุกภาคส่วนen
dc.description.abstractalternativeThis qualitative research was conducted to study the practice of management of Wat Muang Local Museum and factors affecting the existence of the museum, as well as explore the communication style during the renovation period. According to the findings, the management of Wat Muang Local Museum could be divided into three periods as follows. First was the establishing period. It was the time when various groups of people from both inside and outside the community gathered and gave support to the establishment of the museum. Second was the operating period which could be separated into two stages. In the first stage, the community founded the committee to be in charge of the museum. In the next stage, on the other hand, the community disregarded the museum, which resulted in the disappearance of the proper management. The last period belonged to the Subdistrict Administrative Organization. Because of the problems in the management of the former parties involved, the responsibility was transferred to Baan Muang Subdistrict Administrative Organization. In addition, the community participation in the management of this museum could be seen among the audiences of the museum and also in the high ranking of participation as the co-sender or the co-producer and the policy planner of the museum. In terms of factors affecting the existence of the museum, the study found that supports from the community (including households, temples, schools), community leadership, and secure social and cultural root could boost the profits of the museum although the formal communication was not sufficiently used in the management. In terms of communication style during the renovation period, this research indicated that the renovation of this museum was the project from the external agency that aimed to restore forms and values of the museum by studying its history and using tourism as an effective strategy. The communication style is emphasized on trainings and activities in order to promote better understanding to the community. For the inner community part there were needed of a leader group. Which had a duty on supporting and stimulating the others institute that have interfere with the community to link all of the institute for the community renovation processen
dc.format.extent9276667 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.345-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพิพิธภัณฑ์ -- ไทย -- ราชบุรีen
dc.subjectชุมชนบ้านม่วง (ราชบุรี)en
dc.subjectการสื่อสารในการจัดการen
dc.titleการสื่อสารเพื่อการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของชุมชนมอญบ้านม่วง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรีen
dc.title.alternativeCommunication for local museum management of Mon community in Baanmuang village, Baanpong district, Ratchaburi provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตรพัฒนาการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorUayporn.P@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.345-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jantida_sa.pdf9.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.